โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
documentation    Health for Future
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง


วิธีจัดการกับ Cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกไซเบอร์ ในปัจจุบันนี้ได้มีการเพิ่มมากขึ้นในยุคสมัยนี้ และบางครั้งอาจจะส่งผลความรุนแรงไปสู่ผู้ที่โดนกระทำจนถึงขั้นเกิดภาวะซึมเศร้าที่เป็นเหตุทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย


 
      Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกไซเบอร์เป็นการทำร้ายกับจิตใจ ความรู้สึก เช่น การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ส่อเสียด ประจาน แฉ โจมตี ข่มขู่ หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ทำให้เหยื่อเกิดความอับอาย เสียใจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วและเมื่อมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนโลกไซเบอร์มาผสมโรงด้วยความคิดความเชื่อหรือความเห็นของตัวเอง เป็นการกระทำซ้ำๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการใส่ร้าย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น อาจจะมีการสร้างบัญชีปลอมแล้วเอาภาพเหยื่อมาทำเป็นโปรไฟล์แล้วไปโพสต์ด่าคนอื่น ทำให้สังคมเชื่อว่าเหยื่อเป็นคนไม่ดี ตัดต่อคลิปหรือตกแต่งภาพล้อเลียน ของเหยื่อหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง การนำความลับหรือภาพลับมาเปิดเผยแล้วแชร์ต่อกันไปอย่างกว้างขวาง สร้างกลุ่มหรือเพจต่อต้านคนที่ตัวเองไม่ชอบ โดยแอบถ่ายภาพทุกอิริยาบทเอามาจับผิด เอามาถกกันให้เกิดความเสียหาย การโน้มน้าวให้คนอื่นรู้สึกรังเกียจ หรือกีดกันให้ออกจากกลุ่มออกจากสังคมที่อยู่ เป็นต้น คนที่ทำส่วนใหญ่เป็นเพื่อนที่ผิดใจกัน อิจฉากัน หรือเคยเป็นแฟนกันมาก่อน ยกตัวอย่าง จากเหตุการ์ณที่เพิ่งผ่านมาไม่นาน ในกรณีของนักร้องนักแสดงสาวชาวเกาหลีใต้ ท่ามกลางความเสียใจของแฟนคลับทั่วโลกที่พากันช็อกกับข่าวที่เกิดขึ้น พร้อมหันมาพูดกันถึงประเด็นโรคซึมเศร้าและไซเบอร์บูลลี่ที่ดาราสาวต้องเจอมานาน ทำให้เธอคิดสั้นฆ่าตัวตายตามที่เป็นข่าว
 

การป้องกันนั้นทาง กรมสุขภาพจิต ได้เสนอแนะวิธีการป้องกันตัวเองในเบื้องตัน ถ้าหากพบเจอเหตุการณ์กลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

  • อย่าตอบสนองข้อความกลั่นแกล้ง ไม่ว่าข้อความนั้นจะรุ่นแรงต่อเราขนาดไหน อย่าเขียนตอบโต้เพราะจำทำให้สถานการณ์แย่ลงและนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ที่ต้องการที่จะระรานเราต้องการให้เกิดขึ้น
  • ไม่เอาคืน การแก้แค้นหรือตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกันจะทำให้ไม่ต่างจากคนที่มากลั่นแกล้งเราอาจทำให้เรากระทำความผิดและเป็นจำเลยสังคมแทน
  • เก็บหลักฐาน ให้บันทึกภาพและข้อความที่ทำร้ายเรา เพื่อที่จะรายงานให้กับผู้ปกครอง หรือไว้ใช้ในการดำเนินคดีทางกฏหมายในข้อหาหมิ่นประมาท
  • รายงานความรุนแรง ส่งข้อมูลรายงาน หรือ report กับทางโซเซียลมีเดีย ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีการสร้างบัญชีปลอมขึ้นมา
  • ตัดช่องทางการติดต่อ ลบ แบน ล๊อคทุกช่องทางการเชื่อมต่อกับคนที่ระรานเรา หรือในระหว่างนี้งดการเข้าโลกโซเซียลสักพักหากิจกรรมอย่างอื่นทำ

สังคมในปัจจุบันนี้ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกทางความคิดมากมายแต่บางคนกลับใช้การแสดงออกเหล่านั้นมาใช้เพื่อที่จะโจมตีหรือทำร้ายคนๆนึงที่ ที่มีความคิดผิดแปลกแยกกับตัวเค้าหรือเพียงแค่ไม่ชอบเฉยๆ จนบางครั้งได้เกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างข่าวของนักร้องนักแสดงเกาหลีใต้ ที่ได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้าที่สาเหตุมาจาก การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ จากเหตุการ์ณนี้ทำให้กระแสโซเซียล ได้กลับมาให้ความใส่ใจกับเรื่องนี้ และขออย่าให้เกิดเหตุการ์ณแบบนี้เกิดขึ้นอีก


ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข
https://www.it24hrs.co

-------------------------------------------------------------------------------------

  Hits: 5005 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 อาการและระยะแพร่เชื้อโรคฝีดาษวานร (29/1/2567)
 ฝุ่น PM2.5 ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม (22/1/2567)
 8 วิธีรับมือภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้นด้วยตัวเอง (11/1/2567)
 โรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย (21/12/2566)
 ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) (18/12/2566)
 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (5/10/2566)
 RSV ตัวร้าย อันตรายช่วงปลายฝนต้นหนาว (19/9/2566)
 โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วม (18/9/2566)
 ข่าวจริง ชัวร์แล้วเเชร์ได้ (18/8/2566)
 คนอ้วนมีโอกาสเสี่ยงเป็นไข้เลือดออกรุนแรงกว่าคนน้ำหนักปกติ (4/8/2566)
จำนวน 394 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  >  >>  ... ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง