โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
 
 

 
               ศูนย์ปัองกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจ   รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  ได้ก่อตั้งเมือ 27 กันยายน 2538 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์  เป็นปีที่ 50 และกองทัพอากาศมีอายุแห่งการสถาปนาครบ 80 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์สำหรับ รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ  ทั้งข้าราชการกองทัพอากาศและประชาชน  โดยกองทัพอากาศได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการ และมีการรณรงค์หาทุนบริจาคเสริมอีก

                ศูนย์ปัองกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจลงนามโดย    พลอากาศเอก หม่อมราชวงศ์ ศิริพงษ์      ทองใหญ่   ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศโท สญชัย  ศิริวรรณบุศย์ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ และ พลอากาศตรี อวยชัย  เปลื้องประสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีสถานะเป็นหน่วยเพื่อพลาง (มิได้เป็นหน่วยถาวร) และขึ้นตรงต่อ กอก.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  ตั้งอยู่ที่อาคารสลก.3 ล่าง ซึ่งปรับปรุงใหม่เมื่อพ.ศ.2538 วางแผนไปอยู่ที่อาคารคุ้มเกศ ชั้น 4 เมื่อสร้างเสร็จ และศูนย์แห่งนี้ได้ริเริ่มทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันฉุกเฉินในผู้ป่วยที่มาด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่น ST ยก (Acute ST segment elevation myocardial infarction, ASTEMI) ด้วยการใช้ Balloon (Primary Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty: PTCA)  ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจคือ นาวาอากาศเอก บรรหาร  กออนันตกูล (พ.ศ. 2545-2547) พลอากาศตรีหญิง โอบแก้ว ดาบเพ็ชร (พ.ศ. 2547-2549)  นาวาอากาศเอก กลศร ภัคโชตานนท์ (พ.ศ. 2549-2550) และ นาวาอากาศเอก วรงค์ ลาภานันท์ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน) 

 
 
องค์ประกอบในการทำงานของศูนย์ตติยภูมิโรคหัวใจ
  (Functional Unit of Cardiac Center)
   
     1.  ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 
ถือเป็นด่านหน้าของผู้ป่วยโรคหัวใจฉุกเฉินที่มารับบริการ และทางศูนย์ตติยภูมิโรคหัวใจได้รับการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ เพื่อลดระยะเวลาในการประเมิน คัดกรอง และค้นหาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน  เพื่อทำการขยายหลอดเลือดโดยเร็วที่สุด (Fast Track for Acute Chest pain patient)  แนวทางดังกล่าวใช้ปฏิบัติร่วมกันระหว่างห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ และประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล

     2. ห้องตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catherization
ทำการดัดแปลงจากห้องผ่าตัด และเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2538โดยใช้เงินกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาล ขณะที่พลอากาศตรี สมโมทย์ โยธะพันธุ์  เป็นผู้อำนวยการหลังจากมีการส่ง นาวาอากาศตรี กัมปนาท วีรกุลไป ศึกษาต่อที่ University of Colorado Health Sciences Center ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยใช้ทุนมูลนิธิคุ้มเกล้าฯ (4 ปี) ผู้สนับสนุน คือ พลอากาศโท ประกอบ บุรพรัตน์  พลอากาศโท กิตติ เย็นสุดใจ (เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ) พลอากาศตรี สญชัย ศิริวรรณบุศย์ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาล) และ นาวาอากาศเอกหญิง โอบแก้ว ดาบเพ็ชร (ผู้อำนวยการกองอายุรกรรม) มีศักยภาพในการขยายหลอดเลือดหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

    
    3. หออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ (Coronary Care Unit : CCU)
  ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และยังรับผู้ป่วย Post Percutaneous Coronary Intervention  (PCI) จากห้องสวนหัวใจ โดยทำงานประสานงานกับห้องฉุกเฉินและหอผู้ป่วย  ICCW (Intermediate Coronary Cardiac Ward)

  
   4. หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตโรคหัวใจ (Intermediate CoronaryCare Ward: ICCW)
  
เปิดดำเนินการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 เพื่อรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ย้ายมาจากหออภิบาล CCU รวมทั้งเตรียมการตรวจสวนหัวใจและดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจนกระทั่งจำหน่าย
          
    5. ห้องผ่าตัดหัวใจ (Open heart surgery)
ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นการผ่าตัดปิดรูรั่วของผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องบนโดย นาวาอากาศเอก ยอด สุนทรวิจารณ์ และศาตราจารย์ นายแพทย์ ปริญญา สากิยลักษณ์ และในปี พ.ศ. 2538   ได้เริ่มการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ (Coronary bypass graft surgery) โดยนาวาอากาศตรี สุชาติ ชัยโรจน์  นาวาอากาศตรี เฉลิมพล ดำรงค์รัตน์ และ เรืออากาศเอก นคร บุญมี

  
  6.  หออภิบาลศัลยกรรมโรคหัวใจ (Intensive Care Unit Cardiovascular Thoracic : ICU-C)  
รับผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft : CABG) และภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งจำเป็นต้องเฝ้าดูแลการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา 
 
    7.  หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมโรคหัวใจ (6/3)
เป็นหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตทางศัลยกรรมหัวใจ รับผู้ป่วยที่เตรียมการผ่าตัดหัวใจ และภายหลังย้ายออกจากหออภิบาลศัลยกรรมหัวใจจนกระทั่งจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และมีการติดตามประเมินความมั่นใจในการดูแลตนเองที่บ้าน 

  
    8. 
หอผู้ป่วยกุมาร
ให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยหัวใจเด็ก ให้ได้รับการดูแลที่มีมาตรฐานโดยมีกุมารแพทย์โรคหัวใจนายแพทย์ไกรสร จุฑาเจริญวงศ์ (ลาออกจากราชการ)  และนาวาอากาศเอกเกรียงศักดิ์ อนุโรจน์ เป็นผู้รับผิดชอบ


    
   9.  คลินิกโรคหัวใจ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2520 โดย นาวาอากาศโท สมบัติ ธีระวุฒิ ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยโรคหัวใจในขณะนั้น และขึ้นตรงกับกองอายุรกรรม ซึ่งมี นาวาอากาศเอก ประพัตรา ตัณไพโรจน์ เป็น ผอ.กอย. เป็นที่ ตรวจรักษาผู้ป่วยนอกโรคหัวใจและทำ non-invasive test (การตรวจจากภายนอกร่างกาย) เช่น การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการออกกำลังกาย(Exercise stress test) การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiography) การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitoring) และผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker) ปัจจุบันคลินิกนี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลดุลยเดช
 
 
 
 
 

 
 
 
     
       ผลงานเด่น

      
 1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน
                  (Percutaneous transluminal coronary angioplasty, PTCA)
   
          
              งานตรวจสวนหัวใจเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2538 และต่อมาในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนี้ ได้ทำการขยายเส้นเลือดเส้นซ้ายหลักที่ตีบเกือบตันในผู้ป่วยหญิงอายุ 78 ปี ทำให้ผนังกล้ามเนื้อหัวใจ ด้านหน้าขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างจนช็อกและหัวใจหยุดเต้นและต้องทำการกู้ชีวิตไปด้วยเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนับเป็นการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูนโดยไม่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Primary PTCA) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จากความสำเร็จดังกล่าวได้พัฒนามาสู่การให้บริการขยายหลอดเลือดหัวใจฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง เป็นโรงพยาบาลของรัฐแห่งแรกในประเทศไทย และได้จัดตั้งกองทุนโรคหัวใจฉุกเฉิน และกองทุนพยาบาลโรคหัวใจขึ้น
 

       
     2.  การตรวจการทำงานของไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology) และฝังเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (Automatic Implantable Cardiovertor Defibrillator, AICD)
 

              การตรวจการทำงานของไฟฟ้าหัวใจ ได้ดำเนินการร่วมกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี จาก University of Colorado Health Sciences Center เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ในผู้ที่รอดชีวิตจากโรคใหลตาย และได้ทำการฝังเครื่อง AICD เพื่อป้องกันการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ใต้กล้ามเนื้อหน้าท้อง และผนังหน้าอกในปีเดียวกันเป็นครั้งแรกในเอเซีย ผลที่ตามมาคือทำให้ทราบถึงสาเหตุของการเสียชีวิตในโรคใหลตาย ซึ่งเป็นโรคลึกลับที่รู้จักกันดีในประเทศไทยมานานกว่า 80 ปี ปัจจุบันการรักษาหัวใจเต้นช้าโดยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ และการรักษาหัวใจเต้นเร็วชนิดอันตรายโดยใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลายจุดกำเนิด และการฝัง AICD ดำเนินการโดย นาวาอากาศเอก เกรียงไกร จิระสิริโรจนากร


     
 
       3.  การพัฒนาบุคลากรสาขาตรวจสวนหัวใจ

                        
       การอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 แพทย์ที่เข้ารับการฝึกอบรมคนแรกคือ เรืออากาศเอกหญิง เลิศลักษณ์ เชาวน์ทวี (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วย Cardiac Imaging โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ) ตามมาด้วย แพทย์หญิง ประจงจิตต์ แช่มสะอาด (พ.ศ. 2543)  และได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีแพทย์เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 4 คนคือ นายแพทย์ เกรียงศักดิ์ วัฒนาสวัสดิ์ (พ.ศ.2550-52) และแพทย์หญิง สรวงพัชร์ สีตะกะลิน นายแพทย์ ศุภชัย โจนนขจรนภาลัย และนายแพทย์ สุรชัย ตั้งโลหะสุวรรณ (พ.ศ.2551-53)

             การพัฒนาบุคลากรสาขาตรวจสวนหัวใจ เพื่อยกระดับมาตรฐานและพัฒนาการทำงานของวิชาชีพของบุคลากรสาขาตรวจสวนหัวใจ ทางศูนย์ฯได้ร่วมก่อตั้ง "ชมรมตรวจสวนหัวใจและรักษาหลอดเลือดแห่งประเทศไทย" (Thai Cardiovascular Invasive Society, TCIS) ขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2541 และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ Teaching course in cardiac catherization ร่วมกับ The Society of Invasive Cardiovascular Professionals (SICP) USA (ภายใต้การสนับสนุนของ Mr.Charles Barbiere RN,CCRN,RCVT,FSICP ) และ  Mr.Chris Nelson  RN,CCRN,RCVT,FSICP) รวม 9 ครั้ง และยัได้เป็นจัดสอบ Registered Cardiovascular Invasive Specialist, RCIS ซึ่งรับรองโดย สถาบันที่ไม่แสวงหากำไร ในสหรัฐอเมริกา Cardiovascular Credentialing International, CCI  โดยเริ่มการสอบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 และได้จัดสอบรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกที่สอบผ่านแล้ว จำนวน 22 ท่าน

        
      4. 
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ 
          
              
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรคหัวใจ (Cardiac Rehabilitation)   ได้จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2549   โดย
พลอากาศตรีหญิง โอบแก้ว ดาบเพ็ชร และ นาวาอากาศโท ชวลิต  ดั่งโกสินทร์ ซึ่งมีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ
100 ราย และในปี2550 ได้ดำเนินโครงการต่อโดย นายแพทย์ นำ  ตันธุวนิตย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจาก University of Melbourne และ แพทย์หญิงประจงจิตต์ แช่มสะอาด  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วย (secondary prevention) และฟื้นฟูสมรรถภาพให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ คลินิกนี้ดำเนินการโดยสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกายภายบำบัด เภสัชกร และนักจิตวิทยา ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันมาให้ความรู้ผู้ป่วยเป็นเวลา 6 สัปดาห์

   

         5. โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช พอ.    

           จัดตั้งขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2550 โดยมี นาวาอากาศเอก วรงค์  ลาภานันต์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วย ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีแนวคิดให้เกิดการขยายผลให้สมาชิกเป็นอาสาสมัครในการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่จะได้รับการตรวจสวนหัวใจ และการผ่าตัดหัวใจ  ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 212 คน   ได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปทั้งหมด 8 ครั้ง ดังนี้ 1) 7  ก.ย. 50 บรรยายเรื่อง “หัวใจดีมีสุข” โดยนาวาอากาศเอก วรงค์   ลาภานันต์ สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 38 คน 2) 5  ต.ค.50  ฝึกอบรมฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 72 คน 3) 2  พ.ย.50 ประชุมเรื่อง “หัวใจดีมีสุข ภาคประชาชน”  โดยทีมแกนนำเครือข่ายสานสายใยเพื่อสุขภาพหัวใจดี   ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้มีการจัดตั้งกรรมการของชมรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  94  คน 4) 27 ธ.ค.50 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม 64 คน 5) 14 มี.ค.50 กิจกรรม”โยคะ” โดยคุณอัจฉราพรรณ  ไพบูลย์สุวรรณ (ป้าจิ๊) และทีมงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 119 คน 6) 30 พ.ค.51 ฝึกอบรมฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 72 คน 7) 1  ส.ค.51 การออกกำลังกายที่เหมาะสม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 55 คน และ 8) 28 ก.ย.51จัดเสวนาเรื่อง “โรคหลอดเลือดแดงแข็ง มฤตยูทำลายสุขภาพ” จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 105 คน  และมีการวางแผนจัดกิจกรรมต่อเนื่องทุก 2 เดือน รวมทั้งการฝึกอบรมให้อาสาสมัครสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ป่วยที่เตรียมการตรวจสวนหัวใจ


       6.  โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น (Basic Cardiac Life Support)

 

       ปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้น ๆ และมากกว่า 50% เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ศูนย์ตติยภูมิโรคหัวใจเล็งเห็นความสำคัญในการช่วยชีวิตเบื้องต้นของประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะสามารถให้การช่วยเหลือบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดเบื้องต้นก่อนจะนำส่งโรงพยาบาล หรือได้รับการช่วยเหลือจากทีมสุขภาพ อันจะส่งผลช่วยลดอัตราการตาย หรือความทุพลภาพจึงเกิดแนวคิดในการป้องกันการเสียชีวิตเชิงรุกโดยการอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ในการช่วยชีวิตเบื้องต้น (Basic Cardiac Life Support) สำหรับข้าราชการในกองทัพอากาศและประชาชนทั่วไป ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 6ครั้ง ได้แก่ 1) 20-21 ธ.ค.50  ร่วมกับ กองอายุรกรรม เนื่องในวโรกาสเทิดพระเกียรติเดือนธันวาคม ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชผู้เข้ารับการอบรมเป็นประชาชนทั่วไป จำนวน    89  คน 2) 23 ม.ค.51ร่วมกับ กวป.พอ.บนอ.ที่ สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ผู้เข้ารับการอบรมเป็นแคดดี้ ทั้งหญิงและชาย จำนวน 81 คน 3) 30 ม.ค.51 ร่วมกับ กรมกำลังพลที่ ห้องประชุมบก.ทอ. ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นข้าราชการและลูกจ้าง ใน บก.ทอ. จำนวน 176 คน4) 19 ก.พ. 51  ร่วมกับ กวป.พอ.บนอ.ที่ สพ.ทอ.ผู้เข้ารับการอบรมเป็นข้าราชการและลูกจ้าง ของ สพ.ทอ. จำนวน 229 คน 5) 24 ก.พ.51 ศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจ จัดให้กับมูลนิธิร่วมกตัญญูและปอเต๊กตึ๊ง จำนวน 35 คน และ 6) เป็นการอบรบ Advance Cardiac Life Support ให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย คือ รพ.หนองจอก จำนวน 2 วัน (15, 22 ส.ค.51) และวางแผนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง



        7.  โครงการส่งเสริมสุขภาพและเผยแพร่ความรู้ด้านโรคหัวใจสู่สาธารณชน
          
           ศูนย์ตติยภูมิโรคหัวใจมีแผนงานในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดยวางแผนจัดการเสวนาวิชาการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรซึ่งวางแผนในการจัด 3 เดือน/ครั้ง อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

    
     ทิศทางการพัฒนาของศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจในสิบปีข้างหน้า   

       
1.  Human resource preservation, development & manintenance standard of care (การบำรุงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้อยู่ในระบบและมีการพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนและคงไว้ซึ่งมาตรฐาน ของการรักษาพยาบาลโดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า) ในบรรดาทรัพยากรทั้งหมด บุคลากรที่มีความชำนาญและเป็นคนดีย่อมมีค่ามากที่สุด และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องธำรงค์รักษาไว้ โดยใช้ระบบงานคุณภาพและข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งจากงานวิจัยและฐานข้อมูลหลัก มาจัดระบบงานให้เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อลดความเสี่ยง ไม่ให้เกิดความเครียดหรือหนักจนเกินไปมีการประเมินผล Competency เป็นระยะด้วยตัวชี้วัดที่ชัดเจนและให้การตอบแทนที่เหมาะสมตามภาระงานจริง เมื่อได้คนที่ดี  Competent และเต็มใจทำงาน ผลของงานย่อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยไม่ยาก และยังสามารถสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้น
         
      2.  Development of networking care in acute coronary syndrome (การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน) จากที่ประชุม สปสช. ได้มีการเสนอให้ศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นศูนย์หลักในการขยายหลอดเลือดหัวใจฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ทางเหนือจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโรงพยาบาลเครือข่ายที่จะ  refer คนไข้มาควบคู่กันไปโดยอาศัยกิจกรรมทางวิชาการนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น หากโรงพยาบาลเครือข่ายมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น มีการติดต่อประสานในการให้การรักษาในระยะแรกได้เร็วขึ้น จะทำให้การเสียเวลา อัตราตาย ค่าใช้จ่ายตลอดจนอัตราการครองเตียงลดลง เพราะเครือข่ายที่มีขีดความสามารถจะรับผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อได้
         
       3.  Primary prevention of coronary artery disease (การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเชิงรุก)  การรักษาหลอดเลือดหัวใจอุดตันเป็นการรักษาที่ปลายเหตุซึ่งนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทุกปี แล้วจำนวนผู้ป่วยมีแต่จะเพิ่ม ทั้งยังจะต้องเปิดคลินิกรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมาได้แก่ Heart Failure, anticoagulant clinic ฯลฯ หลักฐานการวิจัยในปัจจุบันทำให้เราทราบถึงปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคนี้ ที่น่าจะควบคุมได้ เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่) และยังสามารถหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้ในสิบปีข้างหน้าได้ด้วย (ผลงานวิจัยของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจันทรุเบกษา กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจตีบ ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา) ดังนั้นศูนย์ป้องกันและพัฒนาการรักษาโรคหัวใจจึงได้ริเริ่มโครงการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยจะเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล โดยจะทำการประเมินหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค (เป้าหมายคือกลุ่ม เบาหวาน metabolic syndrome  และผู้ที่มีความเสี่ยงเกินร้อยละ 10 ในสิบปีข้างหน้า) และลดความเสี่ยงนั้นลง ซึ่งถือเป็นการป้องกันโรคเชิงรุก (Primary prevention) ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เมื่อบุคลากรมีความรู้ในการป้องกันโรคก็จะขยายแนวความคิดไปสู่ครอบครัว และชุมชนที่ตนเป็นสมาชิกน่าจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบลดลงได้บ้าง

       4.  Development of atrial arrhytmia center โรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วเรื้อรัง (Chronic atrial fibrillation)  กำลังเป็นปัญหาทั่วโลก เพราะพบเพิ่มตามอายุ และเป็นสาเหตของหัวใจวาย และอัมพาตจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือเลือดออกในสมองจากยากันเลือดแข็งที่กิน ทำให้ทุพลภาพ ต้องมีคนดูแล มีค่าใช้จ่ายที่สูง และมีสถาบันที่มีขีดความสามารถรักษาโรคทั้งประเทศ ยังไม่เกินห้าแห่งและผลการรักษายังไม่เป็นที่แน่นอน ปัจจุบันในสหรัฐฯ สามารถรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลายวงจรที่ผิดปกติ ให้หายขาดได้ผลเกินร้อยละ 80 ทางศูนย์ฯ จึงได้ร่วมมือกับ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute, USA โดยความสนับสนุนของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี เพื่อพัฒนาเป็น Atrial arrhyhmic center ขึ้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมเครื่องมือ คาดว่าจะดำเนินการในกลางปี 2552 การรักษานี้นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดทุพลภาพลลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการพัฒนาการรักษาต่อยอดให้มีศักยภาพที่ใกล้เคียงกับในต่างประเทศด้วย
         
      5.  Research in sudden unexplained death syndrome (การพัฒนางานวิจัย เรื่องโรคใหลตาย) เพื่อหาทางที่จะวินิจฉัยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลก่อนเกิดอาการและหาแนวทางควบคุมโรคนี้ในอนาคต ทางศูนย์ฯได้ร่วมมือกับ Professor C. Anzelevit (Masonic Research Center, USA) ทำการศึกษาหาความผิดปกติทางพันธุกรรมของโรคใหล ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาที่ควบคุมยากในอนาคตอันใกล้ และร่วมมือกับ Pacific Rim Electrophysiology Research Institute, USA โดยความช่วยเหลือของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี หาทางรักษาโรคนี้โดยใช้คลื่นวิทยุทำลายจุดกำเนินของการเต้นพลิ้วของหัวใจ ซึ่งผลการรักษายังอยู่ในระหว่างการวิจัย


 
14/08/52

 
ศูนย์รักษาโรคมะเร็ง

 พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์มะเร็ง และอาคารสนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศ

   โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์มะเร็ง ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง เวลา ๐๙๐๙ โดยมี พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ณ บริเวณมนฑลพิธีอาคารศูนย์มะเร็ง

   ซึ่งอาคารหลังนี้จะประกอบไปด้วย หน่วยงานด้านรังสีรักษา เคมีบำบัด กองบริการโลหิต กองการพยาบาล ศูนยพัฒนาคุณภาพ ห้องสมุด ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์อาหาร และที่จอดรถจำนวน 150 คัน

 ภาพพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์มะเร็งและอาคารสนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศ

           โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเป็น 1 ใน 10 ของศูนย์มะเร็งระดับชาติที่ได้จัดตั้งขึ้น ซึ่งศูนย์มะเร็งทั้งหมดอยู่ในภูมิภาคต่างๆ
ของประเทศจำนวน 3 ศูนย์ และในกทม. 7 ศูนย์ ซึ่งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเป็นเพียงศูนย์เดียวที่ตั้งอยู่บริเวณทางภาคเหนือของกรุงเทพมหานคร
    ศักยภาพของโรงพยาบาล 

            ในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา จากผลของการปรับเปลี่ยนนโยบายการสาธารณสุขของประเทศ ที่เรียกว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค  ทำให้พฤติกรรมการสาธารณสุขของประชากรไทยเปลี่ยนไปจาก ยาขอหมอวาน มาเป็น ยาขอหมอต้องรับใช้ แพทย์จึงมีภาระงานมากขึ้นมาก ทำให้มีแพทย์ทยอยลาออกจากราชการและมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขึ้น การขาดแคลนแพทย์เกิดขึ้นอย่างรุนแรงโดยเฉพาะแพทย์ในหลายสาขารัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวได้พยายามแก้ปัญหาและวิธีหนึ่งที่ดำเนินการขึ้นมา คือการให้เงินสนับสนุนกับแพทย์ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการที่จะหยุดยั้งการลาออกของแพทย์ ได้มีการตั้งศูนย์การรักษาโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยคือ ศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์โรคหัวใจและศูนย์รักษาโรคมะเร็ง ในโรงพยาบาลตติยภูมิ ดังเอกสารของสปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่ สปสช. 11/4741  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ (พรพ.) ในปี 2545 มีความพร้อมในการที่จะดำเนินการเป็นศูนย์การรักษาตติยภูมิ จึงได้จัดตั้งศูนย์อุบัติเหตุ ศูนย์โรคหัวใจ และในวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ศูนย์โรคมะเร็งได้จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองภารกิจของ สปสช. ได้อย่างรวดเร็วโดยการปรับเปลี่ยนหน่วยงานที่ดูแลภารกิจดังกล่าวที่มีอยู่แล้ว คือ คณะอนุกรรมการมะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช มีสถานที่ๆ ก่อกำเนิดศูนย์มะเร็งที่ห้องประชุมรังสีรักษา ภายใต้การอำนวยการของ นาวาอากาศเอก วิศิษฐ ดุสิตนานนท์ (ยศ ขณะนั้น) รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นผู้ดูแล ได้แต่งตั้ง นาวาอากาศเอก วีระ สุรเศรณีวงศ์ (ยศ ขณะนั้น) เป็นผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

