โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
   Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


เตือนประชาชนดูแลตนเองช่วงฤดูหนาว ระวังโรคไข้หวัดใหญ่ระบาด
กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก เตือน โรคไข้หวัดใหญ่ มีการระบาดทุกปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและหนาว ชี้โรคไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 มีอาการคล้ายกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคโควิด-19 แนะควรสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือน้ำสบู่ และเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เพื่อลดการสัมผัสเชื้อโรคและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ



นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 สามารถติดต่อได้โดยผ่านการสัมผัสเสมหะ การไอ จาม หรือแม้แต่การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย โดยทั่วไปโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการค่อนข้างรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ใช้ระยะเวลาการฟักตัวของโรค 1-4 วัน จึงเริ่มมีอาการโดยลักษณะเด่นคือ มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก คัดจมูก อ่อนเพลีย และมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เนื่องจากอาการของไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการที่รุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด ไตวาย เบาหวาน โรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายไม่แข็งแรง อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำ เป็นต้น สำหรับโรคโควิด-19 ระยะเวลาเกิดโรคโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5-6 วัน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 14 วัน เริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นานถึง 14 วัน อาการคือ มีไข้ต่ำ ประมาณ 37.5 หรือ 37.8 องศาเซลเซียส มีน้ำมูก และไอไม่เท่าไข้หวัดใหญ่ อาการเด่นชัดคือ การสูญเสียการรับรสและกลิ่น และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคไข้หวัดใหญ่มียาต้านไวรัส และวัคซีนป้องกัน แต่ไม่สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันโรคโควิด-19ได้ ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยช่วงที่มีไข้สามารถรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตตามอล เช็ดตัวบ่อยๆ พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำสะอาดหรือจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ และรับประทานยาลดอาการต่างๆ เช่น ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น เด็กไม่ควรรับประทานยาลดไข้ชนิดแอสไพริน เพราะอาจเกิดอาการตับวายและสมองอักเสบ นอกจากนี้ควรงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีผู้คุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่เป็นโรคอ้วน หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย การอยู่ในสถานที่แออัด ล้างมือบ่อยๆด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือน้ำสบู่ สวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อลดการสัมผัสเชื้อโรค เลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา จมูก ปาก นอกจากนี้ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยป้องกันการป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่และโรคเรื้อรังอื่นๆ
  Hits: 725 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 รู้จัก เอทีเค (23/2/2565)
 วิธีการตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ด้วยชุดทดสอบแอนติเจน ATK (21/2/2565)
 ระดับไขมันในเลือด (8/2/2565)
 การเฝ้าระวังและสังเกตตนเองหากเข้าข่ายสัมผัสเสี่ยงสูงโควิด 19 (4/2/2565)
 ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 (21/1/2565)
 คำแนะนำ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 กักตัวที่บ้าน (11/1/2565)
 เตรียมพร้อมรักษาผู้ป่วยโควิดเด็ก (11/1/2565)
 ตรวจ ATK (28/12/2564)
 วิธีรับมือ Omicron แบบไม่ประมาท (27/12/2564)
 ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (22/12/2564)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ << <  1  2  3  4  5 6  7  8  9  10  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง