ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติ พันธกิจ วิสัยทัศน์
 
โครงสร้างองค์กร
 
ผู้บริหาร | บุคลากร
 
ติดต่อ กตน.
 
การศึกษาและฝึกอบรม
 
นิสิตแพทย์
 
แพทย์ประจำบ้าน
 
วิจัยและวิชาการ
 
ข่าววิจัยและวิชาการ
 
ผลงานวิจัยและวิชาการ
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
อบรม|สัมมนาความรู้สู่ประชาชน
 
ด้านบริการ
 
โครงการ สร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยโรคหืด/ภูมิแพ้จมูกและญาติ
 
โครงการ ตรวจสุขภาพครบวงจร
 
โครงการ คัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังครอบครัวข้าราชการทหารอากาศ
 
โครงการ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน (Quality Care™ in Psoriasis patients)
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก    การศึกษาและฝึกอบรม  นิสิตแพทย์  
  นิสิตแพทย์    
เนื้อหา   
 
ระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต กองตรวจโรคผู้ป่วยนอกรับผิดชอบการเรียนการสอนดังนี้

นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ ๕

๑. ชื่อสถาบันอุดมศึกษา   โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
๒. ภาควิชา                     กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก
๓. รหัสและชื่อรายวิชา     ๓๐๐๐๕๑๙  เวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกและเวชศาสตร์ครอบครัว 
                                                 
 (Ambulatory and Family medicine)
๔. จำนวนหน่วยกิต         ๔ หน่วยกิต (๒-๒-๕) บรรยาย-ปฎิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง  
๕. หลักสูตรและประเภทของรายวิชารายวิชาบังคับ   หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต
๖. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียนภาคต้น-ภาคปลาย    ชั้นปีที่ ๕
๗. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เป็นการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตแพทย์ได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด เพื่อ ประยุกต์กับการดูแลสุขภาพให้แก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ผสมผสาน ด้วยแนวคิดแบบองค์รวมที่พิจารณาทั้งสุขภาพกายและจิตใจ ควบคู่กับสภาพเศรษฐกิจ สังคมของบุคคลครอบครัวและชุมชน และส่งต่อ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เหมาะสม   การให้การดูแลแบบผู้ป่วยนอกทางอายุรศาสตร์แบบองค์รวม สำหรับโรคที่พบได้บ่อยในการออกตรวจผู้ป่วยนอก ตามแนวปฏิบัติที่สำคัญและที่ใช้ บ่อยไม่ว่าด้านการสืบสวนโรค การติดตาม และการดูแลรักษา รวมไปถึงการ ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์โดยตรงในการทำงานแก่นิสิตแพทย์

๙. ความรู้

ความรู้ที่จะได้รับ

  • ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ และทักษะทางคลินิก(ตามเกณฑ์แพทย์สภาปี ๒๕๕๕)
  • เวชจริยศาสตร์
  • มีความสามารถในการซักประวัติ   ตรวจร่างกาย และประมวลข้อมูลที่ได้ จากการซักประวัติ และตรวร่างกาย เพื่อระบุปัญหาของผู้ป่วยที่มีภาวะผู้ป่วยนอกทางอายุรศาสตร์และเวชศาสตร์ครอบครัว ตลอดจนให้การวินิจฉัย และวินิจฉัยแยกโรคได้อย่างถูกต้อง  สืบสวนโรค การติดตาม และการดูแลรักษา รวมไปถึงการ ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะ

นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ ๖

๑.  รหัสวิชา  3000697
๒.  จำนวนหน่วยกิต 5  หน่วยกิต
๓.  ชื่อวิชา  เวชปฏิบัติทั่วไป 1 ( general practice I ) 
๔.  กอง   กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.
๕.  ภาคการศึกษา สำหรับนิสิตแพทย์ ปี 6 ระยะเวลา 5 สัปดาห์ 
๖.  สถานะภาพของวิชา  เป็นวิชาบังคับ
๗.  ชื่อหลักสูตร    เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ( Emergency Medicine )
๘.  วิชาระดับ    ปริญญาตรี (แพทย์ศาสตร์บัณฑิต)
๙.  จำนวนชั่วโมงที่สอน   5 สัปดาห์
๑๐. เนื้อหารายวิชา

     เป็นวิชาสำหรับนิสิตแพทย์ปี 6 ระยะเวลา 5สัปดาห์  เพื่อให้ศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินในการตรวจวินิจฉัย และการรักษาอย่างเร่งด่วนให้กับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุการเจ็บป่วยกะทันหันจากโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์   ศัลยศาสตร์  กุมารเวชศาสตร์  และสูติ–นรีเวชวิทยาวิธีการและเทคนิคในการดูแลฉุกเฉิน การปฏิบัติต่อผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที  รวมทั้งการแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับผู้ป่วย ญาติ  ครอบครัว และชุมชนรวมถึงการส่งต่อผู้ป่วย

๑๑.  ประมวลการเรียนรายวิชา (Course outline)

๑๑.๑  วัตถุประสงค์
         เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความสามารถและเจตคติที่เหมาะสม ที่จะบรรลุเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนี้
 ๑.  มีความรู้และสามารถในการรวบรวมข้อมูล กำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน วางแผนการตรวจวินิจฉัย และสามารถปฏิบัติรักษาโรคในภาวะฉุกเฉินอย่างเหมาะสม และทันท่วงที
 ๒.  มีทักษะการตรวจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เท่าที่จำเป็นและแปลผลได้อย่างถูกต้อและเหมาะสม
 ๓.  มีทักษะการสื่อสาร และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้อง ได้อย่างเหมาะสม
 ๔.  สามารถทำหัตถการ ได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้องและด้วยความมั่นใจโดยรู้ข้อบ่งชี้ เข้าใจวิธีการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

๑๒.  พฤตพิสัย เจตคติ คุณธรรมแห่งวิชาชีพ รักษาเกียรติและธำรงคุณค่าแห่งวิชาชีพ คำนึงถึงผู้ป่วย
และความรับผิดชอบต่อสังคม

จำนวนทั้งหมด  1 ย่อหน้า หน้า   [ 1 ]