รู้จักองค์กร
 
ข้อมูลหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนา
 
งานบริการ..
 
โครงการพัฒนา
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานสนับสนุนและบริการ  แผนกวิศวกรรม    รู้จักองค์กร  ข้อมูลหน่วย  
  ข้อมูลหน่วย   
เนื้อหา   
 

      เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ นั้น ใช้ประกอบในการตรวจ,วินิจฉัย และรักษาโรคให้กับผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่รับการตรวจรักษา ดังนั้นการดูแลและการซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ต่างๆ เหล่านั้น จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญคอยรับผิดชอบโดยตรง

 

         ดังนั้นในปี พ.ศ.2524 หลังจากได้คิดโครงการสร้างอาคารอุบัติเหตุ (คุ้มเกล้าฯ) ขึ้นที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. คณะผู้ดำเนินการอันประกอบด้วย พล.อ.ต. กิตติ เย็นสุดใจ, พล.อ.ต.ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ และ พล.อ.ต.ทายาท สุขบำรุง ได้คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเกี่ยวกับเรื่องเครื่องมือแพทย์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องลงทุนซื้อเครื่องมือแพทย์เพิ่มเติมถึงกว่า 200 ล้านบาท จึงได้ว่าจ้างชาวอเมริกันชื่อ Mr.Thomas Hargest ซึ่งเป็น Professor ของ South Carolina Medical Center มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และดำริว่าควรจะมีเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงของเราเองสำหรับเครื่องมือแทย์จำนวนมากนี้ ดังนั้นคณะผู้ดำเนินงานดังกล่าว จึงได้รับสมัครข้าราชการที่สำเร็จวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 4 นาย ส่งไปศึกษาวิชา Biomedical Engineering ที่ Stanly Tech College, U.S.A. โดย Mr.Hargest ได้ติดต่อให้ และใช้เงินของมูลนิธิคุ้มเกล้าฯ ต่อมาในปี พ.ศ.2525 ได้ส่งข้าราชการไปศึกษาอีก 4 นาย โดยใช้เงินของมูลนิธิคุ้มเกล้าฯ เช่นกัน

           ประมาณเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2526 เจ้าหน้าที่ชุดแรกได้เดินทางกลับมาหลังจบหลักสูตร ใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 ปี และเริ่มปฏิบัติงานสำรวจและซ่อมบำรุงเครื่องมือแพทย์ ในขณะนั้นใช้ห้องๆ หนึ่งของอาคาร 14 ของ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยิเดช พอ. เป็นที่ทำงาน จนกระทั่งเมื่ออาคารคุ้มเกล้าฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงย้ายมาปฏิบัติงานที่ชั้นใต้ดิน (ชั้น B) ของอาคารคุ้มเกล้าฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับบุคคลากรนั้น เมื่อได้กลับมาปฏิบัติงานระยะหนึ่ง จึงได้รับคุคคลากรเป็นเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเจ้ามาเพิ่มเติม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริการชุดที่สองได้เดินทางกลับมาสมทบในปี พ.ศ.2527 อีกบางส่วน ทำให้การปฏิบัติงานกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น สำหรับเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงก็ได้รับสมัครเข้ามาเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง จนในที่สุด ได้ตั้งเป็นกองวิศวกรรมการแพทย์ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ขึ้นในปี พ.ศ.2527

          ต่อมาในปี พ.ศ.2539 ได้มีการจัดส่วนราชการใหม่ กองวิศวกรรมการแพทย์ ได้ปรับเป็น แผนกวิศวกรรมโรงพยาบาล กองบริการ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. จนถึงปัจจุบัน.

 
 

 
        ในปี 2545 มีความตื่นตัวเรื่องความพร้อมใช้ของเครื่องมือแพทย์และการบำรุงรักษาตามระยะ จึงได้มีการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นและสำคัญหลายรายการ พบว่าไม่เคยได้รับการบำรุงรักษาตามระยะเวลา ผู้บริหารจึงได้มอบหมายให้ แผนกวิศวกรรมโรงพยาบาล รับผิดชอบดำเนินการโดยในปี 2545 เริ่มวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ 5 ประเภท ได้แก่ infusion pump, syringe pump, defibrillator, eletrocardiographic monitor และ NIBP monitor แต่ผลการปฏิบัติงาน ทำได้จริงเพียง 3 ประเภท คือ infusion pump, syringe pump และ defibrillator พร้อมกับการจัดหาเครื่อง ventilator tester, electrical safety analyzer, NIBP tester และ temperature calibrator


         ปี 2546  ขยายประเภทเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเชิงป้องกัน เพิ่มขึ้นอีก 3 ประเภท ได้แก่ EKG monitor, NIBP monitor และ ventilator  พร้อมกับเช่าเครื่อง defibrillator tester เพื่อใช้ในการสอบเทียบมาตรฐาน  และในปี 2547 ได้ขยายประเภทเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเชิงป้องกัน เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 4 ประเภท ได้แก่ pulse oximeter, autoclave, เตียงผ่าตัด และ โคมไฟผ่าตัด พร้อมกับการเช่าเครื่อง SpO2 analyzer เพิ่มเพื่อใช้ในการสอบเทียบมาตรฐาน
     
         ปี 2548 ขยายประเภทเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเชิงป้องกัน เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 3 ประเภท ได้แก่ incubator, dental unit และ เตียงผู้ป่วยทั้งหมด และในปี 2549 ขยายประเภทเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเชิงป้องกัน เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 4 ประเภท ได้แก่ EKG recorder, radiant warmer, centrifuge และ electrical patient bed พร้อมกับการจัดหาเครื่อง infusion pump tester 

 

 
         ปี 2550 ดำเนินการดูแลรักษาเชิงป้องกันเครื่องเดิม จำนวน 16 ประเภท ไม่มีการขยายประเภทเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแลรักษาเชิงป้องกันเพิ่มเติมอีก เนื่องจากถึงจุดสูงสุดเมื่อเทียบกับบุคลากรที่มีอยู่  พร้อมกับการจัดหาเครื่อง SpO2 analyzer เพิ่มเพื่อใช้ในการสอบเทียบมาตรฐาน และในปี 2551 จัดหาเครื่อง defibrillator tester เพิ่มเพื่อใช้ในการสอบเทียบมาตรฐาน
 
        ทำให้ในปัจจุบัน แผนกวิศวกรรมโรงพยาบาล มีขีดความสามารถในการสอบเทียบมาตรฐาน ด้วยเครื่องมือมาตรฐานดังนี้ electrical safety analyzer, ventilator tester, infusion device analyzer, NIBP analyzer, SpO2 analyzer, defibrillator tester, ชุดสอบเทียบอุณหภูมิ และชุดสอบเทียบน้ำหนัก  สามารถให้บริการแบบครบวงจร ในเครื่องมือและอุปกรณ์สายการแพทย์ 16 ประเภท ดังนี้ autoclave, centrifuge, defibrillator, dental unit, ECG recorder, ECG/bed side monitor, electrical patient bed, infant incubator, infusion pump, NIBP monitor, radiant warmer, pulse oximeter, surgical light, surgical table, syringe pump และ ventilator
 
 
 
จำนวนทั้งหมด  2 ย่อหน้า หน้า   [ 1 ]