ศูนย์พัฒนาคุณภาพ
 
ประวัติ
 
โครงสร้างพัฒนาคุณภาพ
 
บุคลากร
 
ติดต่อ
 
รู้จักงานพัฒนาคุณภาพ
 
ประวัติความเป็นมาของงานพัฒนาคุณภาพ
 
พันธกิจ
 
วิสัยทัศน์
 
เข็มมุ่ง
 
แผนพัฒนาคุณภาพ
 
โครงสร้างเพื่อพัฒนาคุณภาพ
 
ความรู้งานพัฒนาคุณภาพ
 
หนังสือ
 
บทความ
 
รายงานผลงานพัฒนาคุณภาพ
 
ผลการเยี่ยมสำรวจ ภายใน/นอก
 
รายงานการทำ spa
 
เครื่องชี้วัด/สถิติต่างๆ ของ รพ.
 
Download เอกสาร
 
งานวันคุณภาพ (QI Day) ครั้งที่ 31
นำเสนอความก้าวหน้าของระบบ
การส่งต่อผู้ป่วยทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
และเปิดตัว Application BAH connect

download file >>> e-refer and mobile app.pdf

 
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
พัฒนาคุณภาพ/การจัดการองค์ความรู้ (KMS)  พัฒนาคุณภาพ    รู้จักงานพัฒนาคุณภาพ  แผนพัฒนาคุณภาพ  
 


         การจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชฉบับแรกขึ้นในปี 2543 โดยการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารทุกระดับ และได้กำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ ทิศทางนโยบาย และหลักการทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชในปี 2543 ขึ้น

         แผนยุทธศาสตร์ปี 2543 ถึง 2547 ประกอบด้วยแผน 9 แผน ได้แก่ แผนประสานสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ แผนพัฒนาระบบบริหาร  แผนพัฒนามาตรฐานการบริการทางคลินิก  แผนพัฒนาการบริการทั่วไป  แผนจัดการและพัฒนาบุคลากร  แผนจัดการและพัฒนาทรัพยากร  แผนพัฒนาอาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม  แผนพัฒนาวิชาการ และแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

        ในปี 2544 สภาคุณภาพได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นทีมนำสูงสุดของโรงพยาบาล (Hospital Lead Team, HLT) ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล  ภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นทีมนำในเรื่องของนโยบายด้านทรัพยากรของโรงพยาบาล โดยพลอากาศตรี พีระพันธ์ ประทีปรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนั่งเป็นประธานในการประชุมสภาคุณภาพทุกครั้งไม่ได้ขาดในช่วงที่ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล และในเดือนกุมภาพันธ์ 2544

        สภาคุณภาพได้มีความเห็นให้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลกับสถาบันพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.)นับเป็นก้าวแรกที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ

โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพในปี 2544

        โครงสร้างองค์กรเพื่อการพัฒนาคุณภาพได้ร่างขึ้น และได้มีการรวบรวมแกนนำของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่มีอยู่ตั้งเป็นคณะกรรมการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (Quality Supporting Team, QST) เพื่อให้เป็นทีมทำงานหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม และผลักดันการพัฒนาคุณภาพโดยมีนาวาอากาศเอก ยงยุทธ  วงศ์เลิศวิทย์ เป็นประธานกรรมการคนแรก วงล้อที่ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชได้เริ่มต้นจากคณะกรรมการชุดนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการทำงานอย่างหนักและมีการประชุมคณะกรรมการทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลเข้าร่วมการประชุมรับฟังปัญหาและข้อขัดข้องต่างๆ ทุกครั้งตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

        ในช่วงเดียวกันได้มีการก่อตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชขึ้น โดยมี นาวาอากาศเอกหญิงนภาวดี อิ่มพูลทรัพย์ เป็นหัวหน้าศูนย์พัฒนาคุณภาพและนาวาอากาศเอก อนุตตร จิตตินันทน์ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์ และมีพยาบาลที่มาปฏิบัติงานเต็มเวลาที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพเป็นคนแรกคือ นาวาอากาศตรีหญิงกาญจนา ชมสุทธา (ยศปัจจุบันนาวาอากาศโท)ทำให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพเป็นศูนย์กลางความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ กำกับดูแล ติดตามประสานงานให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาคุณภาพ และคณะกรรมการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ

         ศูนย์พัฒนาคุณภาพนี้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชและทำให้เกิดการสื่อสารเชื่อมโยงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรตลอดมา

         การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลโดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องมีความร่วมมือร่วมใจและมีการทำงานเป็นทีมในลักษณะของสหสาขาวิชาชีพ จึงได้มีการจัดตั้งทีมนำทางคลินิกขึ้นในรูปแบบของทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย (Patient Care Team, PCT) 8 ทีม ได้แก่ PCT อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ออร์โธปิดิกส์ จักษุกรรม และ โสต ศอ นาสิก รวมทั้งจัดตั้งทีมนำทางคลินิก (Clinical Lead Team, CLT) ของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร  ในแต่ละทีมไม่เพียงจะประกอบด้วยแพทย์และพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโดยตรงเท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ PCT และ CLT ด้วย เช่น เภสัชกร นักโภชนาการ สังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น นับว่าการจัดตั้งของ PCT และ CLT นี้เป็นก้าวสำคัญที่สุดในการพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

        ไม่เพียงกระบวนการดูแลผู้ป่วยจะได้รับการพัฒนาอย่างมากในช่วงปี 2543-2545 แต่ระบบงานอื่นๆ ที่จำเป็นในการมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนระบบการรักษาพยาบาลก็ได้มีการพัฒนาขึ้นพร้อม ๆ กัน โดยการดำเนินการของทีมนำเฉพาะด้าน ซึ่งได้มีการจัดตั้งในรูปแบบของคณะกรรมการ ได้แก่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ คณะกรรมการสารสนเทศ คณะกรรมการองค์กรแพทย์ คณะกรรมการเวชระเบียน และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพในทุกด้านของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชตามมาตรฐานกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก

         ทุกทีมงานมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบงานของตนเองให้ได้มาตรฐาน งานวันคุณภาพ QI Day รวม 5 ครั้ง ได้พิสูจน์ผลงานการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากทีมนำทางคลินิก ทีมนำเฉพาะทาง และหน่วยงานต่างๆ ของโรงพยาบาล สภาคุณภาพได้เล็งเห็นความสำคัญของการประเมินตนเอง เพื่อสร้างความตื่นตัวและหาโอกาสพัฒนาปรับปรุงหน่วยงานได้อย่างชัดเจน .. 

 

 

 

 
จำนวนทั้งหมด  1 ย่อหน้า หน้า   [ 1 ]