ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติกองจักษุกรรม
 
พันธกิจ/วิสัยทัศน์
 
ผู้บริหาร
 
คณาจารย์
 
รายนามบุคลากร
 
ติดต่อเรา
การศึกษาและฝึกอบรม
 
นิสิตแพทย์
 
แพทย์ประจำบ้าน
 
E-learning
วิจัยและวิชาการ
 
ข่าววิจัยและวิชาการ
 
ผลงานวิจัยและวิชาการ
งานพัฒนาคุณภาพ
 
คณะทำงาน
 
ผลงาน
บริการประชาชน
 
ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจรักษา
 
คลินิกตรวจโรคผู้ป่วยนอกในเวลา
 
คลินิกตรวจโรคผู้ป่วยนอก คลินิกพิเศษนอกเวลา
 
หอผู้ป่วยจักษุวิทยา
 
ห้องผ่าตัดจักษุวิทยา
 
ตารางแพทยออกตรวจคลินิกพิเศษนอกเวลา
เอกสารเผยแพร่ความรู้/แผ่นพับ
 
computer vision syndrome หรือโรคซีวีเอส
 
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
 
แพทยสภา
 
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
 
แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ
 
คลังตำราจักษุวิทยา
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองจักษุกรรม    ข้อมูลหน่วยงาน  ประวัติกองจักษุกรรม  
  ประวัติกองจักษุกรรม   

     เมื่อระยะแรกเริ่มของการบริการทางการแพทย์ทหารอากาศนั้นในปี พ.ศ.๒๔๘๑ กรมแพทย์ทหารอากาศยังคงเป็นเพียงกองเสนารักษ์ทหารอากาศ และมีอายุรแพทย์บรรจุในอัตราเท่านั้น ยังไม่มีการจัดการตรวจทางด้านจักษุเป็นการเฉพาะ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๓ จึงได้กำหนดผู้รับผิดชอบงานด้านจักษุ โสต ศอ นาสิกกรรมขึ้น โดยมีตำแหน่งจักษุ โสต ศอ นาสิกแพทย์ ขึ้นตรงต่อกองเสนารักษ์ทหารอากาศ มีผู้ดูแล ๒ ท่าน คือ ร.ท.ประเทือง คงขำ (ลาออกจากราชการเมื่อเป็น ร.ท.) และ ร.ต.ประหยัด กาญจนวิโรจน์ (ถึงแก่กรรมเมื่อเป็น น.อ. อดีตรองเจ้าแพทย์ทหารอากาศ)

     เมื่อมีการก่อตั้งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชในปี พ.ศ.๒๔๙๒ งานด้านจักษุยังคงรวมอยู่กับงานด้านโสต ศอ นาสิกกรรม ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้มีการแก้ไขอัตราเป็น แผนกจักษุ โสต ศอ นาสิกกรรม ขึ้นตรงกับกรมแพทย์ทหารอากาศ  ในสมัยก่อนแผนกจักษุ โสต ศอ นาสิกกรรม มีห้องตรวจอยู่ที่อาคาร ๑ ชั้นบน (สถานที่ของอาคาร ๑ ถ้าเปรียบเทียบกับปัจจุบันนี้ คือ บริเวณที่เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช หน้าอาคารคุ้มเกล้าฯ) ห้องตรวจมี ๑ ห้องและมีห้องเล็กติดกันสำหรับทำการรักษา เช่น ผ่ากุ้งยิง ลอกต้อเนื้อ เจาะโพรงจมูกในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น ในปี พ.ศ.๒๔๙๖  แผนกจักษุ โสต ศอ นาสิกกรรม ได้อาคารตรวจโรคใหม่ คืออาคาร ๓ (เป็นบริเวณปีกซ้ายของอาคารคุ้มเกล้าฯ เมื่อหันหน้าเข้ามาโรงพยาบาล) เป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นบนเป็นฝ่ายโสต ศอ นาสิก ชั้นล่างเป็นฝ่ายจักษุ

     ปี พ.ศ.๒๕๐๖  ได้มีการแก้ไขโครงสร้างการบริการของโรงพยาบาลใหม่ โดยแยกงานด้านจักษุออกจากงานด้านโสต ศอ นาสิกกรรม โดยเปลี่ยนเป็นแผนกจักษุกรรม ขึ้นตรงกับโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
มี น.ท.เลิศ วิริยะพานิช เป็นหัวหน้าแผนกจักษุกรรมท่านแรก และเป็นหัวหน้าแผนกอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๗ ปี พ.ศ.๒๕๑๗ น.อ.หญิง เจษฎี  ชัยเจริญ ได้ขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก และในปี พ.ศ.๒๕๑๙  เมื่อมีการขยายอัตราเปลี่ยนจากแผนกเป็นกองจักษุกรรม ท่านยังได้เป็นหัวหน้ากองรับผิดชอบกองจักษุกรรม จนกระทั่งเกษียณอายุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗

     ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๗ เมื่ออาคารคุ้มเกล้าฯ เปิดใช้งาน  ห้องตรวจตาได้ย้ายมาอยู่ที่ ชั้น ๒ อาคารคุ้มเกล้าฯ  เป็นห้องตรวจที่ทันสมัยเป็นสัดส่วน มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและทันสมัยที่สุดประจำห้องตรวจ ทำให้กองจักษุกรรมสามารถให้การบริการตรวจรักษาและผ่าตัด ทั้งโรคตาทั่วไปและอุบัติเหตุทางตาได้เป็นผลดี มีผู้นิยมมารับบริการตรวจรักษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับการยกฐานะเป็นกองจักษุกรรมที่มีผู้อำนวยการกองเป็นผู้รับผิดชอบ (นาวาอากาศ เอกพิเศษ) มี น.อ.วรรณกร ธารีเกษ  เป็นผู้อำนวยการกองท่านแรก กองจักษุกรรมได้พัฒนาปรับปรุงงานทั้งด้านการตรวจรักษา การพัฒนาบุคลากร โดยจักษุแพทย์จะได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องยังต่างประเทศ เช่น เมริกา แคนาดา และเยอรมัน เพื่อนำความรู้ทางด้านวิชาการ เทคโนโลยี และการผ่าตัดเทคนิคใหม่ ๆ  ซึ่งใกล้เคียงและทัดเทียมกับในต่างประเทศมาให้บริการแก่ผู้ป่วยทางด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆที่ทันสมัยนั้น ได้รับการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มและคงขีดความสามารถของการบริการ

     ปัจจุบันกองจักษุกรรม เป็นหน่วยงานสังกัดโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยเริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในปีการศึกษา ๒๕๓๑ จนถึงปัจจุบัน และในปีการศึกษา ๒๕๔๙ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๕ ฉบับแก้ไข
๑๘ พ.ค.๔๙ ครั้งที่ ๕) และขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นพิเศษให้แก่นักเรียนในชนบท

     กองจักษุกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ มีการจัดการศึกษาทางด้าน
จักษุวิทยาตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ร่วมกับกองแพทยศาสตร์ศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนให้แก่นิสิตแพทย์ปี ๕ ในส่วนของ Ambulatory Care and Medical emergency และ Traumatology and Surgical Emergency ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ยังได้เพิ่มการเรียนการสอนให้แก่นิสิตแพทย์ปีที่ ๖ (elective) เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ และให้ความร่วมมือกับกองแพทยศาสตร์ในการจัดติวให้แก่นิสิตแพทย์เพื่อเตรียมสอบ comprehensive

     นอกจากนี้กองจักษุกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้มีการจัดการเรียนการสอน "ภาวะฉุกเฉินทางจักษุวิทยา" ให้แก่แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นเวลา ๓ สัปดาห์ รวมทั้งนักเรียนพยาบาลและจ่าพยาบาลกองทัพอากาศ แพทย์ใช้ทุนโรงพยาบาลจันทรุเบกษา และบุคคลากรทางการแพทย์อื่น ในกรณีที่ได้รับการร้องขอมา

ผู้อำนวยการกองจักษุกรรม

แผนกจักษุกรรม ปรับเป็นกองจักษุกรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ มีรายนามแพทย์หัวหน้าแผนกและผู้อำนวยการกอง ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน มีดังนี้

๑. น.อ.วรรณกร ธารีเกษ     (๑ ต.ค.๒๕๓๖-๑ ต.ค.๒๕๓๙)
๒. น.อ.หญิง เจิมใจ อำมฤต     (๑ ต.ค.๒๕๓๙-๑ ต.ค.๒๕๔๓)
๓. น.อ.หญิง เบญจมาศ ไพรพิรุณโรจน์     (๑ ต.ค.๒๕๔๓-๑ ต.ค.๒๕๔๗)
๔. น.อ.ทรงยศ กิจสุขจิต     (๑ ต.ค.๒๕๔๗-๑ ต.ค.๒๕๕๒)
๕. น.อ.หญิง รุ่งทิพย์ เมธะสิริ     (๑ ต.ค.๒๕๕๒-๑ ต.ค.๒๕๕๖)
๖. น.อ.ทวีวงศ์ หาญดำรง     (๑ ต.ค.๒๕๕๖-๑ เม.ย.๒๕๖๔)
๗. น.อ.กฤติ รื่นอารมณ์     (๑ เม.ย.๒๕๖๔-๑ ต.ค.๒๕๖๕)
๘. น.อ.หญิง ศศวรรณ ชินรัตนพิสิทธิ์     (๑ ต.ค.๒๕๖๕-ปัจจุบัน)