รู้จักองค์กร
 
ข้อมูลหน่วย
 
ภาระกิจ
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
การศึกษาและฝึกอบรม
 
ข่าวการศึกษา
 
หลักสูตร
 
E - Learning
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
Download: เอกสารประชุมวิชาการ
 
ความรู้ | บริการ...สู่ประชาชน
 
ดาวน์โหลด คู่มือ/แนวทาง/คำแนะนำ
 
แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยไข้หวัดใหญ่
 
คำแนะนำในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
 
โรคตาแดง
 
โรคไข้หวัดใหญ่
 
แผ่นพับ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • ความรู้ | บริการ...สู่ประชาชน
  •  


    โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection in community hospital)
         โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection, NI) นับเป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งในระบบสาธารณสุขของทุกประเทศทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ปัญหาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลยังเป็นปัญหาที่ประสบกับทุกโรงพยาบาลในทุกขนาดตั้งแต่โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยตลอดไปจนถึงโรงพยาบาลชุมชน.
            ในแต่ละปี ผู้ป่วยจำนวนมากที่เกิดการติดเชื้อขึ้นระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ส่งผลให้เกิดความสูญเสียชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา รวมไปถึงความสิ้นเปลืองทรัพยากรต่างๆ ในระบบบริการสุขภาพของประเทศนับเป็นมูลค่ามหาศาล1-4 เพราะเหตุดังกล่าวข้างต้น การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (infection control, IC) จึงเป็นมาตรการสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องนำมาปฏิบัติอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอในสถานบริการสุขภาพทุกระดับทุกแห่ง เพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ลดความสูญเสียร้ายแรงต่างๆ ดังที่กล่าวมา1,5 โดยการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล นับเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาลที่สำคัญตามข้อกำหนดของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่ทุกโรงพยาบาลกำลังดำเนินการอยู่.6 

            อย่างไรก็ดีแม้จุดเริ่มต้นและองค์ความรู้ วิชาการ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล รวมไปถึงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลของประเทศไทยตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ หากแต่ได้มีความพยายามอย่างยิ่งขององค์กรต่างๆ ในระบบบริการสุขภาพที่จะนำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยในสถานบริการสุขภาพ ทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลชุมชน (จำนวนเตียงตั้งแต่ 10 ถึง 120 เตียง) ซึ่งเป็นสถานบริการสุขภาพที่มีสัดส่วนมากที่สุดในระบบสุขภาพของประเทศ โดยในปัจจุบันยังคงประสบปัญหาด้านการจัดการโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางกระแสการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข.7-9

            บทความนี้นำเสนอสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน องค์ความรู้ มาตรการ ต่างๆ และกระบวนการจัดการ รวมไปถึงข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยพิจารณาจากบริบทของเวชปฏิบัติที่เกิดขึ้นโรงพยาบาลชุมชนเป็นสำคัญ.

       สถานการณ์โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน
             ความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน

             ประเทศไทยเริ่มมีการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 แต่เริ่มมีแนวทางปฏิบัติชัดเจนประมาณปี พ.ศ. 253010 และสำรวจความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 253111 และครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 253512, 254413 และล่าสุดในปี พ.ศ. 254914 โดยพบความชุกของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นร้อยละ 11.4, 7.4, 6.4 และ 6.5 ตามลำดับ โดยประชากรที่ทำการศึกษาทั้งหมดข้างต้นไม่นับรวมโรงพยาบาลชุมชน ความชุกที่ลดลงในระยะหลัง เป็นผลจากการส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับมีระบบป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง. สำหรับการประเมินความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทยยังมีข้อมูลจำกัด อย่างไรก็ดีคาดว่าความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนมีอยู่ประมาณร้อยละ 4.215 ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาในต่างประเทศที่มีความชุกอยู่ประมาณร้อยละ 1.4-3.58.16-18

           ค่าใช้จ่ายและผลกระทบจากโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
              ด้วยอัตรานี้ ในประเทศไทยแต่ละปีที่มีผู้ป่วย รับไว้รักษาในโรงพยาบาลประมาณ 4 ล้านคน จะมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างน้อย 300,000 คน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราตายประมาณร้อยละ 5.9 ของทั้งหมดคิดเป็นจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตประมาณ 18,000 คน. ผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลจะอยู่ ในโรงพยาบาลนานขึ้นเฉลี่ย 5 วัน19 และร้อยละ 10 ถึง 25 ของงบประมาณของรัฐถูกใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลคิดเป็นเงินประมาณ 1,600 ถึง 2,400 ล้านบาทต่อปี20,21 ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความสูญเสียอันเป็นผลจากการเสียชีวิตของประชากรซึ่งพบเป็นสาเหตุการตายโดยตรงได้ร้อยละ 6.713 และความสูญเสียทางอ้อมที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้นและไม่สามารถทำงานได้.

              นอกจากนี้ยังมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการที่โรงพยาบาลต่างๆ ต้องจัดหาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการป้องกันและการทำลายเชื้อโรคในโรงพยาบาล เช่น ตู้อบ น้ำยาทำลายเชื้อ ถุงมือ เป็นต้น. เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มักจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงมาก เมื่อนับรวมความสูญเสียต่างๆ ไว้ทั้งหมดอาจจะประมาณได้ว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลน่าจะมีมูลค่าถึงปีละ 10,000 ล้านบาท.22

             ลักษณะการติดเชื้อและเชื้อก่อโรค
              การกระจายของการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำแนกไปตามระบบที่มีการติดเชื้อและชนิดของเชื้อก่อโรคซึ่งขึ้นกับลักษณะของโรงพยาบาลถ้าเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่. ลักษณะผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการรักษาและมักจะอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน มักมีโอกาสติดเชื้อได้มาก ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นและมีเชื้อดื้อยาเกิดขึ้นได้บ่อยเช่นกัน.6 การติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดเรียงตามลำดับ การติดเชื้อได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง พบร้อยละ 43.2, การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 25 และการติดเชื้อบาดแผลผ่าตัดร้อยละ 20.523 ในขณะที่การศึกษาในต่างประเทศมัก พบการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดและในกระแสโลหิตถึง ร้อยละ 46.9 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ.16

              เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุด คือ Klebseilla spp. ร้อยละ 25 พบ Escherichia coli ร้อยละ 9.1 ส่วน Pseudomonas aeruginosa พบร้อยละ 6.823 ซึ่งต่างจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่พบการติดเชื้อแกรมลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง E. coli มากที่สุด.14 ส่วนการศึกษาจากประเทศตะวันตก เชื้อกลุ่มแกรมบวกจะเป็นปัญหามากกว่า. อย่างไรก็ตามลักษณะของโรงพยาบาลชุมชนของไทยในปัจจุบัน มีการสนับสนุนให้เพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ มีหอผู้ป่วยวิกฤติ เพิ่มหัตถการรุกรานและการผ่าตัดที่ซับซ้อน ใช้งานเครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความชุกการติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนเพิ่มมากขึ้นและอาจมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของเชื้อก่อโรคตามไปด้วย.

            โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในโรงพยาบาลชุมชน
              นับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เผชิญหน้ากับปัญหาโรคไข้หวัดนกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีความพยายามอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ทั้งในสัตว์ปีก โดยร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และในคนอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีรายงานอาการทางคลินิกชนิดที่พบได้บ่อย24และไม่ตรงไปตรงมา25 ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยหรืออยู่ในข่ายเฝ้าระวังในเวลาต่อมานั้นเกือบทั้งหมดมักมารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้านของการเจ็บป่วยครั้งแรกๆ สถานการณ์เช่นนี้โรงพยาบาลชุมชนจึงมีโอกาสได้สัมผัสผู้ป่วยไข้หวัดนกเป็นลำดับแรกๆ. ดังนั้นบทบาทการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำในโรงพยาบาลชุมชนจึงมีความสำคัญและจำเป็นในขณะนี้

