ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติ
 
ผู้บริหาร | กำลังพล
 
โครงสร้างหน่วยงาน
 
หน่วยงานในกำกับดูแล
 
ติดต่อหน่วยงาน
บริการประชาชน
 
ขั้นตอนการรับการตรวจ
 
บริการคลินิกนอกเวลาทางรังสีวิทยา
ความรู้สู่ประชาชน| รู้จักงานรังสี
 
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อถูกรังสี
 
การป้องกันอันตรายจากรังสี
 
ชนิดการให้บริการตรวจรักษาทางรังสี
 
คู่มือสำหรับประชาชนทั่วไป เรื่องการฝังแร่วัสดุกัมมันตรังสีแบบถาวรเพื่อรักษามะเร็ง
 
คำแนะนำ ก่อน/หลังการเจาะชิ้นเนื้อ (pre Core Biopsy Instruction)
 
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการฉายรังสี (CT Simulator)
 
สาระน่ารู้....รังสีรักษา
 
ความปลอดภัยทางรังสี (ฉบับชาวบ้าน)
 
ตารางเวลาให้บริการ
 
เวลาปฏิบัติงาน X- RAY PORTABLE
 
HOT LINE รังสีวินิจฉัย (ในเวลาราชการ) โทร. 2-7198
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองรังสีกรรม    ข้อมูลหน่วยงาน    หน่วยงานในกำกับดูแล  ห้องตรวจรังสีวินิจฉัย  
  ห้องตรวจรังสีวินิจฉัย    
หัวข้อย่อย   
 

CT( Computed Tomography : CT Scan )



การตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

1. ได้ภาพที่ละเอียดชัดเจน แยกความทึบของเนื้อเยื่อต่าง ๆในร่างกายได้ละเอียดมาก เช่น แยกเนื้อเยื่อสมองออกเป็นส่วน แยก ความทึบของก้อนต่างๆ ว่าเป็นก้อน(solid) ถุงน้ำ หรือมีหินปูนอยู่หรือไม่ซึ่งเครื่องเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ยังสามารถบอกขนาดตำแหน่งของส่วนที่ผิดปกติ ตลอดจนการกระจายของโรคได้
2. สามารถแยกอวัยวะต่างๆแต่ละส่วนไม่ให้มีการซ้อนกัน เช่น สามารถเห็นเนื้อสมอง และโพรงสมองแยกจากกัน
3. นอกจากใช้ในด้านการวินิจฉัยโรคแล้วยังช่วยในด้านการรักษาผู้ป่วยด้วย เช่นช่วยในการเจาะถุงน้ำ หนอง ฝี หรือผ่าตัดสมอง บางส่วน
4. ช่วยคำนวณวางแผนการรักษาโดยรังสีรักษาในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกโดยสามารถคำนวณภาพของก้อนเนื้องอกจริง ๆ
5. ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆสามารถศึกษาการไหลเวียนของกระแสเลือด และการไหลเวียนของน้ำสมอง ไขสันหลังได้โดยการฉีดสารทึบแสง(dynamic scan) ร่วมด้วย
6. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นการลดความเจ็บปวดและอันตรายจากการตรวจพิเศษทางรังสีแบบอื่น ๆ เช่น การตรวจระบบหลอดเลือด (angiography)
7. ช่วยลดเวลาในการตรวจวินิจฉัยซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย และโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องรุ่นใหม่ ๆยิ่งให้ประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านเทคนิคการถ่ายภาพ และการแปลผลได้สูงขึ้น
8. ทางด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะมีราคาแพงแต่เป็นที่แน่ชัดว่า การตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการตรวจอื่น ๆ

Mammogram


เอกซเรย์เต้านม(Mammogram)  ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทยพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูกและมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันไม่ได้)

  • ผู้หญิง อายุมากกว่า 35 ปี
  • เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • มีประจำเดือนเร็ว, หมดประจำเดือนช้า
  • มีมารดา พี่สาว น้องสาวลูกสาวเป็นมะเร็งเต้านม
  • ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากว่า 30 ปี

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันได้)

  • ถูกฉายรังสีที่หน้าอกบ่อย ๆ
  • ดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี
  • ใช้ยาคุมกำเนิดนานกว่า 4 ปี ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • ออกกำลังกายน้อยทำให้ประจำเดือนมาเร็ว
  • กินจุ ทำให้ประจำเดือนมาเร็ว
  • รวมเวลาให้นมบุตรน้อยกว่า 3 เดือน

Ultrasound

Ultrasound เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยให้ทรานส์ดิวเซอร์ ส่งคลื่น ultrasound กระทบกับผิว ต่อมหรือเนื้อเยื่อที่มีคุณสมบัติต่างกัน จะเกิดการสะท้อนกระเจิงของคลื่น และคลื่นที่สะท้อน กระเจิงกลับเข้าสู่ทรานส์ดิวเซอร์ (echo) จะถูกบันทึก ขยายและปรับแต่งก่อนส่งไปแสดงผลทางจอภาพ (display)

คลื่นเสียงความถี่สูงสามารถใช้ตรวจส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่

ส่วนหัว ใช้ตรวจเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เพื่อตรวจดูความผิดปกติในกระโหลกศีรษะ โดยตรวจผ่านกระหม่อมที่ยังไม่ปิด (open fontanelles)

ส่วนคอ ใช้ตรวจหาความผิดปกติและหารอยโรคของต่อมธัยรอยด์, ต่อมน้ำลาย (salivary gland), parotid gland, ก้อนในบริเวณคอและใช้ตรวจเส้นเลือดแดง (carotid artery)

ส่วนอก ใช้ตรวจทรวงอก เพื่อดูน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural fluid) หรือตรวจดูรอยโรค (lesions) ว่าเป็นเนื้อหรือน้ำติดกับผนังทรวงอก เช่น เนื้องอก ฯลฯ

ช่องท้อง ใช้ตรวจดูความผิดปกติและหารอยโรคของอวัยวะภายในช่องท้องทั้งหมด (whole abdomen)

ส่วนอื่น ๆ ตรวจเพื่อหาความผิดปกติและรอยโรคที่สงสัยในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) หรือ มีน้ำภายใน เช่น กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเต้านม ขา เส้นเลือดขนาดใหญ่และขนาดกลาง (Doppler) เพื่อดูความผิดปกติ ของเส้นเลือด, วัดความเร็วการไหลเวียนเส้นเลือด, ดูการอุดตันของเส้นเลือด ฯลฯ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • ส่วนหัว สามารถตรวจได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ แต่ในเด็กบางรายอาจต้องให้ Sedation ตามคำสั่งแพทย์
  • ส่วนคอและส่วนอก สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ
  • ส่วนท้อง
    • Upper Abdomen งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ในเด็กให้งดอาหารหรือนม 1 มื้อ เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะถุงน้ำดี ชัดเจน
    • Lower Abdomen ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร (เว้นแต่แพทย์สั่ง) ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่) ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน
    • Whole Abdomen งดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ แต่ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว หลังจากนั้นงดดื่ม และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ (ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่)
    • ส่วนอื่น ๆ สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจ

Barium Swallowing

เป็นการตรวจทางรังสีของหลอดอาหาร โดยการดื่มสารทึบรังสี เช่น แป้งแบเรี่ยม

(Barium sulphate) ประกอบการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหารเป็นสาเหตุของการกลืนอาหารติดขัด
ขั้นตอนการตรวจ

1. ตั้งเตียงเอกซเรย์ ให้ผู้ป่วยยืน แล้วอมแป้งแบเรี่ยมไว้ในปาก แล้วกลืนแป้งแบเรี่ยมตามที่รังสีแพทย์บอก ขณะที่รังสีแพทย์ทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนท่าตามคำบอกของรังสีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่
2. เมื่อเอกซเรย์ครบทุกส่วนแล้วรังสีแพทย์จะนำฟิล์มไปดู เพื่อให้แน่ใจว่าฟิล์มเอกซเรย์ครบถ้วนแล้วหรือยัง และต้องการถ่ายเพิ่มในส่วนที่สงสัยอีกหรือไม่ รังสีแพทย์ตรวจสอบฟิล์มเสร็จแล้วแปรผลการตรวจ ถือเป็นการเสร็จสิ้นการตรวจ

Barium Enema


 

เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพ และความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนักประกอบกับการถ่ายภาพรังสี

ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ

1. ให้รับประทานอาหารอ่อน(เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) และงดผัก ผลไม้ 2 วัน ก่อนถึงวันตรวจ
2. ให้รับประทานยาระบาย เวลา 20.00 น.( Castor Oil 30 cc , Dulcolax 2 เม็ด) เป็นเวลา 2 วันก่อนตรวจ
3. หลังเที่ยงคืนของวันก่อนตรวจ ให้งดน้ำและอาหารทุกชนิด (กรณีเด็กเล็กให้งดนมก่อนตรวจ 4 ชั่วโมง)
4. ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง

ก่อนตรวจ

1. ผู้ป่วยปฏิบัติตามใบนัดตรวจทุกประการ
2. เจ้าหน้าที่จะให้เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล
3. เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพรังสี 1 ภาพ เพื่อตรวจดูว่าในลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยมีกากอาหารอยู่หรือไม่ ถ้าหากมีเจ้าหน้าที่จะให้ผู้ป่วยสวนอุจจาระออกให้หมดจึงจะเริ่มตรวจต่อไป

เริ่มตรวจ

1. เจ้าหน้าที่จะใช้หัวสวนชนิดเป่าลม สวนเข้าในทวารหนักของท่านและจะบีบลมเข้าไปในหัวสวนเพื่อป้องกันไม่ให้สารทึบรังสีไหลย้อนกลับมา
2. เมื่อเริ่มตรวจเจ้าหน้าที่จะเริ่มปล่อยสารทึบรังสีเข้าไปในลำไส้ใหญ่และรังสีแพทย์จะถ่ายภาพรังสีตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ
3. ระหว่างการตรวจผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้องเนื่องจากการบีบสารทึบรังสีและลมเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยอาจรู้สึกคล้าย ๆ ปวด

 

กองรังสีกรรม รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ประกอบด้วยหน่วยรังสีวินิจฉัยหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์และหน่วยรังสีรักษาแต่งานด้านการพัฒนาคุณภาพนั้นหน่วยรังสีรักษาจะไปรวมอยู่กับศูนย์มะเร็งของโรงพยาบาลฯ

     หน่วยรังสีวินิจฉัยและหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กองรังสีกรรม รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.จึงเป็นหน่วยสนับสนุนการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยเครื่องมือทางรังสีวิทยาด้วยความถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางให้การศึกษาอบรมนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน

ขอบเขตการให้บริการ

1. ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีในระดับตติยภูมิแก่ข้าราชการ,ข้าราชการกองทัพอากาศ, ครอบครัวและพลเรือนทั่วไปทั้งในและนอกเวลาราชการ
2. ให้ความรู้ทางวิชาการรังสีวิทยา แก่นิสิตแพทย์, แพทย์ประจำบ้าน, แพทย์, บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน

เป้าหมาย (Goal)

1. ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยเครื่องมือทางรังสีวิทยาในระดับโรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูงเพื่อผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความปลอดภัย รวดเร็ว และคุณภาพการบริการเป็นที่ประทับใจ
2.ให้การศึกษาอบรมนิสิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีมาตรฐาน

พันธกิจ 
    
กองรังสีกรรมมีหน้าที่ดำเนินการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาทางรังสีวิทยากับให้การศึกษาฝึกอบรมทางรังสีวิทยาแก่ นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และบุคคลากรทางการแพทย์ อื่นๆ ตลอดจนศึกษาค้นคว้างานวิจัยและเผยแพร่ความรู้ทางรังสีวิทยา

วิสัยทัศน์
    
ให้การบริการและการฝึกศึกษาอบรมทางรังสีวิทยา ในระดับตติยภูมิระดับสูงของประเทศ


จำนวนทั้งหมด   2 หัวข้อย่อย หน้า   [ 1 ]