โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยา แก้อักเสบ

ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยา แก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะ Anti biotic คือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบทั่วไป ....


  • ยาปฏิชีวนะ Anti biotic คือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบทั่วไป

ตัวอย่างยาได้แก่
1. ยาอะม๊อกซี่ซิลิน
2.ยาเตตร้าซัลคลิน
3.ยาเพนนิซิลลิน
4.ยาอะซิโธรมัยซิน

ถ้าใช้ยาไม่ถูกส่งผลต่อร่างกายได้นะได้แก่
1. แพ้ยาได้
2. มีผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย
3. เชื้อแบคทีเรียดื้อยา
4. ติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน เช่นเชื้อราในช่องปาก

วิธีใช้ยาอย่างปลอดภัย
1.ถามแพทย์หรือเภสัชกรใช้เมื่อแน่ใจว่าเป็นจากเชื้อแบคทีเรีย
2.กินยาให้ครบ ไม่เก็บไว้กินครั้งต่อไป
3.ห้ามแนะนำหรือแบ่งยาให้ผู้อื่นเพราะอาจแพ้ยา
4.อย่าใช้ยาตามที่ผู้อื่นแนะนำให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น

ยาแก้อักเสบ Anti-inflammatory Drugs
(ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม

ตัวอย่างยา ได้แก่
1.แอสไพริน
2.ไอบูโพรเฟน

ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นเราไม่ควรเรียก ยาปฏิชีวนะ ว่า ยาแก้อักเสบ อีกต่อไป เพราะเมื่อใช้ยาไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย ทั้งผลข้างเคียงยา โรคไม่หาย แพ้ยา และเสียเงินโดยไม่ถูกจุด

 
ด้วยรักจากเพจพยาบาลอยากเล่า
ขอบคุณภาพสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  Hits: 4754 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 แนะนำวิธีการใช้ไม้เท้าที่ถูกต้อง (22/12/2564)
 รู้จักกับ Omicron (14/12/2564)
 PM2.5 (14/12/2564)
 แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับคนที่เคยติดเชื้อโควิด 19 และรักษาหายแล้ว (27/10/2564)
 ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างปลอดภัย (4/8/2564)
 4 ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (30/7/2564)
 ติดเชื้อโควิด-19 แต่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษาต้องทำอย่างไร ? (20/7/2564)
 ประกาศฉีดวัคซีนโควิด 19 สลับยี่ห้อเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน (19/7/2564)
 หน้ากาก 2 ชั้น (7/7/2564)
 คำแนะนำการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง กลุ่มโรคเรื้อรัง 7 โรค และผู้สูงอายุ (16/6/2564)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  1  2  3  4  5  6 7  8  9  10  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง