รู้จักองค์กร
 
ข้อมูลหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
งานพัฒนาระบบสารสนเทศ
 
ศูนย์คอมพิวเตอร์..มุ่งมั่นสู่ Digital Hospital
 
ภาพ..การทดสอบการใช้ระบบงานครั้งที่ ๑,๒ ปี๒๕๕๐
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล กับศูนย์คอมพิวเตอร์
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ
 
แผนพัฒนาระบบสารสนเทศ...ในอนาคต
 
การวางแผนกลยุทธ์และนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.ปี 2551-2555
 
ความก้าวหน้าโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพ สำหรับคลินิกชุมชน
 
พัฒนา website โรงพยาบาล
 
การพัฒนาระบบ PACS
 
e-Referral
อบรมระบบบริหารงานโรงพยาบาล (BHIS)
ชมภาพต้อนรับคณะดูงาน
โปรแกรมสนับสนุน..งานเว็บไซต์
 
Adobe Reader V. 2019.008.20071 size: 209 MB
 
Adobe Flash Player V.31.0.0.122 size: 74 MB
 
Adobe Shockwave Player V. 12.3.4.204 size: 4.97 MB
 
Java Version 8 Update 191
 
Foxit Reader โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF
 
CutePDF Writer S V. 2.8.2.1
 
คู่มือติดตั้งและใช้โปรแกรม CutePDF
โปรแกรมประจำเครื่อง
 
CCleaner Latest v.5.40.6411 size 6.56 Mb
 
Defraggler Latest v.2.21.993 size 4.32Mb
 
ตัวเสริม office2003 อ่านไฟล์ office2007
 
2007 Microsoft Office Add-in: Microsoft Save as PDF or XPS
 
Download Stinger-ePO for 32bit systems
 
Download Stinger-ePO for 64bit systems
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
ขั้นตอนการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท และเกิน 5 ล้านบาท สำหรับ สสจ . รพศ ./ รพท . และ รพช
เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

 
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • ข้อมูลหน่วย
  •  


    ผลการปฏิบัติงาน ในอดีต

           มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในโรงพยาบาลอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2528 จนถึง ปัจจุบันซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกๆ ที่มีระบบสารสนเทศมาใช้อย่างครบวงจร ทั่วทั้งโรงพยาบาล ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว  ลดขั้นตอนของเอกสาร  และสามารถนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายในทุกหน่วยงานที่มีการดูแลรักษาผู้ป่วย  โดยในช่วงแรกศูนย์คอมพิวเตอร์ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงพยาบาลในการเป็นตัวอย่างและแนวทางให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ ที่มาดูงานนำไปใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลอื่นๆ อีกหลายแห่ง  นอกจากนี้ยังได้รับเชิญจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (“NECTEC”) ร่วมแสดงนิทรรศการในงาน”ไอทีเฉลิมพระเกียรติ” ณ. ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เมื่อ 1 มิ.ย. 38 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และทอดประเนตรการสาธิต ระบบงานของโรงพยาบาลด้วย




          มีการพัฒนาโปรแกรมระบบงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกและการเงินซึ่งสามารถสั่งยาโดยแพทย์ ผู้รักษาและส่งข้อมูลมาพิมพ์ฉลากยาที่ห้องยา และข้อมูลการชำระเงินไปจุดเก็บเงินซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการรอคอยของผู้ป่วยและลดความแออัดบริเวณห้องจ่ายยาลงได้มาก  รวมทั้งลดความผิดพลาดจากการอ่านลายมือในใบสั่งของแพทย์ได้โดยการสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ อีกทั้งโปรแกรมที่พัฒนานี้ได้อำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ผู้ใช้งานในการตรวจสอบข้อมูลทางเภสัชกรรม การจ่ายยาตามสิทธิของผู้ป่วย รวมทั้งสามารถเก็บประวัติการใช้ยาไว้ตรวจสอบได้ด้วย  นับเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกๆ ที่มีการสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากห้องตรวจโดยตรง เป็นตัวอย่างให้อีกหลายโรงพยาบาลนำระบบการสั่งยาจากห้องตรวจโรคนี้ไปประยุกต์ใช้  


          จัดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อจัดทำทะเบียนและพิมพ์บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อแจกจายแก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบซึ่งประกอบด้วยเขตดอนเมือง, หลักสี่, สายไหม และบางเขน จำนวนประมาณ 350,000 ใบ  ซึ่งสามารถดำเนินการแล้วเสร็จทันตามกำหนดเริ่มใช้คือวันที่ 1 ต.ค. 44  และปัจจุบันยังคงให้บริการแก่ผู้ป่วยที่มาติดต่อขอทำบัตรเพิ่มเติม  นับเป็นงานสามารถสนับสนุนนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาลที่ได้มอบหมายให้เป็นโรงพยาบาลนำร่องดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงโดยใช้บุคคลากรที่มีจำกัด

           จัดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อบันทึกและรวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในเพื่อจัดส่งข้อมูลใน รูปแบบแฟ้มข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ตามรูปแบบที่สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขกำหนดโดยเริ่มใช้กับผู้ป่วยที่จำหน่ายกลับบ้านตั้งแต่ 1 เม.ย. 45  ผลที่เกิดขึ้นคือโรงพยาบาลสามารถจัดส่งข้อมูลเพื่อทำฎีกาเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในทันตามกำหนดและครบถ้วน

        

           ดำเนินการเช่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Leased line) เพื่อให้ค้นหาตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าและรับ-ส่ง ฏีกาเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในโดยจะเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นเครือข่ายเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพได้ทันทีตลอด 24 ชม. เพื่อความถูกต้องในการใช้สิทธิ์ผู้ป่วย รวมทั้งสามารถรับ-ส่งข้อมูลให้ (สกส.) ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถพัฒนาระบบเครือข่ายภายใน (INTRANET) เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารภายในและสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายภายนอกได้ด้วย

           พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำรองเพื่อใช้งานระหว่างรอการจัดหา ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายทดแทนระบบเดิมซึ่งประกอบด้วย ระบบเวชระเบียน,ระบบการเงิน,ระบบเภสัชกรรม, ระบบรังสีกรรม, ระบบห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก เพื่อบันทึกและรวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยตามประเภทของสิทธต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยประกันสุขภาพ , ผู้ป่วยสิทธิโรครักษาต่อเนื่อง เพื่อจัดส่งข้อมูลในรูปแบบแฟ้มข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ตามรูปแบบที่สำนักงานสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)  

           จัดทำโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย เพื่อทดแทนระบบคอมพิวเตอร์เดิมซึ่งขณะนี้อยู่ ในขั้นตอนการประกวดราคาโดยประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  2 ชุด และเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายรวม 430 ชุด ได้มีการออกแบบเพื่อให้รองรับการนำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาประมวลผลเป็นเครื่องชี้วัดในระดับต่าง ๆ ทำให้สามารถติดตามคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องและสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลของโรงพยาบาลในระดับเดียวกันรวมทั้งสามารถเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาได้ โดยข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
     

    ขอขอบคุณ วราสารศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.

     

    <<- BACK