โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


ภาวะติดเชื้อในลำไส้ อาจเป็นอันตรายกว่าที่คิด

แพทย์เตือน ภาวะติดเชื้อในลำไส้ อาจเป็นอันตรายกว่าที่คิดหวั่นประชาชนติดเชื้อในลำไส้เฉียบพลันจากการท้องเสียเรื้อรัง เตือนบริโภคอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และใส่ใจสุขภาพ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ


     นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร หมายถึง การติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจากแบคทีเรีย รองลงมาคือเชื้อไวรัสและปรสิต โดยมีอาการหลักคือ การปวดท้องที่อาจเกิดได้ที่ช่องท้อง ไม่มีอาการปวดเฉพาะจุด ร่วมกับอาการท้องเสีย มีไข้ได้ โดยลักษณะอาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันที เรียกว่า การติดเชื้อเฉียบพลัน

      นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นโรคที่พบได้บ่อยทุกวัน เกือบทุกคนเคยผ่านการติดเชื้อระบบทางเดินอาหารมาแล้ว เช่น อาหารเป็นพิษ ติดต่อได้ง่าย ระบาดได้ง่าย ในชุมชนต่างๆ และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจากการรับเชื้อ เช่นเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ การรับเชื้อมักเกิดจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยเชื้อโรคที่อยู่ในตัวผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่ในน้ำ อาหาร และมือ เข้าสู่ปาก โดยเชื้ออาจติดอยู่ที่เครื่องมือเครื่องใช้ในการอุปโภค บริโภค เช่น ช้อน แก้วน้ำ จาน ชาม ดังนั้นการป้องกัน โดยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ และการมีอาการของโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ต้องดูแลประคับประคอง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำ การขาดสมดุลของเกลือแร่ โดยการดื่มน้ำสะอาด การใช้ยาผงเกลือแร่ และการรักษาตามสาเหตุ เช่นการติดเชื้อบางชนิดที่อาจต้องได้รับยาฆ่าเชื้อ รวมถึงการดูแลตัวเอง ป้องกันการรับเชื้อซ้ำ และป้องกันการระบาดสู่ชุมชน

 
 
#กรมการแพทย์ #รพราชวิถี
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  Hits: 2101 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 รู้จัก เอทีเค (23/2/2565)
 วิธีการตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยชุดทดสอบแอนติเจน ATK (21/2/2565)
 ระดับไขมันในเลือด (8/2/2565)
 การเฝ้าระวังและสังเกตตนเองหากเข้าข่ายสัมผัสเสี่ยงสูงโควิด 19 (4/2/2565)
 ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 (21/1/2565)
 คำแนะนำ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 กักตัวที่บ้าน (11/1/2565)
 เตรียมพร้อมรักษาผู้ป่วยโควิดเด็ก (11/1/2565)
 ตรวจ ATK (28/12/2564)
 วิธีรับมือ Omicron แบบไม่ประมาท (27/12/2564)
 ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (22/12/2564)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  1  2  3  4  5 6  7  8  9  10  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง