โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
 
 
 

คำถาม : ไม่มี พ.ร.บ.
รายละเอียด : ผู้ประสบภัยขี่จักยานยนต์ไม่มีพ.ร.บ. โรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงินจากใครใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าผู้ประสบภัยจ่ายเงิน จะเรียกเงินคืนได้จากที่ใดหรือไม่
 
คำตอบ : ผู้ประสบภัยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. สามารถไปใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น(ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000บาท) ได้จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ (ซึ่งก็คือกรมการประกันภัย และสำนักงานประกันภัยจังหวัดทั่วประเทศ) ในกรณีที่เป็นสถานพยาบาลต้องให้ผู้ประสบภัยเซ็นมอบอำนาจให้ในใน บ.ต.๒ ด้วย สำหรับเอกสารประกอบที่ต้องใช้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ และสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากรถไม่มีประกันภัย กองทุนจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐานฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย และผู้ขับขี่ฐานนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้อีกคนละไม่เกิน 10,000 บาท
คำถาม : หลักฐานการขอเบิกค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น
รายละเอียด : กรณี นาย ก. ขับขี่รถจักรยานยนต์ เฉี่ยวชนรถยนต์ที่จอดอยู่ข้างถนน แล้วรถจักรยานยนต์ล้มลง นาย ก. ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย นาย ข. เป็นผู้ซ้อนท้าย ได้รับบาดเจ็บสาหัส (ขาหัก) พนักงานสอบสวนไปตรวจสถานที่เกิดเหตุและลงประจำวันไว้ และระบุว่า นาย ก. เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท แต่มิได้ทำการเปรียบเทียบปรับ ต่อมานาย ก. และนาย ข. ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตามประกันภัย พ.ร.บ. ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ นาย ข. มีความประสงค์ที่จะขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มเติม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก พอไปติดต่อกับบริษัทที่รับประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ก็ได้รับแจ้งว่า ต้องนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ นาย ก. ว่าขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประมาท มาแสดงก่อน จึงจะดำเนินการให้ได้ เมื่อไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อขอหลักฐานการเปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนก็ไม่ออกให้ กรณีเช่นนี้ นาย ข. ควรจะดำเนินการอย่างไรจึงจะขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทรับประกันภัยได้ครับ

คำตอบ : ต่อกรณีดังกล่าวนั้นอยากทำความเข้าใจในขั้นแรกนี้คือ ค่าเสียหายเบื้องต้นนั้นเป็นการจ่ายโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครเป็นฝ่ายผิดจะเห็นได้จากคำถามนั้นทางบริษัทได้ทำการจ่ายให้ไปก่อน ส่วนค่าเสียหายส่วนเกินจากเบื้องต้นนั้น ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายได้ต่อเมื่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความรับผิดของผู้ขับขี่รถประกันภัยดังนั้นจากคำถาม นาย ข จะเบิกค่าเสียหายส่วนที่เกินจากเบื้องต้นนั้นจึงต้องมีเอกสารที่แสดงถึงความผิดของนาย ก ซึ่งเป็นผู้ขับขี่ตามที่ผมได้เรียนให้ทราบแล้ว และหลักฐานที่สามารถแสดงได้คือ 1.ประจำวันที่มีการเปรียบเทียบปรับแล้ว หรือ 2. บันทึกประจำวันที่ไม่มีการเปรียบเทียบปรับแต่ผู้ต้องหาให้การสารภาพยอมรับว่าเป็นความผิด(เพราะบางคดีนั้นพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ) หรือ 3.บันทึกยอมรับผิดของผู้ขับขี่รถที่ได้ทำขึ้นกับทางบริษัทประกันภัย ทั้งสามกรณีหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถนำไปแสดงเพื่อขอรับค่าเสียหายส่วนเกินเบื้องต้นได้แล้ว...อย่างก็ตามบริษัทประกันภัยเองก็ควรมีการตรวจสอบหรือสอบสวนถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่าผู้ขับขี่รถประกันภัยของตนเองนั้นเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ซึ่งหากพฤติการแห่งคดีชี้ชัดว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายประมาทก็สามารถชดใช้ส่วนเกินนั้นได้แล้ว
คำถาม : เคลมประกันได้หรือไม่กรณีผู้ขับไม่มีใบขับขี่
รายละเอียด : 1.เช่ารถยนต์เก๋งมาไม่มีสัญญาใดๆมีเพียงการจ่ายเช็คในนามเจ้าของรถผู้เช่าขับไม่มีใบขับขี่ 2.เกิดอุบัติเหตุขับชนท้ายรถพ่วง 04.30 น.จนท.ตร.แจ้งว่าเป็นผู้ผิด 3.รถยนต์คันที่ขับไปชนมี พรบ.ประเภท1 4.เจ้าของรถพ่วงไม่เอาเรื่องและตำรวจให้ทำบันทึกยอมความต่างคนต่างซ่อมแล้วปล่อยรถพ่วงไป อย่ากทราบว่า 1.ใครจะต้องร่วมจ่ายค่าเสียหายในการซ่อมรถยนต์คันที่เช่า 2.เคลมประกันได้หรือไม่

คำตอบ : สวัสดีครับคุณสุกรี สำหรับคำถามของคุณสุกรีในข้อนี้ มิสเตอร์พ.ร.บ.จะขอตอบอย่างนี้นะครับว่า ถ้าหากผู้ขับขี่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ กรมธรรม์ภาคสมัครใจประเภทที่ 1 จะไม่คุ้มครองความเสียหายของตัวรถที่ทำประกันถ้าหากขณะเกิดอุบัติเหตุนะครับ และผู้เช่าที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายของตัวรถคันดังกล่าวด้วยนะครับ ซึ่งบริษัทประกันภัยจะไม่รับผิดชอบในส่วนนี้ ผู้เช่าที่เป็นผู้ขับขี่และเป็นผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายดังกล่าวเองครับ มิสเตอร์ พ.ร.บ.คงต้องขอตอบคำถามคุณสุกรีเพียงเท่านี้นะครับ สวัสดีครับ
คำถาม : รถยกเว้น
รายละเอียด : ถ้ารถนั้นเป็นรถยกเว้นไม่ต้องทำ พ.ร.บ.เมื่อชนแล้วมีผู้บาดเจ็บใครจ่ายค่าเสียหายคะแล้วถ้ากองทุนทดแทนจ่ายให้แล้วไล่เบี้ยเรียกเก็บกับหน่วยงานนั้นหรือเปล่าเช่นรถบัสของทหาร แล้วผู้โดยสารที่บาดเจ็บจะได้วงเงินคุ้มครองถึง 50,000และ80,000บาท เหมือนรถที่ทำ พ.ร.บ.หรือไม่ แล้ใช้เออกสารใดบ้างในการขอรับเงิน

คำตอบ : ถ้าได้รับบาดเจ็บจากรถยกเว้น ผู้ประสบภัยจากรถจะต้องเรียกร้องจากผู้ขับขี่หรือหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นโดยตรง หากผู้ขับขี่หรือหน่วยงานดังกล่าวปฎิเสธการจ่าย ผู้ประสบภัยก็สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น (ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริงไม่เกิน 50,000 บาท หรือค่าปลงศพ 35,000 บาท) ได้จากกองทุนทดแทนฯ เอกสารที่ใช้ได้แก่ 1.เอกสารแสดงตน เช่นบัตรประชาชน 2.ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล 3.บันทึกประจำวันของ จนท.ตำรวจ (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วยประกันภัย 1186)
คำถาม : เบิกได้กี่ครั้ง
รายละเอียด : ถูกรถชนขณะเดินไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วค่ารักษาโรงพยาบาลเรียกเก็บกับบริษัทประกันรถคันที่ชน 10,000 บาท ต่อมาแพทย์นัดมีค่าใช้จ่ายอีกเอาไปเบิกได้หรือไม่  เบิกได้อีกไม่เกินวงเงินเท่าไร  มีระยะเวลาสิ้นสุดหรือไม่แพทย์นัดทุกเดือน และถ้าอีก 2เดือนต่อมาแผลไม่ดีแพทย์นัดผ่าตัดใหม่จะใช้สิทธ์ พ.ร.บ.ฯได้อีกหรือไม่

คำตอบ : ในกรณีนี้ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวเนื่องจากอุบัติเหตุจากรถ โดยไม่ได้จำกัดจำนวนครั้ง แต่จะจำกัดค่ารักษาพยาบาลรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท หากปรากฏว่ารถคันที่ชนนั้นเป็นฝ่ายผิด ซึ่งตามปกติหากรถชนคนเดินถนน ก็มักจะผิดอยู่แล้วครับ แต่หากรถคันนั้นไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ก็สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15.000 บาท
คำถาม : ระยะเวลายื่นขอค่าสินไหมทดแทนเบื้องต้น
รายละเอียด : ขอบคุณมากนะคะที่ให้คำตอบ  อยากถามเพิ่มเติมอีกว่าระยะเวลายื่นขอค่าสินไหมทดแทน นอกเหนือจากค่าเสียหายเบี้องต้นมีกำหนดระยะเวลาเท่าไร  และเอกสารที่คุณตอบมาในข้อที่แล้ว  มีครบหมดแล้ว  นอกเหนือจากสำเนาถ่ายเอกสารรายงานผลคดีสิ้นสุดที่สถานีตำรวจ  คู่กรณีเป็นฝ่ายผิด  เหตุเกิดเมื่อต้นเดือน  กรกฎาคม   46  และผลคดีสิ้นสุดเมื่อ  สิ้นเดือน  กันยายน  2546  ขอทราบคำตอบด้วยนะค่ะ

คำตอบ :
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันวินาศภัยมีกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882) กรณีของคุณผู้ประสบภัย เกิดเหตุต้นเดือนกรกฎาคม 2546 จึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมจากบริษัทประกันภัย ภายในต้นเดือนกรกฎาคม 2548 ครับ
คำถาม : รถซาเล้ง ต้องทำ พ.ร.บ. หรือไม่
รายละเอียด
: รถซาเล้ง ต้องทำ พ.ร.บ.หรือไม่คะ เพราะมีผู้ประสบภัยจากรถ ขี่ซาเล้งที่ดัดแปลงมาจากรถจักรยานยนต์ ตกถนน บาดเจ็บเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  จะขอใช้สิทธิ บัตรประกันสุขภาพถั้วนหน้าต่อ  แต่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หมวด 1 มาตรา 12 ให้ใช้สิทธิ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อน  กรณีนี้ เข้าข่ายเรียกเก็บที่กองทุนทดแทนได้หรือไม่  เคยสอบ โทร.ถามที่กรมการประกันภัย แล้ว จนท. ถามว่า รถนั้นอยู่ในระบบขนส่งหรือไม่ เลยตอบว่าเป็นรถเก่า  ไม่มีทะเบียน ทาง จนท.จึงตอบว่าไม่เข้ากรณ๊ต้องทำ พ.ร.บ. ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ กรุณาชี้แจงให้หายสงสัยด้วยนะคะ  และอีกกรณีคือรถชอปเปอร์ เจ้าของรถอ้างว่า รถโบราณ  ไม่มีทะเบียน  จึงไม่ทำ พ.ร.บ. กรณีนี้ เจ้าของรถผิด ตาม พ.ร.บ. ขนส่งหรือไม่และรถคันนี้ต้องทำ พ.ร.บ.หรือไม่  ขอบคุณค่ะ  

คำตอบ : สวัสดีครับ
สำหรับคำถามนั้น มิสเตอร์ พ.ร.บ. ได้ค้นหาคำตอบมาได้แล้วครับ
    
รถจักรยานยนต์ที่ดัดแปลงมาจากรถซาเล้ง ไม่ถือเป็นรถตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 5 (ค)  แต่ถือเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 “รถ” และรถจักรยานยนต์”  และต้องจัดให้มีการจดทะเบียนด้วยตาม มาตรา 6      เนื่องจากรถจักรยานยนต์ที่ดัดแปลงมาจากรถซาเล้งนั้น เป็นรถที่มีไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และหากจดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ 5 เมษายน 2536   ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  อนุโลมให้เจ้าของรถดังกล่าวไม่ต้องจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน (นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2536) ซึ่งจะครบในวันที่ 22 มีนาคม 2538  ฉะนั้น ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2538 รถประเภทนี้จำต้องจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ  ทุกคัน เพราะสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันตามกฎกระทรวง  หากฝ่าฝืนมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 37 มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเมื่อนำไปใช้ด้วยย่อมมีความผิดตาม มาตรา 39 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท อีกกระทงหนึ่งด้วยเช่นกัน   ดังนั้น หากรถคันดังกล่าวเกิดเหตุและมีผู้บาดเจ็บ ก็ต้องดูว่ามีการจัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ หรือไม่  หากไม่จัดทำก็สามารถใช้สิทธิกับกองทุนทดแทนได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 23
    
กรณีรถชอปเปอร์นั้น ถือเป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 “รถ” และรถจักรยานยนต์”  และต้องจัดให้มีการจดทะเบียนด้วยตาม มาตรา 6 หากฝ่าฝืนมีความผิดตาม มาตรา 59 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท  เว้นแต่เป็นรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ตาม มาตรา 8  ฉะนั้น การที่เจ้าของอ้างว่าเป็นรถโบราณ ไม่มีทะเบียน จึงไม่ถูกต้อง เพราะรถโบราณมิได้เป็นรถที่ได้รับการยกเว้นมิให้จดทะเบียน  เว้นแต่เจ้าของรถแจ้งการไม่ใช้รถ ตาม มาตรา 8 (4)  ซึ่งหลักเกณฑ์แจ้งการไม่ใช้รถเป็นไปตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2524) ออกตามความ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522  คือต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จดทะเบียนไว้ และ ให้มีผลใช้ได้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี เว้นแต่เป็นการแจ้งการไม่ใช้รถตลอดไป  ดังนั้น เมื่อรถชอปเปอร์เป็นรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ จึงต้องมีการจัดทำประกันภัย เมื่อฝ่าฝืนไม่ทำย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ และมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ด้วยครับ (เหตุผลเช่นเดียวกับซาเล้งที่ดัดแปลงมาจากรถจักรยานยนต์)
คำถาม : ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซด์คว่ำ ขาหัก ไม่มีคู่กรณี
รายละเอียด : ประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซด์คว่ำ ขาหัก ไม่มีคู่กรณี จะสามารถขอเบิกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ และต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง

คำตอบ :
สวัสดีครับ ในกรณีที่รถคันที่เกิดอุบติเหตุมีประกันภัยพรบ. สามารถขอรับค่าสินไหมทดแทนได้จากบริษัทที่รับประกันภัยไว้ โดยนำเอกสารต่อไปนี้ไปขอรับค่าสินไหมทดแทนคือ
1.  สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุหรือป้ายวงกลม
2.  กรมธรรม์ประกันภัยหรือเครื่องหมายพรบ.
3.  แจ้งการเกิดอุบัติเหตุกับสถานีตำรวจที่เกิดเหตุและขอคัดบันทึกประจำวันที่เจ้าพนักงานลงบันทึกการเกิดเหตุ 
นำเอกสารทั้งหมดข้างต้นไปติดต่อขอรับค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทที่รับประกัยภัยไว้ หรือมาติดต่อที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทุกสาขาใกล้บ้านทั่วประทศ หรือโทร 1356
ข้อมูลจาก บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
13/11/2552

 
 

 
 
        1. อุบัติเหตุจากรถที่มีการทำประกันภัย พรบ.ใช้เอกสารดังนี้
 

  1.  สำเนากรมธรรม์ หรือ เครื่องหมายแสดงการทำประสบภัยจากรถ
  2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารการแสดงตนที่ทางราชการออกให้

  3.  ขูดเลขตัวถังรถ 4 ชิ้น
  4.  สำเนารายการจดทะเบียนหรือสัญญาซื้อ-ขาย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย

  5.  สำเนาบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวนที่ระบุรายละเอียดดังนี้

           -  เวลา  วันที่  เดือน  สถานที่เกิดเหตุ
           -  ชื่อ
– สกุล ของผู้ประสบภัย
           -  สถานะของผู้ประสบภัยในขณะเกิดเหตุเช่น คนขับ , ผู้โดยสาร, คนเดินเท้า
           -  ลักษณะการเกิด เช่น รถชนกับอะไร, รถคว่ำเอง, ชนคนเดินเท้า หมายเลขทะเบียน หรือ เลขตัวถังของ
                   รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย
          
-  สำเนาบันทึกประจำวันทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองเอกสารจากพนักงานสอบสวน จึงจะสามารถ
                   นำมาใช้การได้

  6.  สำเนาใบเสร็จรับเงิน (จำนวนเงินที่ได้จ่ายค่ารักษาไปก่อนที่จะมาขอใช้สิทธิ พรบ.)
  7.  ใบรับรองแพทย์ (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา)

  8.  ใบ 4 ขั้นตอน พรบ. (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา)

 

        2. อุบัติเหตุจากรถ  กรณีไม่มีประกันภัย พรบ.ดำเนินการดังต่อไปนี้
 
  1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารการแสดงตามที่ทางราชการออกให้
  2.  สำเนารายการจดทะเบียนหรือสัญญา ซื้อ ขาย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย กรณีไม่มีเอกสาร
           ตามข้อ 2 ให้แจ้งความลงบันทึกประจำวันระบุว่าใครคือเจ้าของ หรือผู้ครอบครองรถคันดังกล่าว
  
3.  สำเนาบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวน รับแจ้งเกี่ยวกับคดีที่ระบุรายละเอียด ดังนี้
           -  เวลา วันที่ เดือน ปี สถานที่เกิดเหตุ  ต้องลง ตำบล อำเภอ จังหวัดด้วย
           -  ชื่อ
– สกุล ของผู้ประสบภัย
           -  สถานะของผู้ประสบภัย ในขณะเกิดเหตุ เช่น คนขับ , ผู้โดยสาร, คนเดินเท้า
           -  ลักษณะการเกิดเหตุ เช่น รถชนกับอะไร , รถคว่ำเอง , ชนคนเดินเท้า
           -  หมายเลขทะเบียน หรือเลขตัวถังของรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย
           -  สำเนาบันทึกประจำวันทุกฉบับ ต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองเอกสารจากพนักงานสอบสวน จึงจะสามารถ
                   นำมาใช้การได้
           -  กรณี ถ้าผู้ป่วยไม่ใช่เจ้าของรถจะต้องลงเพิ่มเติมด้วยว่า ใครเป็นเจ้าของรถและรถไม่ได้จัดทำประกันภัย,
                   เจ้าของรถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษา , ตำรวจหรือญาติติดต่อเจ้าของรถแล้วแต่ไม่สามารถมาชำระเงินได้
  4.  สำเนาใบเสร็จรับเงิน (จำนวนเงินที่ได้จ่ายค่ารักษาไปก่อนที่จะมาขอใช้สิทธิ พรบ.
  5.  ใบรับรองแพทย์ (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา)
  6.  ใบ 4 ขั้นตอน พรบ. (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา)
 
         3. อุบัติเหตุจากรถ กรณี เป็นบุคคลเดินเท้าถูกรถชน  แล้วคู่กรณีหลบหนี  หรือเป็นผู้ประสบภัย จากรถที่ไม่สามารถติดตามรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้  ดำเนินการ ดังนี้

  1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้
  2.  สำเนาบัตรประจำวันจากพนักงานสอบสวน  รับแจ้งเกี่ยวกับคดี ที่ระบุรายละเอียด ดังนี้
           -  เวลา วันที่ เดือน ปี สถานที่เกิดเหตุ ต้องลง ตำบล อำเภอ จังหวัดด้วย
           -  ชื่อ
– สกุล ของผู้ประสบภัย
           -  สถานะของผู้ประสบภัยในขณะที่เกิดเหตุ เช่น ข้ามถนน , ตกจากรถ , ผู้ขับขี่หลบหนี , คนเดินเท้า
           -  ลักษณะการเกิดเหตุ  เช่น รถชนกับอะไร , ชนคนเดินเท้า
           -  ระบุด้วยว่ารถคันที่เกิดเหตุได้หลบหนีไปจำทะเบียนไม่ได้
           -  สำเนาบันทึกประจำวันทุกฉบับต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองเอกสารจากพนักงานสอบสวน จึงจะสามารถ
                     นำมาใช้การได้
  3.  สำเนาใบเสร็จรับเงิน (จำนวนเงินที่ได้จ่ายค่ารักษาไปก่อนที่จะมาขอใช้สิทธิ พรบ.)
  4.  ใบรับรองแพทย์ (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา)
  5.  ใบ 4 ขั้นตอน พรบ. (ขอได้ที่หอผู้ป่วยที่นอนรักษา
 

 

  ประเด็นสำคัญ
  1.  ผ่านการตรวจสอบว่าเป็นผู้ประสบภัยจากรถ
  2.  ต้องใช้สิทธิ พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อนสิทธิสวัสดิการรักษาอื่น ๆ ทุกชนิด

 

  นิยาม  รถ หมายถึง  รถยนต์ทุกชนิด ทุกประเภท เป็นรถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์  กำลังไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น

ยกเว้นกำลังมนุษย์ เช่น รถยนต์ รถพ่วง รถจักรยานยนต์ สามล้อเครื่อง รถอีแต๋น  รถป๊อบ รถแทรกเตอร์ รถบดถนน
รวมทั้งรถพ่วงของรถ
นั้น ๆ ด้วย

  ยกเว้น รถไฟ รถจักรยาน รถสามล้อถีบ  รถเข็น  รถลาก  รถไถนาเดินตาม

 

 
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขอรับค่ารักษาพยาบาล

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

 
  ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง

      ความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย หรือชีวิต ของผู้ประสบภัย  อันเนื่องจากรถที่ใช้หรือใช้รถอยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งของที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น  และอยู่ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย

 

  ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง
      
ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย  หรือชีวิต  ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากรถที่ใช้หรือใช้

รถอยู่ในทาง  หรือเนื่องจากสิ่งของที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น และอยู่ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย  ได้แก่
ผู้ซึ่งอยู่ในรถ  และนอกรถ  ดังนี้
      1.  ผู้ขับขี่
      2.  ผู้โดยสาร
      3.  บุคคลภายนอกรถ
      4.  ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย (กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต)

 

  วงเงินคุ้มครอง

      สำหรับกรณีรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ. จะได้รับความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ศ. 2535  บริษัทที่รับประกันภัยต้องจ่ายผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ดังนี้
 
 
  ส่วนที่ 1 ค่าเสียหายเบื้องต้น ( วงเงิน 50,000 บาท ) แบ่งเป็น

 1. จำนวนเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
         สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย และอนามัย และความเสียหายที่เกิดจากการเสียความสามารถในการประกอบ
การงาน  หรือความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน  ผู้ที่ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ว่าด้วยละเมิด

         กรณีความเสียหายต่อร่างกาย  เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ได้แก่
          (1)  ค่ายา  ค่าอาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษา
          (2)  ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษารวมทั้งค่าซ่อมแซม
          (3)  ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ และค่าบริการ

                           อื่นทำนองเดียวกัน
          (4) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
          (5) ค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
 
  
2. จำนวน 35,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อชีวิต เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ
             ผู้ประสบภัย
  3. จำนวน 50,000 บาท  สำหรับผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายหลังจากมีการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
        

  ส่วนที่ 2 เสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น (วงเงิน 50,000 บาท)
          เมื่อมีการพิสูจน์ความถูกผิดแล้ว กรณีความเสยหายต่อชีวิต หรือตามที่กฎกระทรวงกำหนดกรณีใดกรณีหนึ่ง
หลายกรณี ดังนี้
  1.  ตาบอด

  2.  หูหนวก
  3.  เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
  4.  สูญเสียอวัยวะสืบพันธ์
  5.  เสียแขนขา มือ เท้า นิ้ว และอวัยวะอื่นใด
  6.  จิตพิการอย่างติดตัว
  7.  ทุพพลภาพอย่างถาวร

 

  จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งจ่ายโดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

 
     กรณีรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่จัดทำประกันภัย  จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
เพียงค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้

  1.  จำนวนเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท  สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย และอนามัย
  2.  จำนวน 35,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อชีวิต เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ

          ผู้ประสบภัย
  3. จำนวนเงินตาม 1 และ 2 รวมกันไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายหลังจากมีการรักษา
ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีที่ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากที่ใดได้ไม่ว่ารถนั้นจะมีประกันภัยหรือไม่ก็ตาม  กองทุนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้น
 

 

   การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น
 

  1.   ขอรับจากบริษัทประกันภัย
กรณีรถทำประกันภัย
      1.1  กรณีรถคันเดียวก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย (ผู้ขับขี่ / ผู้โดยสาร / บุคคลภายนอกรถ) ให้ขอรับ

                 ค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถที่บริษัทประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
      1.2  กรณีรถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย
             1.2.1 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ซึ่งอยู่ในรถ (ผู้ขับขี่ / ผู้โดยสาร) ให้ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่
                          รับประกันภัยรถคันที่ผู้ประสบภัยอยู่ในรถนั้น
             1.2.2 กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ซึ่งมิได้อยู่ในรถ (บุคคลภายนอกรถ) ให้ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่
รับประกันภัยรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งสองคัน  โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถทั้งสองคัน  จะเฉลี่ยจ่ายในอัตราที่เท่ากัน
 
 
 วิธีการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย

      ยื่นคำร้องขอ ฯ ตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด (กรณีขอรับจากบริษัทประกันภัยโดยโรงพยาบาลเป็นผู้ยื่น
คำร้องขอ  ใช้แบบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัย หรือเรียกว่าแบบ บต.4

 

  หลักฐานประกอบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

  1. ความเสียหายต่อร่างกาย ให้มีหลักฐาน
         ก. หลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล
         ข. สำเนาบัตรประจำตัว   หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว  หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใด

                ที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากรถ แล้วแต่กรณี

  2. ความเสียหายต่อชีวิต ให้มีหลักฐาน
        ก. สำเนามรณะบัตร
        ข. สำเนาบัตรประจำตัว  หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่

                 ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากรถ แล้วแต่กรณี

        ค. สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
                 (กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เยาว์หรือเสียชีวิตทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอ)

  3. ความเสียหายต่อร่างกาย/ต่อชีวิต ให้มีหลักฐาน ดังต่อไปนี้
        ก.  หลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล
        ข.  สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใด

              ที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากรถ แล้วแต่กรณี

        ค.  สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
        ง.  สำเนามรณะบัตร

 
  หลักฐานอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดตามความจำเป็น ดังนี้

      (ก)  ใบแจ้งอุบัติเหตุผู้ประสบภัย ( กรณีรถมีประกันภัยตาม พ.ร.บ. ) ควรมีทุกราย
      (ข)  สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( กรณีรถมีประกันภัยตาม พ.ร.บ. ) ควรมีทุกราย
      
(ค)  รายการจดทะเบียนรถ ( กรณีคันเกิดเหตุเป็นรถใหม่จดทะเบียนภายหลังทำประกันภัย ตรวจสอบจากกรมธรรม์

                 ประกันภัยจะไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถ )
      (ง)  กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เยาว์  ให้มีหลักฐาน
           -  สำเนาบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดา แล้วแต่กรณี
           -  สำเนาทะเบียนบ้านในรายการของบุตรและของบิดาหรือมารดา
เอกสารลำดับที่ (ข) – (ง) หน่วยบริการขอหลักฐานดังกล่าวข้างต้นจากผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย
 
 
รายการและราคาที่เรียกเก็บ

      
ตามมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ  ตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ( สถานพยาบาลภายใต้การกำกับดูแล  กระทรวงสาธารณสุข  ให้ใช้อัตราราคาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข)
 

การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น  จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
 

          กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย  จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามมาตรา 23 มี 6 กรณี  ดังนี้


    (1) รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยไม่จัดไม่มีประกันความเสียหายตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 และ

เจ้าของรถไม่ยอดชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หรือชดใช้ค่าเสียงหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
    (2) ขณะเกิดเหตุ  รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าขอรถ เพราะเหตุที่รถนั้นได้ถูก

ยักยอก  ฉ้อโกง  ลักทรัพย์  รีดเอาทรัพย์  ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์  และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
   (3) ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  และรถนั้นไม่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท
  (4) มีความเสียหายเกิดแก่ผู้ประสบภัยและรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น  หลบหนี้ไปหรือไม่อาจทราบได้ว่า
รถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย
  (5) บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20  ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
ไม่ครบจำนวน หรือ
  (6) ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถมาตรา 8  ที่ไม่ได้เอาประกันตามมาตรา 7 (รถที่ได้รับการยกเว้น)

 
 รายการและราคาที่เรียกเก็บ

 
    ตามมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ( สถานพยาบาลภายใต้การกำกับดูแล  กระทรวงสาธารณสุข  ให้ใช้อัตราราคาตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข )

 

 การขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น  จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

      กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย  จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามมาตรา 23 มี 6 กรณี  ดังนี้
  (1) รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยไม่จัดไม่มีประกันความเสียหายตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 และ

เจ้าของรถไม่ยอดชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หรือชดใช้ค่าเสียงหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
  (2) ขณะเกิดเหตุ  รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าขอรถ เพราะเหตุที่รถนั้นได้ถูก

ยักยอก  ฉ้อโกง  ลักทรัพย์  รีดเอาทรัพย์  ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์  และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
  (3) ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย  และรถนั้นไม่มีการประกันภัยไว้กับบริษัท
 (4) มีความเสียหายเกิดแก่ผู้ประสบภัยและรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น  หลบหนี้ไปหรือไม่อาจทราบได้ว่า
รถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย
 (5) บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20  ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
ไม่ครบจำนวน หรือ
 (6) ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถมาตรา 8  ที่ไม่ได้เอาประกันตามมาตรา 7 (รถที่ได้รับการยกเว้น)

 

สถานที่ขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ฯ

      สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย  มีพื้นที่ให้บริการอยู่ที่ สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด  และกลุ่ม
คุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต ( จังหวัดกรุงเทพ ฯ ) รวมทั้งสิ้น 80 แห่งทั่วประเทศ

 

วิธีการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

      ยื่นคำร้อง ฯ ตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด ( กรณีขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
โดยโรงพยาบาลเป็นผู้ยื่นคำร้องขอ  แบบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หรือเรียกว่า
แบบ บต.2 )

   1.  กรณีความเสียหายต่อร่างกาย  ให้มีหลักฐาน
       
ก. หลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล  ( แบบรายการเรียกเก็บค่ารักษา
พยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ  เช่นเดี่ยวกับการขอรับจากบริษัทประกันภัย )

       ข. สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว  หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐาน
อื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากรถ แล้วแต่กรณี
       ค. สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

   2.  กรณีความเสียหายต่อชีวิต  ให้มีหลักฐาน
        
. หลักฐานตามข้อ 1
        ข. สำเนามรณะบัตร ( ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอ )
  3.  ความเสียหายต่อร่างกาย / ต่อชีวิต ให้มีหลักฐาน ดังต่อไปนี้
                หลักฐานตามข้อ 2

 
 หลักฐานอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดตามความจำเป็น  ดังนี้
 

 (ก)  แบบบันทึกถ้อยคำผู้ประสบภัย ( กรณีขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 23 (1) ต้องมีทุกราย
 (ข) กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้เยาว์  ให้มีหลักฐาน
      - สำเนาบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดา แล้วแต่กรณี ( พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา )
      - สำเนาทะเบียนบ้านในรายการของบุตรและของบิดาหรือมารดา ( พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา ) ต้องมีทุกราย

 ผู้ยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น  ได้แก่

  1. ผู้ประสบภัย
  2. ทายาทโดยธรรม ( กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต )
  3. สถานพยาบาลที่รักษาผู้ประสบภัยจากรถ

 

 ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น

     ให้ยื่นคำร้องขอ ฯ จากบริษัทประกันภัย / กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ( 180 วัน )
นับตั้งแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

 

 การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น

     บริษัทประกันภัย / กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย  ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายในเจ็ดวัน ( 7 วัน ) นับตั้งแต่
วันที่ได้รับคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากผู้ประสบภัย / ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย / สถานพยาบาล

 


ส่วนที่ 2 ค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น

         การได้รับชดเชยใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
เพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ทั้งนี้จะต้องเป็นที่ยุติว่าผู้ขับขี่รถคันที่บริษัทประกันภัยไว้  เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยละเมิด ( ต้องพิสูจน์ถูก
– ผิด )

         ความเสียหายที่จะได้รับค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับความเสียหายต่อร่างกาย / อนามัย / ชีวิต  ( วงเงิน 50,000 บาท ต่อคน  เป็นค่ารักษาพยาบาล 35,000 บาท )

 

วิธีการการขอรับค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น

       การขอรับค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น  ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มี 2 แนวทาง ดังนี้
   

 แนวทางที่ 1  การเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์  มาตรา 306  โดยผู้ประสบภัยต้องยื่นคำร้องต่อบริษัทให้ออกเอกสารหลักฐานระบุจำนวนเงินที่แน่นอน
ที่บริษัทต้องจ่ายแก่โรงพยาบาล  และบอกกล่าวการโอนไปยังบริษัทประกันภัย
  แนวทางที่ 2  การเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์  มาตรา 797  โดยโรงพยาบาลทำความตกลงกับบริษัทประกันภัยให้พิจารณาจ่ายค่าเสียหายส่วนเกิน
ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่โรงพยาบาลโดยบริษัทมีหนังสือยินยอม / รับรอง เป็นลายลักษณ์อักษร โรงพยาบาลดำเนินการให้ผู้ประสบภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โรงพยาบาล ( หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องปรากฏในแบบแจ้งอุบัติเหตุผู้ประสบภัยในช่องสำหรับผู้ประสบภัย )
 
 
 หลักฐานประกอบการขอรับค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น
 

   1. หลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นของสถานพยาบาล
   2. เอกสารแสดงผลการพิจารณาทางคดี
         2.1 ชั้นพนักงานสอบสวน
         2.2 ขั้นศาล  แล้วแต่กรณี
   3. หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ( ใบแจ้งอุบัติเหตุผู้ประสบภัย )

 
    แนวทางปฏิบัติการขอรับค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ

  

 ขั้นตอนการดำเนินการ        
        เมื่อผู้ประสบภัยจากรถเข้ารับการรักษาพยาบาล  ภายหลักที่ให้การดูแลรักษาพยาบาลตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
แล้ว  ให้ดำเนินการดังนี้
   1. ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น  เช่น  ความคุ้มครองตาม  พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
       1.1 ตรวจสอบข้อมูลของรถคันเกิดเหตุทุกคัน ดังนี้
             1.1.1  ข้อมูลหมายเลขทะเบียนรถ / เลขตัวถังรถ / เลขเครื่องหมายของรถทุกคัน
             1.1.2  ข้อมูลการทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
             1.1.3  ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ
       1.2 ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสบภัย ได้แก่
             1.2.1 สถานะของผู้ประสบภัย เป็น ผู้ขับขี่  ผู้โดยสาร  บุคคลภายนอกรถ
             1.2.2  ผู้ประสบภัยอยู่ในรถคันหมายเลขทะเบียน................หรือผู้ประสบภัยถูกรถคันหมายเลข
                         ทะเบียน.......เฉี่ยวชน ( กรณีผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกรถ )

       1.3  ตรวจสอบวงเงินความคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
( เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น ( วงเงิน  15,000 บาท หรือค่าเสียหายเบื้องต้นรวมค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น
( วงเงิน 50,000 บาท ) โดยพิจารณาจากองค์ประกอบจากข้อ ( 1.1
– 1.4 ) มีเอกสารประกอบแนบท้าย ( ตารางการ
พิจารณาสิทธิกรณีผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าประสบอุบัติเหตุจากรถ )

   

   2. แจ้งอุบัติเหตุผู้ประสบภัยไปยัง

        2.1 สถานีตำรวจ เพื่อตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ  ตรวจสอบสาเหตุ รายละเอียดของรถคันที่เกิดอุบัติเหตุแต่ละคัน  บุคคลที่ได้รับความเสียหาย  ทันทีในวันที่เกิดเหตุ  เนื่องจากพยานหลักฐานยังอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ  แล้วลงบันทึก
ข้อมูลที่ได้ตรวจสอบในรายงานประจำวัน  ซึ่งใช้เป็นหลักฐานประกอบ  การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนทดแทน
ผู้ประสบภัย  หรือบริษัทประกันภัย
        2.2 บริษัทประกันภัย  เพื่อให้บริษัทราบ  พร้อมออกตรวจสอบผู้ประสบภัย และประเมินจำนวนเงินค่ารักษา
พยาบาล
    

    3. จัดเตรียมเอกสาร / หลักฐานประกอบคำร้องขอ ฯ พร้อมตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องตรงกัน

         ดังนั้น  เมื่อสถานพยาบาลรับเอกสารและหลักฐานประกอบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น  และค่าเสียหาย
ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น  จากผู้ประสบภัยแล้ว  สถานพยาบาลต้องตรวจสอบข้อความหรือรายละเอียดในเอกสารหลักฐานประกอบคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น  ค่าเสียหายส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้นให้ถูกต้อง  และครบถ้วนตรงตามความเป็นจริงทันที  ขณะที่ผู้ป่วยยังพักรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาล และหากปรากฏว่า เอกสาร / หลักฐานนั้น ๆไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน  สามารถให้ผู้ประสบภัยหรือทายาทนำไปแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน  ก่อนผู้ประสบภัยจำหน่ายออกจากสถานพยาบาล  เพื่อดำเนินการขอรับการชดเชยต่อไป
               

                 

 
  หมายเหตุ  เอกสารที่เกี่ยวข้อง  สามารถ Download ได้ที่
 
www.nhso.go.th/claim/document.php              
   
                     1.  คำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น   :  บ.ต.4
                     2.  หนังสือมอบอำนาจและคำรับรองของผู้ประสบภัย
                     3.  แบบแจ้งค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ ( สำหรับสถานพยาบาล )
                     4.  ใบแจ้งอุบัติเหตุเบื้องต้น และรับรักษาผู้ประสบภัยจากรถ

 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
   หน้า 2/2