 

                คณะกรรมการดำเนินงานของศูนย์มะเร็ง ชุดแรก ประกอบด้วย นาวาอากาศเอก วีระ สุรเศรณีวงศ์ (ยศ ขณะนั้น)  เป็นผู้อำนวยการศูนย์ นาวาอากาศเอก เกษม วิจัยธรรม เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์  นาวาอากาศเอก เกษม วิจัยธรรม  เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ นาวาอากาศ เกษม จงศิริวัฒน์ เป็นเลขาธิการ และนาวาอากาศเอกหญิง ศันสนีย์ เอกเผ่าพันธุ์ เป็นเหรัญญิก และผู้อำนวยการกองต่าง ๆ เป็นกรรมการ ในเบื้องต้นมีเจ้าหน้าที่ประจำเป็นพยาบาล เพียง 3 ท่านคือ นาวาอากาศตรีหญิง นฤมล อินทรเสน นาวาอากาศตรีหญิง แว่นทิพย์ สำราญใจ และนาวาอากาศตรีหญิง สกุลพร  สมจิตรมูล 
                   
         คณะกรรมการศูนย์มะเร็งแตกต่างจากคณะอนุกรรมการมะเร็งที่แต่งตั้งในอดีต เนื่องจากต้องทำหน้าที่บริหารจัดการหน่วยงานที่ดูแลมะเร็งของโรงพยาบาลทั้งหมดอย่างเป็นองค์กร ต่างจากในอดีตที่แต่ละหน่วยงานดูแลรักษาเฉพาะในสายงานของตัวเอง ศูนย์มะเร็งทำหน้าที่บริหารจัดการดูแลการรักษาในทุกมิติ ให้การดูแลรักษามะเร็งทุกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานใช้ทรัพยากรอยางเหมาะสม ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  มีกิจกรรม 2 ลักษณะ ทั้งการบริหารและการบริการ
           
                 การบริหาร  ศูนย์มะเร็งมีหน้าที่จัดการให้แต่ละหน่วยงานที่ดูแลมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้ให้ความเห็น วางแนวทางการดูแลรักษา การแก้ปัญหา และการตัดสินปัญหาร่วมกันอยางใกล้ชิด เป็นระบบ โดยผ่าน tumor board
 
             ศูนย์มีหน้าที่ในการบริหารการเงิน ซึ่งเป็นภาระใหม่ เนื่องจากสปสช. ได้ให้เงินสนับสนุนแก่แพทย์ผู้ดูแลรักษาโรคมะเร็งเพื่อเป็นการจูงใจแก่แพทย์ ในปีพ.ศ. 2548  สปสช. ได้ให้เงินสนับสนุนแก่ศูนย์ต่าง ๆ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้รับ 1,066,700.00 บาท  ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เงินดังกล่าวควรที่ผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แพทย์ เช่น พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ฟิสิกส์  ที่ดูแลการฉายรังสี ฯลฯ เป็นต้น ควรที่จะได้มีส่วนในการได้รับผลตอบแทนดังกล่าวนี้ด้วย จึงได้เสนอไปยัง สปสช. พร้อมรูปแบบการกระจายจ่ายแจกด้วยหลักการที่ว่า จ่ายตรงส่งถึงผู้ที่ดูแลผู้ป่วยทุกส่วน และสร้างความเป็นธรรมกับการบริหารการเงินอย่างดียิ่ง จนเป็นแบบอย่างให้กับศุนย์มะเร็งต่าง ๆ และในที่สุด สปสช. ก็ได้นำหลักดังกล่าวไปเป็นระเบียบการบริหารการเงินแก่ศูนย์มะเร็งแห่งอื่นด้วย
         
               การบริการ ศูนย์มะเร็งได้ให้บริการเคมีบำบัดแบบไม่ต้องพักค้างในโรงพยาบาล (Day care chemotherapy หรือambulatory chemotherapy) ขึ้นที่ หอผู้ป่วย 10/2 ซึ่งทางศูนย์มะเร็งได้รับมอบหมายให้เป็นที่ทำการ จากเดิมที่ต้องอาศัยห้องประชุมของอาคารรังสีรักษาอยู่ 2 ปี เพื่อให้การบริหารยาเคมีบำบัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ป่วย ทางศูนย์มะเร็งได้รวมศูนย์การผสมยาเคมีบำบัดไว้ในที่ดียวกันภายในศูนย์มะเร็ง จากในอดีตที่จะผสมยากันในแต่ละหอผู้ป่วย   รวมทั้งที่แผนกรังสีรักษาภายใต้เภสัชกรผู้บุกเบิกการบริหารดำเนินงาน     นาวาอากาศเอกหญิงศิริพร สงวนประสาทพร  ผู้อำนวยการกองเภสัชกรรม ทำให้การบริหารยาเคมีบำบัดรวมศูนย์เกิดขึ้นที่ชั้น 10/2 และมีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม และที่ไม่อาจจะเว้น กล่าวถึงคือการประหยัดค่ายาและเวชบริภัณฑ์อย่างมาก ด้วยภาระงานที่มากขึ้นในการเป็นศูนย์ตติยภูมิรักษาดูแลโรคมะเร็ง ศูนย์มะเร็งจัดทำกิจกรรม Tumor board เป็นการประชุมทึ่จัดขึ้นทุกวันพฤหัสบดี โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกสาขามาร่วมประชุมโดยทางศูนย์ได้อำนวยความสะดวกในเรื่องอาหาร สถานที่และเบี้ยประชุม
           
               Tumor board  เป็นจุดเด่นของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช คณะกรรมการบริหารศูนย์มะเร็งได้จัดตั้ง Tumor board เพื่อที่จะเป็นแหล่งรวมผู้ชำนาญการรักษามะเร็งในทุกสาขา เพื่อจะเป็นองค์กรที่จะช่วยในการวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง และเป็นเวทีที่จะให้คำปรึกษาหารือ การรักษาโรคมะเร็ง และเป็นที่ ๆ จะขอการปรึกษา การรักษาผู้ป่วยได้อย่างประสิทธิภาพ และรวดเร็วเนื่องจากมีการประชุมทุกสัปดาห์ ในวันพฤหัสบดี เป็นกิจกรรมที่ทำให้งานการรักษาดูแลมะเร็งของโรงพยาบาลก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยมะเร็งได้รับการวางแผน การรักษาที่กระชับการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว จากที่ต้องใช้เวลาเป็นวัน ๆ ก็เป็นภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังเป็นที่ ๆ ให้การเยนการสอนอย่างดีกับแพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาแพทย์ที่จะมาฟังมาดูการแก้ปัญหา และเนื้อหาวิชาการมะเร็งได้ที่ Tumor board เพราะมีผู้เชี่ยวชาญแทบทุกสาขามาประชุมร่วมกัน ได้รับคำชมจากหน่วยงานอื่น ๆ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอกตลอดมา
            
              ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 หรือ 1 ปีหลังจากก่อตั้งศูนยมะเร็ง ผู้บริหารศูนย์ได้ริเริ่มกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองในผู้ป่วยมะเร็ง ผู้บริหารศูนย์ได้ริเริมกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองในผู้ป่วยมะเร็ง หรือที่เรียก self help group เป็นการชักนำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในการที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยด้านคุณภาพชีวิตและจิตวิญญาณ การดำเนินกิจกรรม ก้าวรุดหน้าไปด้วยดี และเป็นประโยชน์อยางมากต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง เป็นที่สนใจและสนับสนุนของ สปสช. นำไปพัฒนาปรับปรุงดัดแปลง เป็นแผนปฏิบัติของศูนย์มะเร็งอื่น ๆ และปรับปรุงพัฒนาเป็นหน่วยงานมิตรภาพบำบัดที่กำลังก้าวหน้าไปอย่างเป็นระบบ ซึ่งในอนาคตชุมชนจะเข้ามามีส่วนอย่างสำคัญในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งทั้ง ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ อันจะเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้อย่างมาก เนื่องจากชุมชนและหน่วยงานของรัฐเข้าใจกันและช่วยจุนเจือซึ่งกันและกัน
 
            ศูนย์มะเร็งได้ปฏิบัติงานก้าวหน้าไปได้ดียิ่ง มีผลงานทั้งทางวิชาการและทางบริการ ออกมามากมาย สปสช. ได้ตระหนักในการดำเนินงานของศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จึงได้เพิ่มเงินสนับสนุนแก่ศูนย์ในปีต่อมาอีกประมาณเท่าตัว ขณะเดียวกันผู้บริหารโรงพยาบาลก็ได้ให้พื้นที่แก่ศูนย์มะเร็งที่ชั้น 10/2 และได้ปรับแต่งสถานที่ให้มีความสะดวกทันสมัยและสวยงาม
 
            ในวันที่ 2 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2549 ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลได้เปลี่ยนผู้บริหาร เนื่องจาก พลอากาศตรี วีระ สุรเศรณีวงศ์ ได้ย้ายโดยไปถวายงาน ปฏิบัติหน้าที่นายแพทย์ราชสำนักประจำพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร และมีการปรับโครงสร้างเพื่อตอบรับกับภาระงานที่เพิ่มและสลับซับซ้อนมากขึ้นโดยมี พลอากาศตรี การุณ เก่งสกุล เป็นประธานกรรมการศูนย์ฯ และนาวาอากาศเอก เกษม วิจัยธรรม เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ กิจการของศูนย์ก้าวรุดหน้า ปริมาณงานและผู้ที่มาดูงานที่เพิ่มมากขึ้น นับว่าทำให้ศูนย์มะเร็งเป็นห่วยงานที่ น่าภาคภูมิใจของโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ของศูนย์
 
            จากการเติบโตของปริมาณงานและกิจกรรมของศูนย์มะเร็งทำให้กรมแพทย์ทหารอากาศโดยเจ้ากรมแพทย์   พลอากาศโท อภิชาติ  โกยสุขโข และผู้อำนวยการโรงพยาบาล พลอากาศตรี ศรีชัย ชัยพฤกษ์ ได้ร่วมกันทำแผนก่อสร้างอาคารศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  เพื่อเป็นการตอบรับต่อการเจริญเติบโตของภารกิจของศูนย์มะเร็ง บริเวณตึกโคบอลล์หรืออาคารรังสีรักษาเดิม เป็นอาคาร 5 ชั้น ในเบื้องต้นจะดำเนินการก่อสร้างในปีพ.ศ. 2553
 
 
           ศักยภาพในด้านการรักษาพยาบาลโรคมะเร็ง มีหน่วยรักษาพยาบาล และแพทย์ครบทุกสาขาที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง เช่น รังสีรักษา รังสีวินิจฉัย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ พยาธิแพทย์ ศัลยแพทย์สาขาค่าง ๆ อายุรแพทย์โรคมะเร็งและโรคเลือด และเนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อน จึงต้องมีความพร้อมของแพทย์สาขาอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้แก่ อายุรแพทย์โรคไต โรคหัวใจ และโรคติดเชื้อ
 
             คุณภาพการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบ้น
      ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต่างๆ
         
o       การตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรก เช่น  เครื่องตรวจเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) , เครื่องอัลตร้าซาวน์ ,
                    เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ , ห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา
         
o        เครื่องฉายแสง (Linear Accelerator) , ระบบวางแผนการรักษา (Planning System) ,
                    เครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือด  ซึ่งสามารถให้การรักษาแบบรังสีร่วมรักษา
(Interventional Radiology)
         
o        ห้องผสมยาเคมีบำบัดที่ได้มาตรฐาน   ทำให้สามารถให้บริการได้ผู้ป่วยได้ครบวงจรอย่างรวดเร็ว
 
   การพัฒนาบุคลากร

               มีการพัฒนาบุคลากรทุกสาขาทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยมะเร็ง เช่น การจัดตั้งทีมดูแลผู้ป่วยมะเร็ง  ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็งร่วมกัน , จัดตั้งทีมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย , มีการพัฒนาองค์ความรู้ เช่น การฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ

  

       ผลงานที่ผ่านมา     สามารถให้บริการผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี (สถิติผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปี 49 )

            ผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่                                           899      คน

            ให้บริการรักษาผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอก                     11,672      ครั้ง

            ให้บริการรักษาผู้ป่วยแบบผู้ป่วยใน                          2,762      ครั้ง

            กิจกรรมการรักษา

            เคมีบำบัด                                                            4,008      ครั้ง

            รังสีรักษา                                                            4,843      ครั้ง

            การผ่าตัดและอื่นๆ

 
แผนการพัฒนา   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของโรค เช่น เพิ่มห้องผสมยาเคมีบำบัดที่มีมาตรฐาน ,จัดหน่วยให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care) , พัฒนาหน่วยรังสีรักษา พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย  รองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น  เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว  จึงจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาสถานที่และอุปกรณ์ให้เพียงพอและทันสมัย  นอกจากนี้ยังต้องมีการพัฒนาบุคลากรควบคู่กันไป

14/08/52

   

 

 
        หน่วยโรคไต ได้ริเริ่มให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Renal Replacement Therapy, CRRT)  ในผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นสถาบันแรกๆ ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2541   และปัจจุบันเป็นสถาบันที่มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการทำ CRRT มากที่สุดแห่งหนึ่งจนได้รับการยอมรับเป็นสถาบันชั้นนำในการรักษาโดยวิธีนี้ 
     
นอกจากนั้นยังได้ร่วมกับกองศัลยกรรมพัฒนาการปลูกถ่ายไตอย่างต่อเนื่อง

             
         ปัจจุบันมีการผ่าตัดปลูกถ่ายไตไปแล้วกว่า 70 ราย รวมทั้งมีการพัฒนาการดูแลรักษาด้านการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียม(hemodialysis) และการล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) ให้มีความทันสมัยจากการพัฒนาของหน่วยโรคไตจนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศนี้เอง ทำให้ในปี 2550 ผู้บริหารของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชได้สนับสนุนให้หน่วยโรคไตเป็น excellent center ของโรงพยาบาลอีกศูนย์หนึ่ง 
 
 
17/08/52
 

 
   หน้า 1/1