รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
งานพัฒนาหน่วย ในด้านต่างๆ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
 
ความรู้สู่ประชาชน
 
สิทธิประกันสุขภาพ
 
สิทธิประกันสังคม
 
สิทธิ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
สิทธิ กรมบัญชีกลาง
 
หลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิการรักษา
 
การจัดการความรู้
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม.ppt
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานสนับสนุนและบริการ  สำนักงานสิทธิประโยชน์    งานพัฒนาคุณภาพ    โครงการที่พัฒนาไปแล้ว  โครงการน้ำหนักพอดีไม่มีโรค  
  โครงการน้ำหนักพอดีไม่มีโรค   
เนื้อหา   
     วัตถุประสงค์
1เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานเกิดการรับรู้ความสามารถในการปรับพฤติกรรม
      สุขภาพตนเอง
                             
2. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานมีการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเอง
              
3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานมีการดูแลสุขภาพตนเอง
 

        กลุ่มเป้าหมาย  

                 ประชาชน ที่อาศัยในพื้นที่หมู่ 2 แขวงคลองถนน เขตสายไหม อายุระหว่าง 35 - 65 ปี และมีค่าดัชนีมวลกาย
                 มากกว่าหรือเท่ากับ   2
3 กิโกกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 50 คน
      

        ระยะเวลาดำเนินการ  1 มิ.ย.52 – 30 พ.ย.52

        การดำเนินงาน

       
       

         คัดกรองความเสี่ยงและทำแบบประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ


              ถ่ายรูปก่อนเข้าโครงการ
                    
                    
                                   การบรรยายพิเศษ “โรคอ้วนกับการดูแลสุขภาพ” โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                   
                    
                            
จัดตั้งกลุ่ม “น้ำหนักพอดีไม่มีโรค” เพื่อให้เกิดการรวมตัว และเกิดพลังในการดำเนินกิจกรรมที่สมาชิก
                             ทุกคนมีส่วนร่วม ผลักดัน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
                     

                                อบรมเชิงปฏิบัติการ “กินอย่างไรห่างไกลโรคอ้วน” โดยนักโภชนาการ

          

                                                         สาธิตและฝึกทักษะการบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ

      - ฝึกลงบันทึกในสมุดบันทึกการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย โดยเจ้าหน้าที่คำนวณปริมาณแคลอรี่เป้าหมายที่เหมาะสมในแต่ละคนให้ จากนั้นแปลงแคลอรี่ให้เป็นส่วนอาหาร(ช้อน) และลงบันทึกในสมุดของแต่ละคน
                     
                                            แนวทางการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว โดยนักกายภาพบำบัด
                       

       ประเมินภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว

                         
        กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลสุขภาพร่วมกัน มุ่งสู่เป้าหมาย และเสริมพลัง โดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสรุปผล ความก้าวหน้าในการลดน้ำหนัก ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาของสมาชิกในทีมทั้งหมด
                      

   หัวเราะบำบัด โดยทีมผู้นิเทศจาก มศว.

                     

             สร้างแรงจูงใจ มอบรางวัลผู้ที่สามารด ลดน้ำหนักได้มากที่สุด

                      
                                                                ประเมินภาวะสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว
                      
                               ฝึกสมาธิ โดยการฝึกลมหายเข้าและหายใจออก ประกอบดนตรี จากแม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต
                      

             กิจกรรมเชื่อมความสามัคคี ผ่านเกม พลายกระซิบและผู้ทรงพลัง

                       
                                              ให้ความรู้และสาธิตการออกกำลังกายเรื่อง การดูแลข้อเข่าในคนอ้วน
                       

                                  สร้างแรงจูงใจ มอบรางวัลผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุด

      กิจกรรมครั้งที่ 5 วันที่ 8ต.ค.52     
                                             
                      กิจกรรมคลายเครียด นั่ง สมาธิ 3 นาที โดยเปิดเทปเพลง Little Happiness ของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
                         

                        ฝึก บริหารเพื่อปรับสมดุลโครงสร้างของร่างกาย โดยการใช้ท่า มณีเวช

  

                 เกมสันทนาการ ทายชื่อรายการอาหาร จากป้ายคำ ส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด

   

          กิจกรรมเสวนา น้ำหมากกระจาย โดยเชิญผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้ดี มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นตัวแบบให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ ให้เกิดกำลังใจต่อไป พบว่า
          ผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้ดี เกิดจาก
             
1 การปลูกจิตสำนึกให้มีความตะหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ
              
2. แรงสนับสนุนจากครอบครัว
              
3. การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม
             
4 การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง   

       
         
กิจกรรมครั้งที่ 6 วันที่ 30พ.ย.52 (ปิดโครงการ)
                          
                                                                           ทำแบบประเมิน Post – test
                                               กิจกรรมค่าย “น้ำหนักพอดีไม่มีโรค” โดยจัดเป็นฐานทบทวนความรู้ 4 ฐาน
                         
                                                                          ฐานที่ 1 ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
                          
                                                                            ฐานที่ 2 กินพอดีไม่มีอ้วน
                          
                                                                     ฐานที่ 3 ออกกำลังกายทลายน้ำหนัก
                          
                                                                        
ฐานที่ 4 ทำอย่างไรไม่ให้เครียด
                          
                                                                       กิจกรรมพันธะสัญญาก่อนจาก
         
สมาชิกหลายๆท่านให้คำมั่นสัญญาว่า จะพยายามควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีโอกาสจะนำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำประชาชนในชุมชนเพื่อให้เกิดสุขภาพดีเช่นเดียวกับตนเอง
                          
                                          มอบรางวัลให้ผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุดตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ 
                      
                                                       สมาชิกและคณะทำงานโครงการน้ำหนักพอดีไม่มีโรค

         ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้

1 ตัวชี้วัดผลผลิตที่ 1

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเข้ารับบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งสิ้น 50 คน คิด

เป็นร้อยละ100 ของจำนวนผู้เข้ารับบริการในโครงการทั้งหมด

• กลุ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 21 คน

• กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 23 คน

• กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 21 คน

• กลุ่มเสี่ยงต่อการติดบุหรี่/สารเสพติด – คน

• กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน 50 คน

2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 1 – 3

จำนวนผู้เข้ารับบริการที่มีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคอ้วน

1. มีคะแนนการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อน

เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 72 ของจำนวนทั้งหมด

2. มีคะแนนการกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 36 คน

คิดเป็นร้อยละ 72 ของจำนวนทั้งหมด

3. มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 38 คน

คิดเป็นร้อยละ 76 ของจำนวนทั้งหมด

            ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 4

              จำนวนผู้เข้ารับบริการที่มีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคอ้วนมีค่า BMI ลดลงจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 78 ของจำนวนทั้งหมด

            ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 5

               จำนวนผู้เข้ารับบริการที่มีพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยงต่อโรคอ้วนมีค่าระดับความดันโลหิต (systolic/diastolic) ลดลง จากก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 22คนคิดเป็นร้อยละ 84.6 ของจำนวนผู้มีค่าระดับความดันโลหิตเสี่ยงและสูงทั้งหมด (N = 26)

            ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ 6

                 จำนวนผู้เข้ารับบริการที่มีความพึงพอใจในระดับมากต่อการเข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 92 ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด

 

ปัจจัยที่ทำให้โครงการสำเร็จ

            1.  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ และพยายามปฏิบัติตามคำแนะนำ

            2. มีสถานที่ทำกิจกรรมที่สะดวกและเหมาะสมกับจำนวนผู้รับบริการ

            3. การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัล

            4. ความเอื้ออาทรและการร่วมแรงร่วมใจระหว่างเจ้าหน้าที่กับสมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

            -  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางคนติดภารกิจในเรื่องการทำงาน การพบแพทย์ตามนัด และภารกิจส่วนตัว ทำให้ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมกับกลุ่มได้ทุกครั้ง บางรายของถอนตัวออกจากโครงการเนื่องจากได้งานทำ ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้อย่างต่อเนื่อง

การแก้ไข  ติดตามเยี่ยม ให้คำแนะนำ ปรึกษา และประเมินภาวะสุขภาพที่บ้านแทน

                - เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม โดยชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน โภชนาการ การออกกำลังกาย และการบันทึกสมุดสุขภาพ เป็นรายบุคคล เพื่อให้ทันเข้ากลุ่มในครั้งต่อไป

 

แนวทางพัฒนาหรือดำเนินโครงการต่อเนื่อง

            การทำกิจกรรมต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนในชุมชน ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จที่ยั่งยืน ควรพัฒนาหรือปรับรูปแบบให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อให้ชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญ และรู้สึกว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา  โดยบุคลากรทางสุขภาพทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ และคอยประสานงาน

และหาแหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณให้

 
 
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสุขภาพ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
 
จำนวนทั้งหมด  1 ย่อหน้า หน้า   [ 1 ]