โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
documentation    อนาคต.. มุ่งสู่โรงพยาบาลตติยภูมิ   หน่วยสนับสนุนงานรักษาพยาบาล

หน่วยช่วยการหายใจ

 
           หน่วยช่วยการหายใจ  มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการหายใจ ซึ่งเป็นภารกิจหลัก ได้มีการพัฒนาระบบการล้างทำความสะอาดสายชุดวงจร  และอุปกรณ์ลดปริมาณการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค  เพื่อตอบสนอง  การดูแลสภาวะแวดล้อมไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยปรับเปลี่ยนวิธีการทำความสะอาดสายชุดวงจรช่วยหายใจมาเป็นวิธีการล้างและอบฆ่าเชื้อด้วยการใช้ hydrogen plasma และทำการตรวจเพาะเชื้อจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแล้วเพื่อเป็นการตรวจสอบการปราศจากเชื้อทุก 3 เดือน  รวมทั้งวางแผนการจัดหาเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพมาตรฐานโดยมีคณะกรรมการหน่วยช่วยการหายใจเป็นที่ปรึกษาในการวางนโยบายและประสานงานกับหน่วยการรักษาที่เกี่ยวข้อง
 
 
        ปัจจุบันหน่วยช่วยการหายใจมีการบริหารงานในรูปของคณะกรรมการขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาล  โดยคณะกรรมการประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าไม่คล่องตัวในการพัฒนา  แต่ในด้านการบริการก็สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทางระบบทางเดินหายใจได้อย่างทั่วถึง ด้วยการบริหารจัดการเครื่องช่วยหายใจอย่างมีระบบทำให้มีการกระจายการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเพียงพอ ในปี 2549 คณะกรรมการบริหารเครื่องมือและพัสดุ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช   ซึ่งนาวาอากาศเอก ธเนศศักดิ์ วุฒาพิทักษ์ เป็นประธานในขณะนั้นจึงได้มอบหมายให้หน่วยช่วยการหายใจดูแลรวบรวมและรับผิดชอบเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (infusion pump และ syringe pump)  นอกเหนือจากเครื่องช่วยหายใจ และในปี 2550 คณะกรรมการบริหารเครื่องมือและพัสดุ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ได้มอบหมายให้หน่วยช่วยการหายใจเป็นผู้รวบรวมความเพียงพอและพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ชุดควบคุมอัตราการไหลของออกซิเจน (oxygen flow meter wall type)และเครื่องช่วยหายใจชนิดมือบีบ  (resuscitator hand operated)



น่วยช่วยการหายใจ  ได้รับมอบหมายให้รวบรวมดูแลรับผิดชอบเพื่อให้มีการหมุนเวียนใช้งานอย่างเหมาะสมคุ้มค่า มีการจัดทำทะเบียนประวัติและจัดบำรุงรักษาให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน  เนื่องจากปัญหาเครื่องมีอายุการใช้งานนานกว่า 5 ปีและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน คณะกรรมการบริหารเครื่องมือและพัสดุจึงเสนอให้มีการเช่าเครื่องควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพิ่มอีก 20 เครื่องทำให้ปัญหาการไม่เพียงพอลดลง

 
 
 
 
 


 
   
    การพัฒนาหน่วยอย่างต่อเนื่อง
     
         นอกเหนือจากงานรับผิดชอบที่ได้ดำเนินการปรับปรุงจนเป็นที่ยอมรับและได้รับภาระในการดูแลเครื่องมือสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มเติมแล้ว หน่วยช่วยการหายใจได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูลของหน่วยช่วยการหายใจตั้งแต่ปี 2543  และมีการนำระบบบาร์โค๊ดมาใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น  รวมทั้งได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพในด้านการบริหารทรัพยากรสุขภาพในเรื่องของความคุ้มค่าในการใช้เครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือในการแพทย์ที่รับผิดชอบด้วย   
 
 
 
 

                                                                                                                   
 
 
 

  Hits: 1561 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 หน่วยควบคุมโรคติดเชื้อ (12/8/2552)
 หน่วยโภชนบำบัด (12/8/2552)
จำนวน 2 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ ]