รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วยงาน
 
ภารกิจหน่วย
 
บุคลากร
 
ผู้บริหาร
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
สถานภาพเครื่องมือและอุปกรณ์
 
หน่วยช่วยการหายใจ..ในปัจจุบัน
 
การจัดการความรู้
 
กลุ่ม ช่วยกันหายใจ
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานสนับสนุนและบริการ  หน่วยช่วยการหายใจ    รู้จักองค์กร  ประวัติหน่วยงาน  
  ประวัติหน่วยงาน   
เนื้อหา   
 
 
           ในอดีต หอผู้ป่วยต่าง ๆ ต้องมีงานเกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจมากมาย   นับตั้งแต่เสนอความต้องการจัดซื้อ, จัดหาเครื่องฯ ติดตามรับผิดชอบดูแลรักษาให้เครื่องช่วยหายใจอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานได้    การเปลี่ยนชุดวงจรต่างๆ   การซ่อมบำรุง   การทำให้ปลอดเชื้อ  นอกจากจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ยังมีความสิ้นเปลือง   ต้องเสียค่าใช้จ่ายปีละ มากๆ   

           

            ในปี  พ.ศ.2530  พลอากาศตรี กิตติ  เย็นสุดใจ (ยศ.ในขณะนั้น)  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ.  ได้มีคำสั่ง  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  พอ.บนอ.  (เฉพาะ)  ที่  ๕๐/๓๐  เรื่องจัดตั้งหน่วยช่วยการหายใจ  สั่ง   วันที่ 31 สิงหาคม 2530 ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลเครื่องช่วยหายใจ ทั้งหมดทุกเครื่อง ในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  ในการนี้ได้แต่งตั้ง น.อ.วิบูลย์  ตระกูลฮุน  (ยศ.ในขณะนั้น)  เป็นหัวหน้าหน่วยช่วยการหายใจ พ.ศ.2535  ได้มีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งแพทย์ที่ปรึกษาของหน่วยช่วยการหายใจ เป็นในรูปของคณะกรรมการและมีปรับเปลี่ยนทุกปี  และ มีหัวหน้าหน่วยช่วยการหายใจเป็นผู้รับผิดชอบ

           

           ปัจจุบันหน่วยช่วยการหายใจ  มีการบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ  ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาล  คณะกรรมการประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่จากหน่วยที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งแม้ว่าไม่คล่องตัวในการพัฒนา  แต่ในด้านการบริการก็สามารถให้การดูแลรักษา  ผู้ป่วยทางระบบทางเดินหายใจได้อย่างทั่วถึง   จากนโยบาย ของ น.อ.วิบูลย์  ตระกูลฮุน   (ยศในขณะนั้น)  ภารกิจประการหนึ่งของหน่วยช่วยการหายใจ  คือ เผยแพร่ความรู้  การเรียนการสอน และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย  ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้า   จึงเป็นที่มาของการจัด  การประชุมวิชาการขึ้นเป็นครั้งแรก    เป็นการบรรยายทางวิชาการ และสาชิตการใช้เครื่องช่วยหายใจใน  วันที่  12  มิ.ย.32    และได้เป็นแนวทางปฎิบัติในการจัดประชุมวิชาการ ของหน่วยช่วยการหายใจ  เพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่  ข้อมูล ข่าวสาร  ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์  ให้กับบุคลากรทางการแพทย์  ที่ต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจ  ซึ่งมีอยู่หลายแบบได้อย่างกว้างขวาง   ประกอบกับครบรอบ  20  ปี  แห่งการมีหน่วยช่วยการหายใจ  ของ โรงพยาบาล  คณะกรรมการหน่วยช่วยการหายใจ  ได้จัดประชุมวิชาการครั้งที่  18  ในวันที่  22  ก.ค.50  ปีที่ผ่านมา

           

            พ.ศ. 2549  ด้วยการบริหารจัดการเครื่องช่วยหายใจอย่างมีระบบ  ทำให้มีการกระจายการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเพียงพอ   คณะกรรมการบริหารเครื่องมือและพัสดุ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  มี  น.อ.ธเนศศักดิ์  วุฒาพิทักษณ์  เป็นประธาน (ในขณะนั้น)  ได้มอบหมายให้หน่วยช่วยการหายใจ ดูแลรวบรวม และรับผิดชอบเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ  (Infusion pump ,Syringe pump) 

           

            พ.ศ.2550  คณะกรรมการบริหารเครื่องมือ และพัสดุ  รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  ให้เป็นผู้รวบรวมความเพียงพอและพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ  เพิ่มอีกคือ 

            1.  ชุดควบคุมอัตราการไหลของออกซิเจน ( 0xygen Flow meter walltype)

            2.  เครื่องช่วยหายใจชนิดมือบีบ  (Resuscitator  Hand  0perated)

 
จำนวนทั้งหมด  1 ย่อหน้า หน้า   [ 1 ]