นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือ UCEPคำถามคือ "แล้วอะไรคือ นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย..." - วันนี้แอดมินขอนำข้อมูลเรื่องนี้มาประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนรู้จักและเข้าใจว่า UCEP คืออะไร? เมื่อใดที่ควรจะสามารถใช้สิทธิ UCEP ได้ รวมทั้งขั้นตอนในการใช้สิทธิ UCEP เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรื่อง "นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" หรือ UCEP อย่างถูกต้อง และเมื่อต้องใช้สิทธิจริงๆ จะได้ไม่สับสนหรือวิตกกังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
- สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในกรณีเกิดเหตุ แนะนำให้ให้เข้า รพ.รัฐ เป็นลำดับแรกก่อน และควรเตรียมบัตรประชาชนของตนเองหรือผู้ป่วยไว้ด้วย
- สิทธิ UCEP เป็นการร่วมมือของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กรมบัญชีกลาง และศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.)
- หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิการรักษา UCEP สามารถติดต่อได้ตามเบอร์นี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) - สายด่วน สปสช. 1330 สำนักงานประกันสังคม (สปส.) - สายด่วน 1506 ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) - 02-872-1669 กรมบัญชีกลาง - 02-270-6400 ทุกคนสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต https://www.nhso.go.th/files/userfiles/…/2017/004/UCEP01.PDF
|
.jpg)
--------------------------------------------------------------------------------------- |
|
|