              นอกจากนี้โรงพยาบาลชุมชนอาจต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในมุมมองด้านอื่นๆ นอกจากผู้ป่วย เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากผู้ป่วยซึ่งพบว่ายังมีอัตราในการรับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังที่ต่ำอยู่26 คุณภาพด้านโครงสร้าง โรงพยาบาล องค์กรและกระบวนการที่สำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในลักษณะสหสาขา วิชาชีพ27,28 ซึ่งล้วนแต่เป็นโอกาสพัฒนาที่สำคัญท่ามกลางสภาวการณ์ที่จำกัดด้วยทรัพยากร.

           การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน
              เป้าหมายของกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลล้วนแล้วแต่กระทำเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของผู้ป่วยระหว่างพักรักษาตัวและบุคลากรขณะปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาล. กระบวน การดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ โดยกระบวนการทั้งหมดจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนหลักๆ ดังนี้29

       1. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ.
       2. สร้างระบบกำกับงานและมีนโยบายมุ่งมั่นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในโรงพยาบาล.
       3. ปฏิบัติกิจกรรมและให้ความรู้ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและ
       4. ประเมินผลเป็นระยะ มีการวิจัยและพัฒนา.

              อย่างไรก็ตาม พบว่าปัญหาในการพัฒนาดังกล่าว มักเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก4,26,29 ได้แก่ ทรัพยากร ด้านต่างๆ มีจำกัดและความตระหนักของบุคลากรต่อความสำคัญของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลยังมีน้อย. ในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่าการนำประเด็นความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์, ความเสี่ยงทางคลินิกที่มีต่อผู้ป่วย โดยอาจกำหนดให้เป็นความเสี่ยงสำคัญของโรงพยาบาล30-34, การศึกษาวิจัยกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโดยเน้นที่กระทำได้ง่ายในเวชปฏิบัติและการสนับสนุนเชิงบวกจากผู้บริหารโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยส่งเสริมและผลักดันระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ.

            การเชื่อมโยงงานบริหารโรงพยาบาลกับการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
              มีความจำเป็นอย่างที่ระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลทุกระดับจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังต่อเนื่อง มีนโยบายเชิงบวกชัดเจน มีบุคลากรที่มีความชำนาญและงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ35 เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของโรงพยาบาล36 แต่ก็ยังพบปัญหาและข้อจำกัด หลายประการที่ไม่สามารถทำให้ระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลขนาดใหญ่และโรงพยาบาลชุมชน เช่น ความอ่อนแอขององค์กรด้านการป้องกันโรคติดเชื้อ, การขาดแรงจูงใจ, ขาดการ สนับสนุนจากผู้บริหาร, ความถูกต้องของการรายงานความชุกของโรค, ความขาดแคลนพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อที่ชำนาญและไม่ก้าวหน้าในวิชาชีพ4, 37

              โดยแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวควรพิจารณาแก้ไขทั้งระบบ ซึ่งเห็นควรเริ่มตั้งแต่การเรียนวิชาการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในหลักสูตรการผลิตบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพ38 มีนโยบายระดับชาติไปจนถึงระดับโรงพยาบาล ตลอดไปจนถึงการให้ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานอันเกิดจากการเห็นความสำคัญ ผู้บริหารช่วยผลักดันและสนับสนุนเชิงบวกแก่กระบวนการต่างๆ ในระบบอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงขยายผลไปสู่ความร่วมมือหรือเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น เช่น การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับจังหวัด เป็นต้น.

             การลดโอกาสการติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน
                เนื่องจากบริบทการดูแลรักษาในโรงพยาบาลชุมชนมีความซับซ้อนไม่มากนักเมื่อเทียบกับโรงพยาบาล ขนาดใหญ่และปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากการศึกษาก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลกระทบให้การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นไปได้ยากดังที่กล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่มีจำกัด.

