ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติ พันธกิจ วิสัยทัศน์
 
ผู้บริหาร
 
รายนามบุคลากร
 
สาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
 
ติดต่อเรา
การศึกษาและฝึกอบรม
 
นิสิตแพทย์
 
แพทย์ประจำบ้าน
 
ทำเนียบศิษย์เก่า-แพทย์ประจำบ้าน
วิจัยและวิชาการ
 
ข่าววิจัย และงานประชุมวิชาการ
 
ผลงานวิจัยและวิชาการ
บริการประชาชน
 
คำแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจรักษา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาในเวลา
 
ตารางแพทย์ตรวจรักษาคลินิกพิเศษนอกเวลา
ความรู้สู่ประชาชน
 
ไฟโบร-สแกน(เครื่องตรวจตับ) เทคโนโลยีใหม่ รู้ผลไว...รักษาได้
 
เว็บไซต์|แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ
 
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
 
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
 
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
 
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
 
สมาคมโรคติดชื้อแห่งประเทศไทย
 
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
 
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
 
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองอายุรกรรม    ข้อมูลหน่วยงาน  ประวัติ พันธกิจ วิสัยทัศน์  
  ประวัติ พันธกิจ วิสัยทัศน์    
      โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. ในระยะแรกนั้นยังไม่ได้แบ่งเป็นแผนกหรือฝ่ายอย่างชัด เนื่องจากยังมีบุคคลากรไม่มากนัก มี นาวาอากาศตรี สดับ ธีรบุตร (พลอากาศตรี สดับ ธีรบุตร) เป็นหัวหน้าอายุรแพทย์คนแรก

          ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๕ กองทัพอากาศได้ปรับปรุงอัตรากำลังและส่วนราชการใหม่ ตามอัตรา ทอ.๒๔๙๕ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้รับการปรับปรุงส่วนราชการแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน แผนกอายุรกรรม นับเป็นแผนกหนึ่งที่รวมอยู่ในการปรับปรุงส่วนราชการในครั้งนั้น โดยมี นาวาอากาศตรี น้อย ปาณิกบุตร เป็นหัวหน้าแผนกคนแรก แผนกอายุกรรมเมื่อแรกตั้งนั้น ได้รวมการรักษาด้านกุมารเวชกรรมเข้ามาอยู่ในแผนกด้วย มีอาคารผู้ป่วยในทั้งหมด ๓ อาคาร คือ อาคาร ๙ (รับผู้ป่วยชาย) อาคาร ๕ (รับผู้ป่วยหญิงและกุมาร) และอาคาร ๖ ชั้นบน (รับผู้ป่วยชายโรคติดต่อและวัณโรค) ส่วนด้านทารกแรกคลอด แยกไปขึ้นกับแผนกสูติ-นรีเวชกรรม ใช้อาคาร ๑ เป็นอาคารตรวจโรคผู้ป่วยนอกและอาคาร ๑๐ สำหรับผู้ป่วยพิเศษ

Med History 001
          ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการขยายการบริการด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น แผนกอายุรกรรมได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นกองอายุรกรรม โดยมี นาวาอากาศเอก น้อย ปาณิกบุตร เป็นหัวหน้ากองคนแรก และในปีนั้นเองการรักษาผู้ป่วยเด็กได้แยกออกจากกองอายุรกรรม ตั้งเป็นแผนกกุมารเวชกรรม

Med History 002
          ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อมีการเปิดใช้อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล ๘ ชั้น กองอายุรกรรมได้รับมอบพื้นที่ของอาคารหลังใหม่นี้มาเพิ่มเติม จึงได้เปิดหออภิบาลผู้ป่วยหนักขึ้นโดยแยกเป็น หออภิบาลอายุรกรรม (ICU) และหออภิบาลโรคหัวใจ (CCU) ขณะเดียวกันได้จัดหาพัสดุและอุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องตรวจคลื่นสมอง และกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น มีการส่งแพทย์เข้าอบรมเพิ่มเติมในสาขาอายุรศาสตร์และโรคเฉพาะทางบางสาขา เช่น โรคหัวใจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Med History 003
          ปี พ.ศ.๒๕๒๐ นาวาอากาศเอก ประพัตรา ตัณฑ์ไพโรจน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองอายุรกรรม ได้มีการปรับปรุงจัดหาอุปกรณ์การแพทย์เพิ่มเติม เช่น Echocardiogram, Hemodialysis Machine, Holter EKG เป็นต้น มีแพทย์กลับมาจากการอบรมทั้งในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นทำให้การปฏิบัติงานคล่องตัวขึ้น เริ่มมีการเปิดคลินิกเฉพาะโรคและได้เริ่มมีการวางแผนในการอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ในช่วงนั้น

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กองอายุรกรรมได้ย้ายขึ้นมาอยู่ภายในอาคารคุ้มเกล้าฯ โดยมีส่วนอาคารผู้ป่วยในอยู่ชั้น ๘ ทั้งหมดส่วนของหออภิบาลอายุรกรรม (ICU) และหออภิบาลโรคหัวใจ (CCU) อยู่บริเวณชั้น ๓ ของอาคารคุ้มเกล้าฯ

Med History 004
          การขาดแคลนบุคลากรก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของกองอายุรกรรม โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาลมีจำนวนไม่พอเพียงกับผู้ป่วยซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากมายหลังการเปิดอาคารคุ้มเกล้า เนื่องจากการบริการของโรงพยาบาลได้ปรับเข้าสู่โรงพยาบาลชนิดตติยภูมิ ทำให้การปฏิบัติงานของแพทย์กองอายุรกรรม ได้มีการปรับปรุงให้เป็นลักษณะของการแยกเป็นสาขาเฉพาะโรคมากขึ้น หลังจากแพทย์สำเร็จการอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ จากต่างประเทศ เริ่มกลับเข้ามาปฏิบัติงาน กองอายุรกรรมจึงได้รับความไว้วางใจจากแพทยสภาให้ทำการเปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านทำให้การบริการผู้ป่วยสมบูรณ์ขึ้นและช่วยให้วิชาการในการรักษาผู้ป่วยของกองอายุรกรรมได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

Med History 005
          ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ฝึกอบรมนิสิตแพทย์แนวใหม่ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้ได้มีการฝึกอบรมต่อเนื่องไปในระดับสูง ทางกองอายุรกรรมจึงได้เปิดการอบรมแพทย์ต่อยอดหลายสาขา เช่น สาขาโรคหัวใจ, สาขาโรคไต, สาขาโรคทางเดินอาหาร เป็นต้น

          นอกจากการพัฒนาทางด้านวิชาการและสถานที่แล้วยังมีการจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้แพทย์ที่จบมาแต่ละสาขาสามารถทำการตรวจวินิจฉัยและค้นคว้าวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมหลายโรค ไม่แตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ มีการพัฒนาการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และเตรียมบุคลากรเพื่อขยายสาขาของการให้บริการครอบคลุมทุกโรค ทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์

          จากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บังคับบัญชาของกองอายุรกรรมในอดีต ทำให้กองอายุรกรรมในปัจจุบัน เป็นกองหลักที่มีภารกิจครอบคลุมการให้บริการด้านการรักษาพยาบาล ทั้งข้าราชการ ทอ. ครอบครัวตลอดจนประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับโรงพยาบาลที่ทันสมัยของประเทศ มีการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถได้มาตรฐาน ให้ความรู้ด้านการแพทย์แก่บุคลากรและประชาชนทั่วไป มีการพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ภารกิจของกรมแพทย์ทหารอากาศ และกองทัพอากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย..

วิสัยทัศน์

  • ให้บริการและการฝึกอบรมทางอายุรกรรมระดับตติยภูมิที่มีคุณภาพระดับประเทศ


พันธกิจ

  • มีหน้าที่ ตรวจ วินิจฉัย และให้การบริการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยทางอายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมเฉพาะโรค และฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยอายุรกรรมแบบองค์รวมอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และเป็นที่พึงพอใจ
  • ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการรักษาด้านอายุรศาสตร์
  • รับผิดชอบด้านการเรียนการสอน และการฝึกอบรมวิชาอายุรศาสตร์แก่ จนท., แพทย์, แพทย์ประจำบ้าน, นิสิตแพทย์, พยาบาล และจ่าอากาศพยาบาล หลักสูตรที่เปิดสอนมี ๓ ระดับ ได้แก่
              ๑. หลักสูตรแพทยศาสตร์บันฑิต สอน นสพ.ปี ๔-๖ โครงการ แพทย์แนวใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ชั้นปีละ ๓๐ คน
              ๒. หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่ออนุมัติและวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป หลักสูตร ๓ ปี ชั้นปีละ ๑๐ คน
              ๓. หลักสูตรแพทย์เฉพาะทางสาขาวิชาย่อย ต่อยอด (Fellow) อายุรศาสตร์เฉพาะโรค หลักสูตร ๒ ปี มี ๓ สาขาวิชา ได้แก่
                        - อายุรศาสตร์โรคไต ชั้นปีละ ๒ คน
                        - อายุรศาสตร์โรคหัวใจ ชั้นปีละ ๓ คน
                        - อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร ชั้นปีละ ๒ คน