โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
 
กรณีผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ“สูญเสียอวัยวะ,ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง”ประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร?

 28 ก.ย. 2563 | 11:39:59

กรณีผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ“สูญเสียอวัยวะ,ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง”ประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองอย่างไร?

หลายครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถขึ้น ความสูญเสียที่ผู้ประสบภัยได้รับนั้นอาจส่งผลเสียการใช้ต่อชีวิตที่เหลืออยู่ เหตุเพราะจากการเกิดอุบัติเหตุนั้นอาจทำให้ต้อง สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ผู้ประสบภัยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามประกันภัย พ.ร.บ.เพราะรถคันที่ก่อเหตุไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. แต่ถ้ารถมีประกันภัย พ.ร.บ. เมื่อมีผู้ประสบภัยที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ประกันภัย พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองดังนี้

1.กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท ต่อหนึ่งคน

2.กรณีสูญเสียมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนสองข้าง หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาสองข้าง หรือตาสองข้าง (ตาบอด) บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท ต่อหนึ่งคน

3.กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ แขนหนึ่งข้าง เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า ขาหนึ่งข้าง สายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน

4.กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน

5.กรณีสูญเสียมือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือแขนหนึ่งข้าง หรือเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือขาหนึ่งข้าง หรือสายตาหนึ่งข้าง (ตาบอด) กรณีใดกรณีหนึ่ง บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท ต่อหนึ่งคน

6.กรณีหูหนวก เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000บาท ต่อหนึ่งคน

7.กรณีสูญเสียอวัยวะอื่นใด นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน ข้อ 2,3,5,6 และ 8 ซึ่งการสูญเสียหรือการถูกทำลายลงแล้วนั้นจะกระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขของผู้ประสบภัย เช่น การสูญเสีย ม้าม ปอด ตับ ไต หรือฟันแท้ทั้งซี่ ตั้งแต่ 5 ซี่ขึ้นไป หรือกรณีกะโหลกศีรษะถูกทำให้เสียหายเป็นเหตุให้ต้องใช้กะโหลกเทียม  เป็นต้น บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 250,000บาท ต่อหนึ่งคน

8.กรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไปไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000บาท ต่อหนึ่งคน หมายถึงการสูญเสียหรือการถูกทำลายของนิ้วไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือหรือนิ้วเท้า ไม่ว่าจะกี่นิ้วก็ตาม โดยถูกตัดออกตั้งแต่ข้อหนึ่งขึ้นไปเป็นสำคัญ

ดังนั้นการมีประกันภัย พ.ร.บ.จึงถือเป็นการสร้างหลักประกันและสร้างความมั่นใจอุ่นใจในการเดินทางได้ว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ที่ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้

อุบัติเหตุจากรถโทรแจ้งเหตุหรือสอบถามความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. ได้ที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

 
พรบ. มอเตอร์ไซค์ ให้ความคุ้มครองอย่างไร
  • พรบ. มอเตอร์ไซค์ ให้ความคุ้มครองอย่างไร


บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
เกิดอุบัติเหตุจากรถรีบแจ้งบริษัทกลาง/บริษัทประกันภัยทันที
  • เกิดอุบัติเหตุจากรถรีบแจ้งบริษัทกลาง/บริษัทประกันภัยทันที
  • ติดต่อ บริษัทกลางฯ 1791 ตลอด 24 ชม. www.rvp.co.th

 
 
ตรวจสอบอย่างไรว่าเป็นกรมธรรม์ พ.ร.บ. จริง

ประชาชนจะตรวจสอบอย่างไรว่าเป็นกรมธรรม์ พ.ร.บ. จริง


http://www.rvp.co.th/phony_T_detail.php

  ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :: อ่านต่อ
 
การเบิกประกันภัย พ.ร.บ.

 http://www.rvp.co.th/makingaclaim.php

-------------------------------------------------------------------------

 
เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร-สูญเสียอวัยวะ

เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร-สูญเสียอวัยวะ

  • เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร สามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ 300,000 บาท "ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง 35,000 บาท"
  • สูญเสียอวัยวะ คุ้มครองตั้งแต่ 200,000 บาทถึง 300,000 บาท เป็นไปตามเงื่อนไข ตามอัตราที่กำหนด "ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง 35,000 บาท"
  • โทร. 1791

---------------------------------------------------------------------------

 
เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย กรณีบาดเจ็บ-นอนรักษาตัวใน รพ.

เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย กรณีบาดเจ็บ-นอนรักษาตัวใน รพ.

  • บาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ สูงสุด ไม่เกิน 80,000 บาท "ยกเว้นผู้ขับขี่ ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท"
  • นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถเบิกค่าชดเชยได้ วันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน "ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด"

 โทร. 1791

------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย

เจ็บจากรถ หมดกังวล พ.ร.บ.จ่าย

  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนนผู้ประสบภัยจากรถทุกคน (ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ / ผู้โดยสาร /คนเดินถนน) หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทุกคนจะได้รับการคุ้มครองตาม "พ.ร.บ."
  • โทร. 1791

-----------------------------------------------------------------------------

 
ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย)

อ่านต่อ--->> http://www.rvp.co.th/ClaimQA.php

--------------------------------------------------------------------------------

 
วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน

1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน  30,000 บาท
2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
    1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท

หมายเหตุ ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการ และจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ  (ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2547)

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต

  • ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
  • กรณีบาดเจ็บ  จ่ายค่ารักษาพยาบาล  สูงสุดไม่เกิน    80,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย  300,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน
  • กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)

 
รู้จักประโยชน์ของ พรบ. เบิกอะไรได้บ้าง คุ้มครองแค่ไหน เมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุ
  • คนที่ใช้รถใช้ถนนไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ ทุกปีสิ่งที่เราจะต้องไปทำก็คือการต่อภาษี และต่อ พรบ. ซึ่งสำหรับบางคนอาจจะมีความสงสัยต่อป้ายภาษีน่ะเข้าใจ แต่ พรบ. ว่าต่อไปทำไมไม่เคยได้ใช้ประโยชน์สักที เปลืองเงินเปล่า ๆ

 

 
สิทธิจากการคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ของรถ

นำความรู้มาฝาก

  • เวลาเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ การรักษาพยาบาลลำดับแรก คือ ต้องใช้สิทธิจากการคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ของรถก่อนทุกครั้ง

ที่มา : คปภ.

---------------------------------------------------------------------

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   หน้า 1/2