โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
documentation    หน่วยโภชนบำบัด   สาระน่ารู้


พืช ผัก ผลไม้ ป้องกันการเกิดมะเร็ง

มะเร็งเป็นโรคที่คุกคามชีวิตมนุษย์เพราะเป็นโรคที่ต้องอาศัยการดูแลรักษาเป็นระยะเวลายาวนานและผลข้างเคียงของการรักษาค่อนข้างรุนแรง รวมทั้งสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งนั้นไม่ทราบแน่นอน ..


             

พืช ผัก ผลไม้ ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือป้องกันการเกิดมะเร็ง
 
               ถึงแม้ว่ามะเร็งบางชนิดจะมีบทบาททางพันธุกรรมเป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรค แต่สาเหตุของการเกิดมะเร็งร้อยละ 80 เกิดจากวิถีการดำรงชีวิตและสภาพแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการบริโภค การมีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารพิษ อากาศที่ใช้หายใจ ตำแหน่งที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ รวมทั้งการขาดการออกกำลังกาย จากสาเหตุเหล่านี้พบว่าอุบัติการของโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ ในประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญอันดับที่ 2 หรือ 3 สลับกับโรคหัวใจในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ปัจจุบันพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญอันดับ 1 และมีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคน ในปี พ.ศ.2558 จากเดิม 9 ล้านคน ในปี พ.ศ.2541 มะเร็งคือเซลล์ที่มีการเจริญ เติบโต มีรูปร่างและคุณสมบัติผิดไปจากเซลล์ปกติทั่วไป มีโอกาสเกิดได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้นเป็นก้อนจนไปเบียดบังเนื้อที่ ของอวัยวะรอบด้านแล้วยังสามารถทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียงและแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่นได้ โดยผ่านไปตามต่อมน้ำเหลือง และกระแสเลือด จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีการศึกษาค้นคว้า ตัวยาและวิธีการใหม่ เพื่อรักษาและป้องกันโรคมะเร็ง และในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันการเกิดมะเร็ง มีความสำคัญยิ่งกว่าการรักษา ดังนั้นการให้ความรู้หรือแนวทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภค ด้านการปฏิบัติตัว ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การลดอาหารไขมันจากสัตว์ เลือกรับประทานผักผลไม้ อาหารสมุนไพร ที่ปลอดสารพิษ เพราะว่าผักผลไม้หลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิเดนท์ (antioxidant) และมีสารสำคัญที่ทำลายเซลล์มะเร็งได้ สมุนไพรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งสามารถใช้ป้องกันหรือชลอการเกิดมะเร็ง ตลอดจนยับยั้งหรือทำลายเซลล์มะเร็งบางชนิดได้  ในบทความนี้จะกล่าวถึง พืช ผัก สมุนไพร ที่มีสารที่สามารถต่อต้านหรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งสารดังกล่าวเรียกว่า สารต่อต้านการก่อมะเร็ง (anti -carcinogen) และสารต่อต้านการส่งเสริมมะเร็ง (anti-tumor promoter) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) สารต้านมะเร็ง แอนติออกซิแดนท์ (antioxidants) สารป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดนท์หรือต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่มีอยู่ในธรรมชาติในรูปของวิตามินและแร่ธาตุ ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี, แร่ธาตุสังกะสี (Zinc) และเซลีเนียม (Selenium)
2) สารแอนติออกซิแดนท์ที่ไม่ใช่วิตามิน ส่วนใหญ่เป็นสารรสฝาดพบในยอดผักและเมล็ดพืช ได้แก่ สารพวกโปลีฟีนอล (polyphenols) เป็นสารในกลุ่มไบโอพลาโอนอย์ (bioflavonoids) ไลโคปีน (lycopenes) แคโรทีนอยด์ (carotenoids) ไอโซฟลาโวน (isoflavone coumarin derivative) เบต้าคาโรตีน เป็นต้น

      พืช ผัก ผลไม้ ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือป้องกันการเกิดมะเร็ง  มีดังนี้

          วิตามินเอ (Vitamin A) : มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านการเกิดมะเร็ง และเป็นสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิ คุ้มกัน ในพืชผักไม่มีวิตามินเอ แต่มีสารประกอบพวกแคโรทีน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ในตับ พบในผักและผลไม้ที่มีสีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง มะระขี้นก ใบกระเพา ใบย่านาง ผักแพว ใบแมงลัก ยอดแค ผักชะอม ฟักทอง ตะไคร้ บัวบก มะม่วง มะขาม มะเฟือง มะละกอ แตงโม กระเจี๊ยบ แอปเปิ้ล ลูกเดือย เป็นต้น


  โดยมีรายละเอียดของส่วนที่นำมาใช้และประโยชน์ ดังนี้

     - คะน้า ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ใบ ก้าน และลำต้น ประโยชน์ คือเป็นผักที่ให้วิตามินเอสูงมาก และเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน
                ( β- Carotene) ซึ่งเป็นสารยับยั้งการก่อมะเร็งนอกจากนั้นยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีอีกด้วย
     - ตำลึง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ใบ ประโยชน์เป็นผักที่ให้วิตามินเอสูงมาก และยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี มีคุณสมบัติในการแก้
               อาการแพ้ อาการอักเสบ ช่วยป้องกันโลหิตจาง หัวใจขาดเลือดและโรคมะเร็ง
     - มะระขี้นก ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลและเมล็ดแก่ ประโยชน์ ให้วิตามินเอสูงมาก นอกจากนั้นยังพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสและฆ่า
               เซลล์มะเร็งเต้านมและเซลล์มะเร็งสมองได้ผลดี
     - มะม่วง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลดิบและผลสุก ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนั้นยังมีฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็ก
               อีกเล็กน้อย
     - มะขาม ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เนื้อมะขามสดหรือเปียก ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอ และแคลเซียมสูง
     - ส้ม ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผล ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอมาก นอกจากนั้นยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี
     - มะเฟือง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลที่แก่จัด ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่อุดมคุณค่าไปด้วย วิตามินเอ ซี ฟอสฟอรัสสูง และแคลเซียมเล็กน้อย
     - แตงโม ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เนื้อแตงโม ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าเต็มไปด้วยวิตามินเอ และซี
     - กระเจี๊ยบ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้ง ประโยชน์อุดมไปด้วยวิตามินเอ นอกจากนั้นยังมีแคลเซียม
     - มะละกอและแอปเปิ้ล ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผล ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยวิตามินเอ
     - ลูกเดือย ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เมล็ด ประโยชน์ ให้ฟอสฟอรัสสูงมาก รองลงมาคือ วิตามินเอ
     - ตะไคร้ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เหง้าลำต้นและใบ ประโยชน์ เป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ นอกจากนั้นยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส
               สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่ม ต้นได้
     - บัวบก ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ใบและต้นสด ประโยชน์ วิตามินเอ และแคลเซียมสูงมาก นอกจากนั้น ยังมีวิตามินบี1เป็นพืชที่ประกอบด้วย
               กลัยโคไซด์ที่มีคุณสมบัติทำให้เนื้อ เยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่ผิวหนังแข็งแรงส่งผลให้ผิวหนังเรียบ ตึง แน่น ช่วยบรรเทา
               อาการเส้นเลือดขอด ผิวด่างดำ และช่วยให้แผลเป็นจางหาย และนุ่มขึ้น สารสกัดจากใบบัวบก ทำให้แผลหายเร็ว มีขนาดเล็ก เร่งการ
               สร้างเนื้อเยื่อ และเยื่อบุเซลล์ใหม่ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ และมีคุณสมบัติทำให้
               หลอดเลือดขยายตัว ช่วยทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นและเร่งการทำลายเชื้อโรคโดยเม็ดเลือดขาว นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ในการยับยั้ง
               และทำลายเซลล์มะเร็ง

           วิตามินซี (Vitamin C) พบในผลไม้รสเปรี้ยวเป็นส่วนใหญ่ มีกรดแคสคอร์บิค (ascorbic acid) ซึ่งผลิตคอลลาเจน (Collagen) ส่งผลดีต่อสุขภาพผิวหนัง เนื้อเยื่อและเส้นเลือดแข็งแรง ช่วยในการสมานแผลช่วยในกระบวนการดูดซึมเหล็ก ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง พบมากในผักสดและผลไม้ โดยเฉพาะผักสด ใบส่วนยอดและเมล็ดที่กำลังจะงอก ได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม ยอ เพกา มะนาว มะเขือเทศ เชอรี สับปะรด มะม่วง มะเฟือง แตงโม คะน้า ตำลึง ถั่วงอก ยอดมะขาม ใบเหลียง ผักหวาน พริก มะรุม เป็นต้น

   โดยมีรายละเอียดของส่วนที่นำมาใช้และประโยชน์ ดังนี้
     - ฝรั่ง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ผลแก่จัดเอาเฉพาะเนื้อ ประโยชน์เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนั้นยังมีสารเบต้า-คาโรทีน ที่ช่วยลด
              สารพิษในร่างกาย อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจับที่ผนังหลอดเลือด
     - มะนาว ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์น้ำมะนาว เป็น antioxidantประโยชน์ มีวิตามินซีมาก, เมล็ดมีรสขมใช้ขับเสมหะ และรากมะนาวมีรสปร่า แก้สติ
              หลงลืม
     - มะเขือเทศ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลสีแดง ให้วิตามินเอ และไลโคพีน ของเหลวคล้ายเยลลีที่ ล้อมรอบเมล็ดให้วิตามินซีประโยชน์ เป็น
             แหล่งวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใยอาหาร และพบว่ามีสารอาหารที่ชื่อว่า ไลโคพีน (lycopene) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการป้องกันการก่อตัวของ
             สารมะเร็ง ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ ลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนั้นมะเขือเทศยังมีวิตามินซี ซึ่งเป็นสารป้องกัน
             อนุมูลอิสระที่สำคัญมีหน้าที่ในการเพิ่มความแข็งแรงให้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จากการศึกษาพบว่าผู้ชายที่บริโภคมะเขือเทศประมาณ
             10 ผลต่อสัปดาห์หรือซอสมะเขือเทศ จะมีอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคไส้เลื่อนน้อยกว่าผู้ที่ ไม่บริโภคมะเขือเทศ
             เพื่อให้เกิดประโยชน์ควรรับประทานมะเขือเทศที่อยู่ในอาหารที่ผ่านการปรุง แล้ว ซึ่งจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
      - ยอ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลแก่ ผลอ่อนประโยชน์ ผลยอเป็นผักที่มีวิตามินสูง คนไทยโบราณ ใช้เป็นยา อายุวัฒนะช่วยบำรุงธาตุ จากการ
             ศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ายอมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งขั้นต้น โดยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงต้านการ
             เป็นมะเร็งและยอมีผล ทำให้สมองมีการผลิตซีโรโตนินมากขึ้น ส่งผลให้การนอนหลับเป็นปกติ ข้อควรระวัง : ไม่ควรรับประทานในผู้ป่วย
             โรคไตและโรคหัวใจ เนื่องจากยอมีโปแตสเซียมในปริมาณสูงอาจมีผลต่อการทำงานของไตและหัวใจ
      - มะขามป้อม ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลสด ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมากคือ 208 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักมะขามป้อม 100 กรัม
      - เพกา ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ฝักอ่อน ประโยชน์ มีวิตามินซีสูงมากถึง 484 มิลลิกรัมต่อ น้ำหนักเพกา 100 กรัม นอกจากนั้นยังมีวิตามินเอ
             ซึ่งจะช่วยป้องกันอนุมูลอิสระให้เกิดขึ้นในร่างกาย ทั้งนี้การรับประทานเพการ่วมกับอาหารที่มีวิตามินสูง เช่น รำข้าวในข้าวกล้องจะ
             ช่วยเสริมฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์
      - เชอรี่ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผล ประโยชน์ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงมาก
      - สัปปะรด ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นผลที่มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงมากรองลงมาคือมีวิตามินซี

           วิตามินอี (Vitamin E)  วิตามิน อีมีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบบประสาท นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการทำให้เซลล์เยื่อบุผิวหนัง (Cell membrane) แข็งแรง มีสุขภาพดีขึ้น ช่วยลดริ้วรอยผิวหนัง ช่วยในการไหลเวียนเลือด พบมากในเมล็ดธัญพืช ต่าง ๆ ที่ให้น้ำมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด งา รำข้าว ข้าวกล้อง จากการศึกษาของเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ พบว่าเมล็ดทานตะวันมีปริมาณวิตามินอีสูงมากกว่าในถั่วเหลือง และข้าวโพด

    โดยมีรายละเอียดของส่วนที่นำมาใช้และประโยชน์ ดังนี้
      - ถั่วเหลือง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เมล็ด ประโยชน์ พบว่ามีสารกลุ่มไอโซพลาโวน (isoflavone courmarin derivative) จำนวนมาก ซึ่งสาร
            ดังกล่าวทำหน้าที่เป็น phytoestrogen ต้านทานการเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมที่เกิดจากการกระตุ้นของเอสโตรเจน และยังพบสารเจนิสทีนที่
            เป็นสารในกลุ่มไบโอพลาโวบอยด์ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยไม่ให้ร่างกายสร้างหลอดเลือดฝอยที่จะส่งอาหารไปเลี้ยง เซลล์มะเร็งทำให้เซลล์
            มะเร็งฝ่อตาย
      - งา ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ เมล็ด ประโยชน์ พบว่ามีวิตามินอีสูง และสารเซซามอล ซึ่งสามารถป้องกันมะเร็งได้ นอกจากนี้พบว่าน้ำมันงาเป็น
            ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมาก (Essential Fatty acid) คือ กรดไลโนเลอิค และโอเลอิค กรดนี้ร่างกายนำไป
             สร้างฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน-อี-วัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายได้แก่ 1)ขยายหลอดเลือด 2) ช่วยลดความดันเลือด 3) ป้องกันเกล็ด
             เลือดเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด ซึ่งอาจจะไปอุดตันหลอดเลือดเล็ก ๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรืออัมพาตถ้าลิ่มเลือด
             ไปอุดหลอดเลือดสมอง และงาเป็นอาหารที่มีแร่ธาตุ ที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ธาตุไอโอดีนป้องกันคอพอก สังกะสีบำรุงผิว
             หนังและแคลเซียม นอกจากนั้นพบว่างาเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1, 2, 3, 5, 6, 9 ซึ่งจะบำรุงระบบประสาท สมอง

          ซิลีเนียม (Selenium) มี คุณสมบัติในการช่วยกำจัดอนุมูลอิสระควบคุมความดันโลหิต พบมากในอัลมอนด์ เห็ดต่าง ๆ กระเทียม ส้ม องุ่น กะหล่ำปลีและหัวผักกาด เป็นต้น มีการศึกษาพบว่ากะหล่ำปลีสายพันธุ์ที่ปลูกในเมืองไทย สามารถยับยั้งหรือป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม โดยสามารถลดได้ทั้งอัตราการเกิด (incidence) และจำนวนก้อนมะเร็ง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการกระตุ้นเอนไซม์ที่มีหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่าง กาย ทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งลดลง ส่วนในหัวผักกาดพบว่าทำให้ขนาดและปริมาตรก้อนเนื้องอกเล็กลงทำให้การเจริญ เติบโตของเซลล์มะเร็งช้าลง(tumor progression)

          สังกะสี (Zinc) มี ส่วนสำคัญในกระบวนผลิตสารพันธุกรรม (RNA และ DNA) ช่วยให้ร่างกายจับวิตามินเอไว้ในกระแสเลือด พบมากในขิง เมล็ดฟักทอง กระหล่ำปลี แครอท แตงกวา และส้ม นอกจากพืช ผักผลไม้ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสมุนไพรอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งได้แก่ ชา ขิง พริกไทย ใบแป๊ะก๊วย เกากีจี้ โสมเกาหลี หญ้าปักกิ่ง และเห็ดหลินจือ เป็นต้น

          ชา ในใบชามีสารที่ชื่อว่า “ฟลาไวนอยด์” ซึ่งเป็นสาร antioxidant ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนั้นฟลาโวนอยด์ ยังเป็นสารที่ช่วยให้เกร็ดเลือดไม่จับตัวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เมื่อดื่มชาเป็นประจำทุกวัน เพียงวันละ 1 ถ้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและหัวใจลงได้

          ขิง เป็น พืชที่พรั่งพร้อมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหง้าของขิงแก่ มีสารเบต้า คาโรทีนที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ขิงจึงเป็นพืชที่รับประทานแล้วช่วยต้านมะเร็งได้

          พริกไทย (black peper) เป็น พืชที่มีสารสำคัญ ชื่อ “ฟีนอลิกส์” (Phenolics) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น antioxidant อย่างดี พริกไทยเป็นพืชที่มีคุณสมบัติด้านสารก่อมะเร็งในทางเดินอาหารได้อย่างดี และยังพบว่าพริกไทยสามารถเร่งให้ตับทำลายสารพิษมากขึ้น

          ใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) มี สารสำคัญที่ส่งผลช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ทำให้สมองตื่นตัว ใช้กับพวกที่มีความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

          เกากีจี้ ได้ จากผล Lycium chinense ซึ่งเป็นพืชวงศ์เดียวกับ มะเขือ พริก เป็นพืชที่มีจำนวนวิตามินเอ และมีเบต้า-คาโรทีนสูง ซึ่งช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นยังมีสารที่ช่วยในการทำงานของไตและตับ

          โสมเกาหลี รากโสม มีสารที่สำคัญคือ จินเซนโนโซด์ (ginsenoside) หรือพาแนกโซไซด์ (panaxoside) ซึ่งสามารถทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจากตับชะงักลงและเซลล์มะเร็ง ดังกล่าวถูกเปลี่ยนให้กลับไปเป็นเซลล์ปกติได้นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้เกิด ภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้มีการสร้าง “interferon” ทั้งนี้ โสมจะมีสารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำมาใช้แตกต่างกัน เปลี่ยนไปตามพื้นที่และสภาพแวดล้อม
           ข้อ ควรระวัง : ไม่ควรรับประทานโสม ร่วมกับวิตามินซี เพราะจะลดคุณค่าของโสม ควรรับประทานห่างกันเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานโสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่ายได้

           หญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา (Murdannia loriformis) ใน ใบและลำต้นมีสารกลุ่มกลัยโคไซด์ เช่น สารฟลาโวนอยด์ สำหรับการนำมาใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมและลำไส้ใหญ่ได้ วิธีการนำมาใช้ที่เชื่อว่าจะให้ประโยชน์สูงสุดคือ เลือกหญ้าปักกิ่งจากต้นที่มีอายุ 7-12 เดือน จำนวน 6 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นให้แหลก เติมน้ำ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาแต่น้ำแบ่งเป็น 2 ส่วน ดื่มก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมงและก่อนนอนทุกวัน

           เห็ดหลินจือ หรือเห็ดหมื่นปี หรือเห็ดอมตะ (Holymushroom, or Lacquered mushroom) สาร สำคัญที่พบมีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยเข้าไปยับยั้งเนื้องอกได้ดี คือ โพลีแซคคาไรด์ชนิดเบต้า ดี-กลูแคน (β - D – glucan) จากการศึกษาโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าสารสกัดจากเห็นหลินจือ มีผลต่อเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีและ ยังมีฤทธิ์ต้านพิษที่เกิดจากการฉายรังสีจึงอาจเป็นไปได้ว่าการใช้เห็ดหลินจือจะช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็ง  ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ดอกเห็ดที่อยู่ในช่วงที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีสีน้ำตาลแดงสปอร์มีสีน้ำตาล รสขม รูปร่างรี ดอกเห็ดแก่ ขอบหมวกจะงุ้มลง สีหมวกเข้มขึ้น และอาจมีดอกใหม่งอกซ้อนขึ้นก็ได้
          พืช ผัก ผลไม้ ที่ได้กล่าวไปแล้ว เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสมุนไพรที่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง ยังมีพืชสมุนไพรอีกหลายชนิด ที่มีผู้ศึกษาค้นคว้าว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันและรักษามะเร็งได้ ไม่ว่าจะเป็นคื่นช่าย ผักชีฝรั่ง กระชาย ดีปลี โหระพา ผักขวง เหงือกปลาหมอ ขมิ้นอ้อย หอมใหญ่ ฯลฯ

      สรุป
         พฤติกรรมสุขภาพของคนในยุคปัจจุบัน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยที่สังคมไทยในอดีตมีภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) เป็นสิ่งอันทรงคุณค่าที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครวมถึงใช้ในการรักษาโรคของคนไทย แต่เมื่อค่านิยมของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าว จึงถูกละเลยหรือหลงลืมไประยะหนึ่ง ในศตวรรษใหม่นี้ สังคมโลกกลับมาให้คุณค่าสมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รวมถึงใช้ในการรักษาโรคอีกครั้ง เพราะตระหนักถึงคุณประโยชน์ของทางเลือกใหม่(Complementary/Alternative Therapy)ในการดูแลภาวะสุขภาพของมนุษย์
        อย่างไรก็ตามทางเลือกต่าง ๆ ผู้ป่วย ครอบครัว และญาติ ควรมีโอกาสเลือกใช้วิธีปฏิบัติ ต่าง ๆด้วยตนเอง โดยไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นบุคลากรทีมสุขภาพควรคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวและยอม รับทางเลือก เป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ ในวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเลือกใช้และทำหน้าที่ซึ่งอาจมีหลายวิธี ร่วมกัน รวมทั้งผสมผสานการรักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน และการแพทย์แผนไทยเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้ง ด้านร่างกายจิตสังคมและจิตวิญญาณ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

       เอกสารอ้างอิง

จันทรา เจณณวาสิน. (2540). โรคมะเร็งกับวิถีทางการดำรงชีวิตของคนเรา. คัดลอกจากนิตยสารใกล้หมอ 21 (2) กุมภาพันธ์ 2540. (
http://www.E-LIB Health Lihrary for Thai : CANCER รอบรู้โรคมะเร็ง).
บัญญัติ สุขศรีงาม. (2536).เครื่องเทศที่ใช้เป็นสมุนไพร เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อมรการพิมพ์. รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง สมุนไพรไทย. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี โดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์ เคมีและเภสัช มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาคมสมุนไพรแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม 23-25 มกราคม พ.ศ.2540. ณ โรงแรมเจริญธานีปริ้นเซส จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
เพ็ญ นภา ทรัพย์เจริญ. (2541). การแพทย์แผนไทยกับโรคมะเร็ง. คัดลอกจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2541. (
http://www.E-LIB hey.to/yimyami.am/thaidoc).
วันดี กฤษณพันธ์. (2541). สมุนไพรน่ารู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพร เตรียมชัยศรี. (2542). ประเด็นและแนวโน้มการดูแลสุขภาพเชิงองค์รวม วารสารพยาบาล, 48 (2), 71-80.
สำนัก บริหารการทะเบียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2542). จำนวนและร้อยละของการตายด้วยเนื้องอกเนื้อร้ายทุกตำแหน่ง จำแนกตามเพศและอายุ พ.ศ.2539-2542. (
http://www.moph.go.th).
อนงค์ เทพสุวรรณ, เพียงใจ ดูประตินันท์ และวรรณี คูสำราญ. (2540). “ผลของกะหล่ำปลีและหัวผักกาดในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมใน หนูที่ได้รับ สารก่อมะเร็ง”. วารสารโรคมะเร็ง. 23 (1-2), 26-35.
ไมตรี สุทธจิตต์ และศิริวรรณ สุทธจิตต์. (2547). พืชผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้านมะเร็ง. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเวทีเครื่อข่ายผู้เป็นมะเร็งกับการดูแล สุขภาพแบบองค์รวม. ณ อิมแพค เมืองทองธานี นนทบุรี.
มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (2547). “สมุนไพร อภัยภูเบศร”. อภัยภูเบศรสาร. 2(15),1-5.
Vicker, A. and Zollman, C. (1999). ABC complementary medicine : Herbal medicine. BMJ. 319 (16) 1050-1052.

  Hits: 1837 Rating( ) ( 1 vote) [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 กินอย่างไร... ให้ไกลมะเร็ง (22/6/2558)
 ต่อสู้มะเร็งร้าย ใส่ใจคุณภาพชีวิต (25/5/2555)
 กินเรื่องใหญ่ มะเร็งเรื่องเล็ก (11/4/2555)
 โภชนาการ...กับการรักษาโรคมะเร็ง (18/3/2554)
 ตารางเปรียบเทียบ อาหาร : ปริมาณโคเลสเตอรอล (28/10/2553)
 การคำนวณค่าบีเอ็มไอ (20/5/2553)
 อาหารในฤดูร้อน (31/3/2553)
 โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง (15/1/2553)
 กิน ...อาหารเฉพาะโรค (23/12/2552)
 8 วิธีกินเส้น เน้นสุขภาพ (22/11/2552)
จำนวน 17 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ 1  2  >  >> ]