                ดังนั้นเวชปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคที่ง่ายและประหยัด จะมีความเหมาะสมกับบริบทในโรงพยาบาลชุมชน เช่น ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ได้จัดสร้างคู่มือวิธีปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2548 และได้ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงาน ปรับปรุงแนวทางดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลชุมชนเมื่อ พ.ศ. 254939, อนุชา อภิสารธนรักษ์ และคณะ (2550) ได้ศึกษาวิธีการลดอัตราการเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะ ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ40 พบว่าการถอดสายสวนปัสสาวะให้เร็วที่สุดเมื่อหมดข้อ บ่งชี้หรืออย่างน้อยภายใน 3 วันหลังคาสายสวนด้วยการกระตุ้นเตือนแก่แพทย์เจ้าของไข้โดยพบว่าสามารถ ลดอัตราการคาสายสวนปัสสาวะโดยไม่จำเป็นลงได้จากร้อยละ 20.4 เหลือเพียงร้อยละ 11 (p = .04) ลดอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับสายสวนปัสสาวะลงได้จาก 21.5 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ เหลือเพียง 5.2 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การใช้กลยุทธ์ดังกล่าวยังพบว่าสามารถลดจำนวนวันนอนผู้ป่วยเหลือเพียง 5 วันจากเดิมเฉลี่ยวันนอนประมาณ 16 วัน (p < 0.001) ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาต้านจุลชีพและค่าใช้จ่ายโดยรวมของโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย โดยผู้ใส่ยังคงต้องสวนสายสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อตามมาตรฐานเช่นเดิม.

                สำหรับปัญหาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรมาก การใช้มาตรการการป้องกันอย่างประหยัด และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการให้การศึกษาแก่บุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยและเครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ.41 อนุชา อภิสารธนรักษ์ และคณะ (2550) ศึกษาวิธีการลดการติดเชื้อดังกล่าวโดยฟื้นฟูความรู้ให้แก่พยาบาลและนักกายภาพบำบัดผู้ดูแลผู้ป่วยซึ่งกำลังใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมด้วยการจัดการบรรยาย, เอกสารวิชาการและแผ่นภาพแสดงมาตรการเพื่อลดการติดเชื้อ พบว่าตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ทำการศึกษาสามารถลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจได้ถึงร้อยละ 59. นอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ถึงร้อยละ 45 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการใช้ยาต้านจุลชีพที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ.42

               การพยายามลดโอกาสการติดเชื้อในบุคลากร ในสหรัฐอเมริกาพบว่าแต่ละปีมีบุคลากรทางการแพทย์ เกิดอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำประมาณ 380,000 ครั้ง43 ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทยเพราะบุคลากรทางการแพทย์กำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโดยการสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วยจากการถูกเข็มตำและของ มีคมบาดระหว่างปฏิบัติงาน. ดังนั้นการลดโอกาสการสัมผัสกับของมีคมให้น้อยที่สุดด้วยวิธีการใช้กล่องบรรจุ เข็มและของมีคมแบบใช้แล้วทิ้ง, การแนะนำไม่ให้มีการสวมปลอกเข็มกลับคืน, การฝึกอบรมให้ความรู้ถึงความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากเข็มและของมีคม และการเฝ้าระวังเข้มงวดในหน่วยงานที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย เป็นวิธีช่วยลดอุบัติเหตุลงได้.44-45

            เวชปฏิบัติข้างต้นนับเป็นตัวอย่างการประยุกต์การศึกษาวิจัยที่มีประโยชน์ อีกทั้งปฏิบัติได้ง่ายและประหยัดทรัพยากรได้อย่างมาก.

            อย่างไรก็ดีมาตรการการล้างมือ การแยกผู้ป่วย การจัดการขยะและมูลฝอยติดเชื้อ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลตามหลักการมาตรฐานเพื่อลดการติดเชื้อ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่มักมีอุปสรรคด้วยเพราะเหตุความตระหนักที่ยังมีน้อยและไม่เห็นความสำคัญ เห็นผลช้าและไม่ยาวนาน จึงยังคงต้องส่งเสริมและจูงใจให้ปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ.

                การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน
                  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อมีประโยชน์มาก46-48 โดยสามารถนำประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ49 แต่ที่นำมาใช้บ่อย47 ได้แก่

      1. บทบาทในการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังที่เป็นมาตรฐาน ควรได้มาจากการทบทวนเวชระเบียน ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลทุกรายในทุกวันอย่างละเอียด แต่คอมพิวเตอร์สามารถช่วยทำให้การเก็บข้อมูลการ เฝ้าระวังเป็นไปอย่างมีระบบตามหอผู้ป่วยหรือตำแหน่งการติดเชื้อที่สำคัญ เพื่อการรายงานผลที่แม่นยำและรวดเร็ว.

      2. บทบาทการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วอาจช่วยให้ระบุปัญหา ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อและการเกิดการระบาดของเชื้อ รวมไปถึงช่วยในการออกแบบการศึกษาวิจัยเพื่อหาค้นหาคำตอบ นอกจากนี้ยังช่วยให้การใช้สถิติวิเคราะห์เป็นไปได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยสามารถแสดงออกมาเป็นภาพกราฟิกต่างๆ เพื่อให้เห็นแนวโน้มการติดเชื้อในเวลาที่เปลี่ยนไป.

      3. บทบาทของการค้นคว้าหาข้อมูลวิชาการ และการศึกษาวิจัยใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้หรืออ้างอิงได้.

                  นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังถูกนำมาใช้เพื่อการพิมพ์เอกสาร การสื่อสารระหว่างกันและการติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพในเวชปฏิบัติ50,51 หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงฐานเข้ากับข้อมูลทางจุลชีววิทยาและเภสัชกรรมเพื่อเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา52 โดยคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เหล่านี้มักเป็นเครื่องชนิดบุคคล.

                  สำหรับโปรแกรมเฉพาะที่นำมาใช้กับการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลมีหลายโปรแกรม อาทิเช่น AICE 4.0, NOSO-3, QLogic II หรือ NNIS-IDEAS ของศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นต้น. ทุกโปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากโปรแกรม Excel ในระบบไมโครซอฟท์ได้ ซึ่งในโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย โดยทั้งนี้ขึ้นกับความชำนาญของผู้ใช้เป็นสำคัญ.

                  บทบาทของการหาข้อมูลวิชาการใหม่ๆ รวมไปถึงการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้น คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตมีบทบาทอย่างยิ่ง เพราะนอกจากสามารถได้รับข้อมูล ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วกว่าวารสารรูปแบบเดิมมาก วารสารหลายฉบับและแหล่งข้อมูลวิชาการหลายสถาบัน ผู้ใช้ยังสามารถจัดหามาได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย เช่น ฐานข้อมูล PubMed, Center of Disease Control (CDC), OVID (เฉพาะสถาบันที่เป็นบอกรับเป็นสมาชิก) เป็นต้น. นอกจากนี้ยังมีองค์กรทั้งในและนอกประเทศที่รวมกลุ่มขึ้นเพื่อจัดสร้างแนวทางปฏิบัติและส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย (เข้าถึงได้จาก
    www.idthai.org), ชมรมพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (เข้าถึงได้จาก www.icnurse.org), American College of Epidemiology (เข้าถึงได้จาก www. acepidemiology2.org) และ Association Professionals Of Infection Control (เข้าถึงได้จาก www.apic.org) และ Society of Healthcare Epidemiology of North America (เข้าถึงได้จาก www.shea-online. org) เป็นเว็บในการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็วและทันสมัย.

            บทสรุป
              การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบันมีแนวทางเวชปฏิบัติที่ชัดเจน อีก ทั้งมีการศึกษาหามาตรการที่สามารถทำได้ง่ายในที่ที่มีทรัพยากรจำกัดมากขึ้น สามารถนำมาช่วยลดปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลอันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณภาพการบริการสุขภาพโดยตรงประการหนึ่งในห้วงเวลาที่ทรัพยากรมีจำกัดควรเน้นไปใช้แนวทางที่ง่ายและประหยัด แต่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหาการสนับสนุนของผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบ จึงนับเป็นความท้าทายใหม่ที่โรงพยาบาลชุมชนจะได้นำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป.

         เอกสารอ้างอิง
    1. Centers for Disease Control and Prevention. Public health focus: surveillance, prevention and control of nosocomial infection. MMWR 1992;41:783-7.
    2. Burke JP. Infection control, a problem for patient safety. N Engl J Med 2003;348:651-6.
    3. Ramasoot T. Nosocomial infection control. J Med Assoc Thai 1995;78(Suppl 1):S57-8.
    4. Juntaradee M, Yimyaem S, Soparat P, Jariyasethpong T, Danchaivijitr S. Nosocomial Infection Control in District Hospitals in Northern Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 10):S120-3.
    5. Haley RW, Culver DH, Morgan WM, Emori TG, Munn VP, Hootonn TP. The efficacy of infection surveillance and control programs in preventing nosocomial infection in U.S. hospitals. Am J Epidemiol 1985;121:182-205.
    6. กำธร มาลาธรรม. หลักการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. ใน : พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย และคณะ. ตำราโรคติดเชื้อ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, 2548.
    7. Srisupan W, Senarat W, Yimyam S, Thongsawat T, Tadsuwan J. Infection control program in Thailand 1991. Nurse Gazette 1994;21:1-12.
    8. Haruthai C. Report on Infection Control Management in Community Hospitals. Department of Nursing, Ministry of Public Health. 1997.
    9. Jantarasri L, Soparatana P, Moongtui W, Tantisiriwat W, Danchaivijitr S. Role of Infection Control Nurses in Community Hospitals. J Med Assoc Thai 2005;88 (Suppl 10):S92-9.
    10. Danchaivijitr S, Limsuwan A. Efficacy of hospital infection control in Thailand 1988-1992. J Hosp Infect 1996;32 :147-53.
    11. Danchaivijitr S, Chokloikaew S. A national prevalence study on nosocomial infection 1988. J Med Assoc Thai 1989;72(Suppl 2):1-6.
    12. Danchaivijitr S, Tangtrakool T, Waitayapiches S, Chokloikaew S. Efficacy of hospital in- fection control in Thailand 1988-1992. J Hosp Infect 1996;32:147-53.
    13. Danchaivijitr S, Dhiraputra C, Santiprasitkul S, Judaeng T. Prevalence and impacts of noso-comial infection in Thailand 2001. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 10):S1-9.
    14. Danchaivijitr S, Judaeng T, Sripalakij S, Naksawas K, Plipat T. Prevalence of nosocomial infection in Thailand 2006. J Med Assoc Thai 2007;90(8):1524-9.
    15. ฉัตรรพี สวามิวัสดุ์. (2541). การติดเชื้อในโรงพยาบาลแม่จัน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
    16. de Lourdes Garc1' a-Garce'a M, Jime'nez-Corona A, Jimnez-Corona ME, Sol1' s-Bazaldu' a M, Villamizar-Arciniegas CO, Valdespino- Go' mez JL. Nosocomial infections in a com- munity hospital in Mexico. Infect Control Hosp Epidemiol 2001;22(6):386-8.
    17. Scheckler WE. Nosocomial infections in a community hospital : 1972 through 1976. Arch Intern Med 1978 ;138(12):1792-4.
    18. Scheckler WE, Peterson PJ. Nosocomial infections in 15 rural Wisconsin hospitals-results and conclusions from 6 months of comprehensive srviellance. Infect Control 1986 ;7(8):397-402.
    19. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. ใน : สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แอล ที เพรส, 2544:1-16.
    20. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลในประเทศไทย. วารสารโรคติดเชื้อและการใช้ยาต้านจุลชีพ 2536;10(1):52-4.
    21. Ramosoot T. Nosocomial infection. J Med Assoc Thai 1995;78(Suppl 1):57-8.
    22. จุไร วงศ์สวัสดิ์, อนุชา อภิสารธนรักษ์, กำธร มาลาธรรม, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง. รายงานแผนที่การศึกษาวิจัยการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลประจำปี งบประมาณ 2548-2550 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
    23. ศันสนีย์ กระแจะจันทร์. การสำรวจความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลมะการักษ์ พ.ศ. 2544. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 2544;13(1):2-11.
    24. Tiensin T, Nielen M, Songserm T, Kalpravidh W, Chaitaweesub P, Amonsin A, Chotiprasatin-tara S, Chaisingh A, Damrongwatanapokin S, Wongkasemjit S, Antarasena C, Songkitti V, Chanachai K, Thanapongtham W, Stegeman JA. Geographic and temporal distribution of highly pathogenic avian influenza A virus (H5N1) in Thailand, 2004-2005: an overview. Avian Dis 2007;51(1Suppl):182-8.
    25. Apisarnthanarak A, Kitphati R, Thongphubeth K, Patoomanunt P, Anthanont P, Auwanit W, Thawatsupha P, Chittaganpitch M, Saeng-Aroon S, Waicharoen S, Apisarnthanarak P, Storch GA, Mundy LM, Fraser VJ. Atypical avian influenza (H5N1). Emerg Infect Dis 2004;10(7): 1321-4.
    26. Danchaivijitr S, Rongrungruang Y, Boon-csalermvipas S, Gusalanan A, Tuntiwattanapibul Y. Prevention and Treatment of Infectious Diseases in Healthcare Workers. J Med Assoc Thai 2005;88 (Suppl 10):S65-9.
    27. Danchaivijitr S, Supchutikul A, Watayapiches S, Kachintorn K. Quality of Nosocomial Infection Control in Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 10):S145-9.
    28. Nettleman, Mary D. The Global Impact of Infection Control. In : Wenzel, Richard P. Prevention and control of nosocomial infections. Williams & Wilkins, 1993:16-7.
    29. Rosales, Ponce-de-Leon S, Frausto, Rangel S. Organizing for Infection Control with Limited Resource. In : Wenzel, Richard P. Prevention and control of nosocomial infections. Williams & Wilkins, 1993:82.
    30. Hwang RW, Herndon JH. The business case for patient safety. Clin Orthop Relat Res 2007;457:21-34.
    31. Stalhandske E. The business case for patient safety. Mater Manag Health Care 2004;13(11): 22-4, 27.
    32. Dunagan WC, Murphy DM, Hollenbeak CS, Miller SB. Making the business case for in-fection control : pitfalls and opportunities. Am J Infect Control 2002;30(2):86-92.
    33. Wilcox MH, Dave J. The cost of hospital- acquired infection and the value of infection control. J Hosp Infect 2000;45(2):81-4.
    34. Chaudhuri AK. Infection control in hospitals : has its quality-enhancing and cost-effective role been appreciated?. J Hosp Infect 1993; 25(1):1-6.
    35. Ayliffe GAJ, Babb JR, Taylor LJ. Administrative aspects of infection control. In : Ayliffe AJ, Babb JR, Taylor LJ, eds. Hospital acquired infectionprinciple and prevention. 3rd ed. London : Arnold, 2001:1-16.
    36. Mc Donald LL, Pugliese G. Regulatory, accreditation and professional agencies in-fluencing infection control programs. In : Wenzel RP, ed. Prevention and control of nosocomial infections. 3rd ed. Philadelphia : Williams & Wilkins, 1997:57-70.
    37. Danchaivijitr S, Assanasen S, Trakuldis M, Waitayapiches S, Santiprasitkul S. Problems and Obstacles in Implementation of Nosocomial Infection Control in Thailand. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl 10): S70-4.
    38. Danchaivijitr S, Chakpaiwong S, Jaturatramrong U, Wachiraporntip A, Cherdrungsi R, Sripalakij S. Program on Nosocomial Infection in the Curricula of Medicine, Dentistry, Nursing and Medical Technology in Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 10):S150-4.
    39. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร.(2548).วิธีปฏิบัติเพื่อการป้อง กันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, (1999).
    40. Apisarnthanarak A, Thongphubeth K,Sirin- varavong S, Kitkangvan D, Yuekyen C, Warachan B, Warren KD, Fraser VJ, Effectiveness of Multifaceted Hospitalwide Quality Improvement Programs Featuring an Intervention to Remove Unnecessary Urinary Catheters at a Tertiary Care Center in Thailand. Infect Control Hosp Epidemiol 2007;28:791-8.
    41. Pethyoung W, Picheansathian W, Boonchuang P, Apisarnthanarak A, Danchaivijitr S.Effectiveness of Education and Quality Control Work Group Focusing on Nursing Practices for Prevention of Ventilator-Associated Pneumonia. J Med Assoc Thai 2005;88 (Suppl 10):S110-4.
    42. Apisarnthanarak A, Pinitchai U, Thongphubeth K, Yuekyen C, Warren DK, Zack JE, Warachan B, Fraser VJ. Effectiveness of an educational program to reduce ventilator-associated pneumonia in a tertiary care center in Thailand : a 4-year study. Clin Infect Dis 2007;15;45(6): 704-11.
    43. Panlilio AL, Orelien JG, Srivastava PU, Jagger J, Cohn RD, Cardo DM. Estimate of the annual number of percutaneous injuries among hos-pital-based healthcare workers in the United States, 1997-1998. Infect Control Hosp Epidemiol 2004;25:556-62.
    44. Apisarnthanarak A, Babcock HM, Fraser VJ. The Effect of Non-device Interventions to reduce Needstick Injuries Among Healthcare Workers in A Thai Tertiary Care Center. (Pending published)
    45. ชไมพร เป็นสุข, สีลม แจ่มอุลิตรัตน์, ถวัลย์ เบญจวัง. ผลของแผนงานป้องกันการบาดเจ็บจากของมีคม. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24(4).
    46. Freeman J. The use if computerized systems in hospital epidemiology. In : Bennett JV, Brachman PS, eds. Hospital infectious. 3rd ed. Boston : Little, Brown, 1992:161-85.
    47. Reagan DR. Computer Use in Infection Control. In : Wenzel, Richard P. Prevention and control of nosocomial infections. Williams & Wilkins, 1993:918-92.
    48. French GL. The use of personal computers in hospital infection control. J Hosp Infect 1991;18 Suppl A:402-10.
    49. Larsen RA, Evans RS, Burke JP, Pestotnik SL, Gardner RM, Classen DC. Improved peri-operative antibiotic use and reduced surgical wound infectious through use of computer decision analysis. Infect Control Hosp Epidemiol 1989;10:316-20.
    50. Pestotnik SL, Evans RS, Burke JP Pestotnik SL, Gardner RM, Claasen DC. Therapeutic antibiotic monitoring : surveillance using a computerized expert system. Am J Med 1990;88:43-8.
    51. Apisarnthanarak A, Danchaivijitr S, Khaw- charoenporn T, Limsrivilai J, Warachan B, Bailey TC, Fraser VJ. Thammasart University Antibiotic Management Team. Effectiveness of education and an antibiotic-control program in a tertiary care hospital in Thailand. Clin Infect Dis 2006;15;42(6):768-75.
    52. Evans RS, Larsen RA, Burke JP, Gardner RM, Meier FA, Jacobson JA, et al. Computer surveillance of hospital-acquired infection and antibiotic use. JAMA 1986;256:1007-11.

     
    ข้อมูลจาก www.doctor.or.th/node/7476

    <<- BACK
        สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง