โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
หน่วยงานสนับสนุนและบริการ  สำนักงานสิทธิประโยชน์    โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ   กิจกรรมที่๑
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซ์ืที่เกี่ยวข้อง

๑.๒ คู่มือพี่เลี้้ยง


  1.       ชื่อโครงการ  :  โครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบ
                                  ของ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  กรมแพทย์ทหารอากาศ

  2.       ผู้รับผิดชอบโครงการ  สำนักงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ 

  3.      หลักการและเหตุผล


             จากการที่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ได้เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2544 โดยรับหน้าที่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตกรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้การดูแลสุขภาพประชาชน ปัจจุบันมุ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หมู่ 2 แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยชุมชน  20 ชุมชน มีจำนวนประชากรประมาณ 15,265 คน แบ่งเป็นเพศชาย 7,442 คน และเพศหญิง 8,121 คน  จากการสำรวจประชากรในพื้นที่พบว่า ในด้านภาวะสุขภาพพื้นฐานของครอบครัวในชุมชน แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีภาวะสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติมีจำนวน 10,932 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 1,645 คน และกลุ่มที่มีความเจ็บป่วยจำนวน 2,974 คน  ส่วนในด้านการพัฒนาชุมชนพบว่าจากชุมชนจำนวน 20 ชุมชนนั้น มีชุมชนที่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาในชุมชนของตน โดยมีการรวมตัวกันที่เข้มแข็ง เพียง 4 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 19.04  ซึ่งยังคงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในการพัฒนาระบบบริการด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการสร้างเครือข่ายให้ชุมชนที่มีศักยภาพแล้ว ได้มีส่วนร่วมในการเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนใกล้เคียงได้นำไปประยุกต์ใช้ เปลี่ยนจากการการสอนหรือให้ความรู้ประชาชน เป็นวิธีการให้ประชาชนเรียนรู้จากการได้มีส่วนร่วม ใช้วิธีเสวนาหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องหรือปัญหาสุขภาพ ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมานฉันท์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน เป็นการสร้างฐานของสังคมให้เข้มแข็งและสามารถจัดการด้านสุขภาพได้ด้วยชุมชนเองอย่างยั่งยืน  จากแนวคิดดังกล่าว รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  พัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบให้สามารถเป็นแกนนำในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆในความรับผิดชอบ โดยการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้  เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ในการดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

   4.  วัตถุประสงค์ของโครงการ

         4.1  เพื่อเสริมพลังชุมชนต้นแบบ และบุคลากรในทีมสุขภาพให้สามารถเป็นแกนนำ ขยายผล วิถีการดำเนินชีวิต สู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        4.2  เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านสุขภาพของชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพปัญหา

ของพื้นที่

        4.3   เพื่อพัฒนาและยกระดับชุมชนในความรับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ. ให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง สามารถดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนของรพ.ได้อย่างเหมาะสม

  5.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

              5.1  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

              5.2  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

        5.3  ชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 20  ชุมชน 

  6.  ปัจจัยนำเข้า

             6.1   ชุมชนต้นแบบ (มีระดับความเข้มแข็งมากกว่า 3)  จำนวน 4 ชุมชนประชากรประมาณ 3,627คน

             6.2  ชุมชนเป้าหมายในการขยายผล     จำนวน 16 ชุมชน ประชากรประมาณ 10,772 คน      

             6.3  บุคลากรในทีมสุขภาพปฏิบัติหน้าที่ที่เป็น facilitator ในโครงการ จำนวน 19 คน

  7.  งบประมาณ  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  8.  การดำเนินโครงการ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 7 กิจกรรม ดังนี้

 กิจกรรม

ระยะเวลา 1 มีค. 51 – 31 มีค.52

มีค

เมย

พค

มิย

กค

สค

ก ย

ตค

พย

ธ ค

มค

กพ

มีค

 กิจกรรมที่ 1 การกำหนดนโยบายและแผนงาน

1. จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิด ชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

 

<> 

2. ประชุมคณะกรรมการ วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการดำเนิน งาน กำหนดเป้าหมายและเป้าประสงค์ของการดำเนินงาน  จัดทำโครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณ

 

<> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่ชุมชนเป้าหมายและประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ

 

 

<> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. พัฒนารูปแบบและแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบ  จัดทำคู่มือการเป็นพี่เลี้ยงสำหรับชุมชนต้นแบบ       ปรับปรุงแบบประเมินชุมชนเข้มแข็ง

 

 

 

<> 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 2  “การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลัง เพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน”

 

 

 

 

<> 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 3  “การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ.”

 

 

 

 

 

<> 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 4    “ชุมชนสัญจร”  เยี่ยมพื้นที่ 17 ชุมชน

 

 

 

 

 

 

<...

….

….

….

….

….

..>

 

กิจกรรมที่ 5    การประชุมเสนอผลงาน “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์  : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน ”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<> 

กิจกรรมที่ 6  จัดทำรายงานสรุปโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<> 

กิจกรรมที่ 7  โครงการวิจัย  การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  9.  ผลงาน/ผลผลิต  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 9.1 ผลงาน

 9.1.1 จำนวนชุมชนต้นแบบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชที่สามารถเป็นแกนนำและพี่เลี้ยงในการพัฒนา

                        สุขภาพชุมชน

 9.1.2 จำนวนกิจกรรมการดูแลสุขภาพของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสพัฒนาของชุมชน

 9.2 ผลผลิต

 9.2.1 ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบมีระดับความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นและมีกิจกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน

                         เพิ่มขึ้นอย่างน้อยชุมชนละ 1 กิจกรรม

9.2.2  ชุมชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การพัฒนา

                          ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

9.2.3  ได้รูปแบบการพัฒนาชุมชนต้นแบบสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพ

 9.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพในชุมชนร่วมกันระหว่างชุมชนต้นแบบกับชุมชนต่าง ๆ ของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช   พัฒนาสู่การเป็นเครือข่ายชุมชนในการดูแลสุขภาพร่วมกัน

 

 การประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการ  “เสริมพลัง เพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ”

ห้องประชุมสัมมนา 1 อาคารคุ้มเกล้า

30 ก.ค.51 (08.30 น.- 15.30 น.)

 

0830 – 0845 น.  ลงทะเบียน รับเอกสาร

0845 – 0900 น.  พิธีเปิดโดย ผอ.รพ.

0900 – 0945 น.  บรรยายพิเศษ “ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนแข็งแรง ประเทศไทยพัฒนา” 

                                    โดย นพ. รัฐพล  เตรียมวิชานนท์

0945 - 1000 น.   อาหารว่าง

1000 -  1100 น.  บรรยายพิเศษ “การพัฒนาชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน “

                                    โดย อาจารย์ ชาญณรงค์  สุภาพพร้อม

1100 – 1200 น.  กิจกรรมกลุ่ม “ทักษะการเป็นโค้ชในการพัฒนาชุมชน”

                                    โดย น.ท.หญิง คนึงนิจ  อนุโรจน์

1200 – 1300 น.  อาหารกลางวัน

1300 – 1400 น.  กิจกรรมกลุ่ม “การประเมินตนเองของชุมชน”                                                                                       โดย น.ต.หญิง ศุวัชรีย์  งูพิมาย

1400 – 1415 น.  อาหารว่าง

1415 – 1515 น.  กิจกรรมกลุ่ม ”สุนทรียสนทนาเพื่อการพัฒนาชุมชน“

โดย น.ต.หญิง ศุวัชรีย์  งูพิมาย

1515 – 1530 น.  สรุป/ประเมินผล/ปิดการประชุม

 

 
การสำรวจภาวะสุขภาพครอบครัว 21 ชุมชน

ชุมชน

จำนวนประชากร

เพศชาย

เพศหญิง

ภาวะสุขภาพ

ปกติ

เสี่ยง

บ่าย

เพิ่มสิน 1- 2

708

336

372

510

42

156

วัดลุ่มฯ

1487

745

742

1046

173

268

พูนทรัพย์

470

245

225

370

25

75

ดอนเมืองวิลล่า

1024

479

545

798

68

158

พัฒนา หมู่2

1603

754

849

1072

181

350

ศาลเจ้าพ่อสมบุญ

726

376

359

489

63

174

ดวงมณี 1- 2

609

299

310

410

87

112

อรุณนิเวศน์

2204

1023

1181

1695

200

309

เลียบคลอง

1492

720

772

1011

193

287

ธารา

729

351

378

510

84

135

เพิ่มสินถมยา

703

315

388

432

75

196

ตลาดเพิ่มสิน

792

368

424

505

64

223

จิตภาวรรณ 2 – 3

930

444

486

624

126

180

จิตภาวรรณ 1

80

225

255

320

73

87

รัชธานี 5.1

383

168

215

295

40

48

รัชธานี 5.2

296

146

150

213

25

58

ม.ซื่อตรง

283

134

149

211

30

40

ชุมชนพิเศษ

354

170

184

212

59

83

เพิ่มสินคอนโด

134

63

71

106

8

19

แฟลตตำรวจ

147

81

66

103

29

16

เกร็ดฟ้า

111

-

-

-

-

-

รวม

15265

7442

8121

10932

1645

2974

 

ชุมชนเข้มแข็งทางเลือกใหม่ของการพัฒนา

ที่มา  http://www.rakbankerd.com/

จากการวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มขึ้นในปลายปี 2539 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคม ประเด็นเรื่อง ชุมชนเข้มแข็ง จึงได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันมาก ในฐานะที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของการพัฒนา เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพียงลำพังดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต้องให้ความสำค้ญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางตามหลักปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ความเข้มแข็งของชุมชนจึงเป็นฐานสำคัญในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการสร้างกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต

  ความหมายของชุมชนเข้มแข็ง

เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน จึงต้องเริ่มจากการใช้จุดแข็งในสังคม และทุนทางสังคมที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้มีการให้แนวคิดและความหมายของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางและการนำไปสู่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้

  ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นปกติต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการอยู่ในพื้นที่ร่วมกันหรือมีอาชีพร่วมกันหรือการประกอบกิจการซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือการมีวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือความสนใจร่วมกัน (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) โดยความเป็นชุมชนอาจหมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่งเท่าใดก็ได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการติดต่อสื่อสารหรือรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ในการกระทำ มีการจัดการ เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน (ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

       จากความหมายข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ชุมชนมีความหมายมากกว่าการที่คนแต่ละคนมาอยู่ร่วมกัน แต่ได้สร้างความสัมพันธ์กันโดยมีหลักการ เงื่อนไข กติกา ซึ่งเราเรียกโดยรวมว่าระเบียบบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกัน ชุมชนจึงมีลักษณะเป็นองค์กรทางสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของสมาชิก  และสามารถช่วยให้สมาชิกสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้

  ความเข้มแข็งของชุมชน จึงหมายถึง การที่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของเมืองหรือชนบทรวมตัวกันเป็น “องค์กรชุมชน” โดยมีการเรียนรู้ การจัดการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนแล้วถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเรียกชุมชนนี้ว่า กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่น ๆ ที่มีความหมายแสดงถึงการร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และด้วยความเอื้ออาทรต่อชุมชนอื่น ๆ ในสังคมด้วย ทั้งนี้ องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มหรือชมรมหรือสหกรณ์ หรือในชื่ออื่นใด โดยจะมีการจดทะเบียนตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม อันเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวด้วยความสมัครใจของประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์และอุดมคติร่วมกัน มีมิตรภาพและความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีผู้นำตามธรรมชาติเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอาศัยอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยในแต่ละชุมชนจะมีการพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนในมิติต่าง ๆ เช่นมิติทางด้านเศรษฐกิจมิติทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มิติทางด้านสังคม และมิติทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น อาจพัฒนาความเข้มแข็งได้เพียงบางมิติเท่านั้น เนื่องจากเงื่อนไขและกระบวนการที่นำไปสู่ความเข้มแข็งในแต่ละมิติของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน

องค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็ง

จากการดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คณะอนุกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตภายใต้คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดกรอบองค์ประกอบของชุมชนเข้มแข็งไว้ว่าจะต้องประกอบด้วย

    1. บุคคลหลากหลายที่รวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชนอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม
    2. มีเป้าหมายร่วมกันและยึดโยงเกาะเกี่ยวกันด้วยประโยชน์สาธารณะและของสมาชิก
    3. มีจิตสำนักของการพึ่งตนเอง รักษาเอื้ออาทรต่อกัน และมีความรักท้องถิ่น รักชุมชน
    4. มีอิสระในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบ
    5. มีการระดมใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
    6. มีการเรียนรู้ เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกันหลายรูปแบบ
    7. มีการจัดทำกิจกรรมที่เป็นสาธารณะของชุมชนอย่างต่อเนื่อง
    8. มีการจัดการบริหารกลุ่มที่หลากหลายและเครือข่ายที่ดี
    9. มีการเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายของชุมชนสืบทอดกันตลอดไป

ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง

ชุมชนที่มีความเข้มแข็งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้คือ

    1. สมาชิกของชุมชนมีความเชื่อมันในศักยภาพของตนและชุมชนที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
    2. สมาชิกของชุมชนพร้อมที่จะร่วมกันจัดการกับปัญหาของตนและชุมชน
    3. มีกระบวนการของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจน เป็นวิถีของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของผู้นำองค์กรชุมชน ในลักษณะเปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้ามามีส่วนร่วม โปร่งใส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
    4. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินสถานการณ์ของชุมชนกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม ร่วมคิด ตัดสินใจ ดำเนินงาน ติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชุมชนผ่านกระบวนการชุมชน
    5. สมาชิกชุมชนเกิดการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมในกระบวนการของชุมชน
    6. มีแผนของชุมชนที่ประกอบด้วยการพัฒนาทุก ๆ ด้านของชุมชน ที่มุ่งการพึ่งตนเอง เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คนและมุ่งหวังการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
    7. การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก เป็นการพึ่งเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุดไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
    8. มีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีการพัฒนา อาจเป็นหมู่บ้านชุมชนอื่น ๆ ท้องถิ่น ภาคราชการ องค์กรเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ และอื่น ๆ ในลักษณะของการมีความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

        ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเป็นฐานรองรับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมพร้อมกันทุกด้าน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงต้องผนึกกำลังดำเนินงานการเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง ด้วยการกระตุ้นและสร้างกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมให้ชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันทำและมีการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้มีกิจกรรมหลักที่ดำเนินการเสริม สร้างความเข้มแข็งของชุมชน ได้แก่

1. การส่งเสริมกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต โดยพัฒนาศักยภาพให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรักษาผลประโยชน์ของชุมชนด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานของบุคลากรภาครัฐจากการเป็นผู้สั่งการเป็นผู้สนับสนุนในการจัดการและแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง

2. การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนได้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาสวัสดิการสังคมและสวัสดิภาพของชุมชนการฟื้นฟูอนุรักษ์และจัดการทัพยากรธรรมชาติของชุมชน การค้นหาศักยภาพและการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการจัดทำแผนความต้องการของชุมชน รวมทั้งการสร้างประชาคมภายในชุมชนและการสร้างเครือข่ายของชุมชน

  ชุมชนดำรงอยู่ : ประเทศชาติดำรงอยู่

             การดำรงอยู่ของคนในชุมชน โดยเฉพาะในชุมชนชนบทจะดำรงอยู่ด้วยการต่อสู้ดิ้นรนในการทำมาหากิน เพื่อความอยู่รอดของตนเอง การต่อสรู้ดิ้นรนของชุมชนชนบทดูเหมือนจะต้องมีการต่อสู้ดิ้นรนอยู่อย่างตลอด ทั้งจากธรรมชาติแวดล้อม การทำมาหากิน การถูกเอารัดเอาเปรียบจากผลผลิตของตนเอง ตลอดจนความด้อยการเหลียวแลเอาใจใส่จากภาครัฐ ส่งผลให้ชุมชนชนบทต้องอยู่ในสภาวะปากกัดตีนถีบ อย่างต่อเนื่องตลอดมา และไม่พ้นต้องกลับกลายมาเป็นแรงงานราคาถูก ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด ถูกเอารัดเอาเปรียบทางแรงงาน ในเมืองใหญ่อย่างไรก็ดี ในชุมชนบทยังคงความดีงามในความสัมพันธ์ของชุมชนไว้อย่างไม่เลื่อมคลาย นั่นคือ ชุนชนชนบทคงมีความสัมพันธ์อยู่ 2 อย่าง คือ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ โดยสายเดือด หรือ โดยบรรพบุรุษ จากการตั้งบ้านเรือนและชุมชนของตน จากกลุ่มเล็ก ๆ ที่อพยพมาจากชุมชนเดียวกัน และมาตั้งบ้านเรือนใหม่ และความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนหนึ่งกับอีกชุมชนหนึ่ง โดยการนำสิ่งของตนที่มีอยู่ไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของชุมชนอื่น นอกจากนั้น ในชุมชนบทยังมีการแลกเปลี่ยน หรือพึ่งพาแรงงานกันระหว่างญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้าน เช่น การลงแขกในภาคกลาง การออกปากกินวาน ในภาคใต้ การเอามื้อ ในภาคเหนือ และการเองแฮง ในภาคอีสาน เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ในชุมชนต่าง ๆ เราจะมองเห็นองค์ประกอบอย่างน้อย 3 องค์ประกอบที่ทำให้ชุมชนเกิดการรวมตัว เกิดกระบวนการเรียนรู้ และเกิดเครือข่ายการเรียนรู้เกิดขึ้น เพื่อการพึ่งพากันในชุมชนและการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ดังนี้

    1. คน ในชุมชนจะมีผู้นำที่มีความคิดก้าวหน้า ผู้นำที่มีจิตสาธารณะอยากทำงานเพื่อพัฒนาชุมชน และส่วนรวมอยู่ไม่เฉพาะผู้นำอย่างเป็นทางการเท่านั้น
    2. ความรู้ ในชุมชนต่าง ๆ จะมีความทรงคุณ ความรู้อยู่หลายด้าน หากเราสามารถนำเอาศักยภาพและภูมิความรู้ จากท่านเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะบังเกิดผลของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี
    3. ทรัพยากร แน่นอนที่สุดว่าในแต่ละชุมชนจะต้องมีทรัพยากรต่าง ๆ อยู่อย่างน้อยก็เป็นทรัพยากรที่ทำให้ชุมชนนั้น ๆ ดำรงอยู่และมีวิธีชีวิตเพื่อความอยู่รอดของตนได้

          โดยสรุป หากนักพัฒนาทั้งหลาย ผู้นำชุมชน องค์กรเอกชนทั้งหลายที่มีแนวความคิดในการพัฒนาศักยาภาพชุมชนใดให้มีความเข้มแข็ง และยืนหยัดอยู่ด้วยการพึ่งพาตนเองได้แล้ว ย่อมต้องมองถึงศักยภาพในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว ก็จะช่วยให้ชุมชนเหล่านั้นมีจุดเริ่มของการพัฒนาชุมชนที่ไม่ใช่เริ่มตั้งแต่ศูนย์ คือไม่มีอะไรเลย มาสู่กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำพาชุมชน ไปสู่ความดำรงอยู่ได้ พึ่งพาตนเองได้ ซึ่งถ้าหากชุมชนทุกชุมชนดำรงอยู่และพึ่งพาตนเองได้ นั่นหมายถึง ประเทศชาติของเรา สามารถดำรงอยู่ และพึ่งพาตนเองได้ นั่นเอง

  แผนแม่บทชุมชน : แผนแห่งการพึ่งพาตนเอง

          หากกล่าวถึง แผนแม่บทชุมชนหลายคนคงมีความเข้าคิดว่า เป็นแผนใหญ่ระดับนโยบายที่มีแผนงาน / โครงการ หลายอย่างอยู่ในแผนแม่บทดังกล่าวนี้ แต่แท้จริงแล้ว แผนแม่บทชุมชนที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ แผนแกนกลางของชุมชนที่มีกรอบ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนนั้น ๆ นั่นเอง แผนแม่บทชุมชนจะเป็นเสมือนหนึ่งเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายตามแนวทางที่ชุมชนต้องการ อันจะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการจะคิด ทำ และปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำกิจกรรมในชุมชน อันจะก่อประโยชน์แก่ชุมชนเอง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงาม ตลอดจนมองถึงสวัสดิการอันพึงมีที่ชุมชนต้องการให้เกิดผลย้อนกลับมายังสมาชิกของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ ดังกล่าว จำเป็นต้องได้ รับการกระตุ้นอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลา โอกาส เงื่อนไข และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย

           อย่างไรก็ดี ขอทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่า แผนแม่บทชุมชน ต้องเป็นกระบวนการตัดระบบการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน นักพัฒนา (อาจต้องทำเป็นทีม) คือ ผู้กระตุ้น ผู้ประสาน ผู้อำนวยความสะดวก ตลอดจน ต้องเป็นผู้จัดเวทีการพูดคุย ผู้ช่วยจัดระบบข้อมูล และผู้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล เท่านั้น ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องของชุมชน ที่เขาจะต้องตัดสินใจเองจากการที่เขาได้มีโอกาสพูดคุยจากข้อมูล จากการวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนของเขาเอง

  หัวใจของกระบวนการทำแผนแม่บทชุมชน

            ประทวน พิกุลทอง ได้ให้ข้อคิดในการจัดกระบวนการทำแผนแม่บทชุมชนว่า หัวใจของกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

    1. ความพร้อมของผู้นำชุมชน
    2. ทีมหรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานต่อเนื่องในชุมชน
    3. การจัดเวทีต่อเนื่องในชุมชน
    4. ความพิถีพิถันในการจัดเก็บข้อมูลของชุมชน ตลอดจนการตรวจสอบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
    5. การร่วมมือและช่วยกันระบบข้อมูล
    6. การสลายความเกรงใจกันเองของผู้นำชุมชน(ทีมหลายคน)ในเวทีวิเคราะห์แผนแม่บทชุมชน
    7. สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าแผนที่เกิดขึ้นคือแผนของชุมชน

 กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยน เมื่อเราทำการคัดเลือกชุมชนที่จะดำเนินการจัดทำแผนแม่บทชุมชน แล้วสิ่งที่จะต้องดำเนินการที่สำคัญ คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยน การพูดคุยปรึกษาหรือ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน หาจุดร่วมความเต็มใจตั้งใจของชุมชน และแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่าง ๆ เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพระสงฆ์ เป็นต้น

2. กระบวนการจัดเก็บข้อมูล กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่สำคัญ และกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีที่สุด คือ ให้ชุมชนได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเขาเอง เพื่อให้เขารู้จักชุมชนของตนเอง / ชุมชนอื่น ภูมิประเทศ ธรรมชาติ ผลผลิต สภาพความเป็นอยู่ วัฒนธรรมความเชื่อ กิจกรรมการพัฒนาในชุมชน การแสวงหาผู้นำที่ชุมชนมีความเชื่อถือ โดยการชี้แจงและชักชวน ซึ่งจะต้องเป็นผู้นำกิจกรรมผู้มีประสบการณ์ มีความคล่องตัว มีความรอบรู้ และมีความกระตือรือร้น

3. การวิเคราะห์จัดทำแผนแม่บทชุมชน โดยจะต้องพิจารณาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อดำเนินการ ดังนี้

3.1) ประมวลความเชื่อมโยงปัญหา วิธีแก้ปัญหา การบริหารจัดการเข้ากับข้อมูลศักยภาพ (ต้องมีวิทยากรนำ)

3.2) นำความคิดสู่ชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยน

3.3) รวบรวมจัดหมวดหมู่ลำดับความสำคัญ

4. พัฒนาสู่โครงการ / กิจกรรม เมื่อได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยชุมชนแล้ว ก็จะนำเอาข้อมูลที่ได้มาพัฒนาสู่โครงการหรือกิจกรรม โดยพิจารณาตามความสำคัญของปัญหา ความเร่งด่วนของแหล่งทุน และการดำเนินการโดยไม่ต้องหางบประมาณ เป็นต้น

5. สิ่งที่ต้องไม่ละเลย และเป็นกรอบของการจัดทำโครงการ / กิจกรรมของชุมชน ก็คือ การพึ่งพาตนเองของชุมชน ลดการพึ่งพาจากภายนอกชุมชนให้มากที่สุด นั่นคือ แผนแม่บทชุมชนอย่างแท้จริง

บทส่งท้าย

         การทำงานการพัฒนาชนบท หรือชุมชนแนวใหม่ ของบุคคลหรือองค์กรในภาครัฐ หรือเอกชนก็ตาม จำเป็นต้องมีการปรับบทบาทใหม่ ต้องละเลิกความเคยชินในระบบและวิธีการเดิม และต้องเข้าใจในองค์รวมของการพัฒนาชุมชนว่า " การพัฒนาชุมชน มิใช่การสงเคราะห์หรือการนำเงินทุนไปให้" หรือเปรียบเทียบ เช่นเดียวกับการที่ชุมชนอยากจะกินปลา นักพัฒนาจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชนรู้จัก เครื่องมือหาปลา เพื่อใช้ในการจัดปลา หรือให้ชุมชนรู้จักวิธีการเลี้ยงปลา ไม่ใช่วิธีการนำปลาไปแจกเพราะหมดยุคสมัยในการทำเช่นนั้นแล้ว

           ปัจจุบันประเทศไทยของเรามิได้มีเงินเหลือเฟือ หรือมีเงินทุนที่จะทำโครงการพัฒนาใดได้ อย่างคล่องตัวอีกแล้ว เงินทุนที่มาหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศไทยยังจำเป็นต้องอาศัยการกู้ยืมจากต่างประเทศเสริมสภาพคล่องให้การเงิน และการคลังดำรงสภาพอยู่ต่อไปได้ และหากเรายังต้องพึ่งพาอาศัยเงินกู้จากต่างประเทศ เพราะงบประมาณของรัฐจำเป็นต้องตั้งไว้เพื่อการใช้หนี้ต่างประเทศในทุกปี เรื่อย ๆ ไปและยิ่งทำให้งบประมาณในงบลงทุนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ลดลงเป็นลำดับเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หนทางในการอยู่รอดของประเทศไทยก็ยังพอมีหนทาง นั่นคือ การหยุดกู้เงินจากต่างประเทศ ก้มหน้าก้มตาใช้หนี้ที่มีอยู่ให้ทุเลาเบาบางลงไป และสิ่งสำคัญที่สุด จะต้องเสริมศักยภาพของชุมชนทุกชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาภายนอกชุมชนให้น้อยที่สุด

          อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวข้างต้นน่าจะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาได้ นั่นก็คือ เหล่านักพัฒนาทุกภาคไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และเอกชน ที่มีจิตสาธารณะต้องออกมาทำงานกันให้มาก ๆ ทำงานตามบทบาทภารกิจ และตามความถนัดของตนเอง นั่นก็คือ การผลักดันให้เกิดแผนแม่บทชุมชนของแต่ละชุมชนขึ้นมาให้ได้ หากชุมชนทุกชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ นั่นก็หมายถึงประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้เช่นกัน

ที่มา  http://www.rakbankerd.com/

การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม

ที่มา http://www.cdd.go.th/kmcd

กระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม

          กระบวนการมีส่วนร่วม นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรม/โครงการ นั้น

ความหมายของการมีส่วนร่วม

          สายทิพย์ สุคติพันธ์ (2534) กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงกลไกในการพัฒนา จากการพัฒนาโดยรัฐ มาเป็นการพัฒนาที่ประชาชนมีบทบาทหลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน จึงหมายถึงการคืนอำนาจ (Empowerment) ในการกำหนดการพัฒนาให้ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการริเริ่มและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่การพัฒนา การแก้ไขปัญหา การกำหนดอนาคตของประชาชนเอง

          การมีส่วนร่วมของ HO (1983) ให้ความเห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีเนื้อหาประกอบด้วยการเน้นคุณค่าการวางแผนระดับท้องถิ่น   การใช้เทคโนโลยี/ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น  การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถดำเนินการพัฒนาด้วยตนเองได้  การแก้ไขปัญหาของความต้องการพื้นฐานโดยสมาชิกชุมชน   การเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแบบประเพณีดั้งเดิม  การใช้วัฒนธรรมและการสื่อสารที่สอดคล้องกับการพัฒนาโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความชำนาญของประชาชนร่วมกับวิทยากรที่เหมาะสมและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนานั้น ประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยมีนักวิชาการจากภายนอกเป็นผู้ส่งเสริม/สนับสนุนทั้งในด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่เหมาะสม แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของชุมชน

ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนในการพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนของการกำหนดนโยบายวัตถุประ สงค์ของโครงการ วิธีการตลอดจนแนวทางการดำเนินงานและทรัพยากรที่จะใช้

ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา เป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเทคโนโลยี ฯลฯ จากองค์กรภาคีพัฒนา

ขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งเป็นทั้งการได้รับผลประโยชน์ทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ

ขั้นตอนที่ 5 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผลการพัฒนา เป็นการประเมินว่า การที่ประชาชนเข้าร่วมพัฒนา ได้ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด การประเมินอาจประเมินแบบย่อย (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ หรืออาจประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปรวมยอด

ลักษณะของการมีส่วนร่วม

           ในงานพัฒนาโดยทั่วไป ประชาชนอาจเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เข้าร่วมในการนำโครงการไปปฏิบัติ โดยเสียสละทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน วัสดุ เงิน หรือร่วมมือในการจัดกิจกรรมเฉพาะด้าน เข้าร่วมในผลที่เกิดจากการพัฒนาและร่วมในการประเมินผลโครงการ  นอกจากลักษณะการมีส่วนร่วมดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลการศึกษาอีกบางส่วนที่กล่าวถึงลักษณะการมีส่วนร่วม โดยแบ่งตามบทบาทและหน้าที่ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาดังนี้คือ     

1. เป็นสมาชิก
2. เป็นผู้เข้าประชุม
3. เป็นผู้บริจาคเงิน
4. เป็นประธาน
5. เป็นกรรมการ กล่าวโดยสรุปลักษณะการมีส่วนร่วมอาจแบ่งโดย

1. การสนับสนุนทรัพยากร คือ การสนับสนุนเงิน วัสดุอุปกรณ์ แรงงาน การช่วยทำกิจกรรม ร่วมประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น

2. อำนาจหน้าที่ของผู้เข้าร่วม คือ ความเป็นผู้นำ เป็นกรรมการเป็นสมาชิกปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

การที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้วจะต้องมีการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางซึ่งควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายมาตรการ และการปฏิบัติที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน จำเป็นที่จะต้องทำให้การพัฒนาเป็นระบบเปิดมีความเป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของ P และมีการตรวจสอบได้

2. ปัจจัยด้านประชาชน ที่มีสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมมีสำนึกต่อความสามารถและภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงการสร้างพลังเชื่อมโยงในรูปกลุ่มองค์กร

เครือข่ายและประชาสังคม

3. ปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้น สร้างจิตสำนึก เอื้ออำนวยกระบวนการพัฒนาสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรและร่วมเรียนรู้กับสมาชิกชุมชน

การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ประชาชนข่าย

2. การสร้างองค์กรและพลังเครือข่าย
3. การวางแผนระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ
4. การกระจายอำนาจ
5. การใช้หลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง การพึ่งตนเองแทนการพี่งพา
6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เหมาะสมให้กับประชาชน การพัฒนาทักษะเฉพาะด้านการตลาด
7. การพัฒนาศักยภาพผู้นำและเครือข่าย ให้มีความรู้ ความสามารถ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุนการจัดเวทีประชาคม

ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน

1. อุปสรรคด้านการเมือง เกิดจากการไม่ได้กระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ ตกอยู่ในกำมือของทหาร นายทุน และข้าราชการ

2. อุปสรรคด้านเศรษฐกิจ เกิดจากการขาดความสามารถในการพี่งตนเอง อำนาจการต่อรองมีน้อย กระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์

3. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม ขนบประเพณีในแต่ละพื้นที่ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เนื่องจากขัดต่อขนบธรรมเนียงประเพณีของชุมชน/เผ่า ฯลฯ

นอกจากนี้ ปรัชญา เวสารัชช์ (2526 ) กล่าวว่าปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคม เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ

1. ความแตกต่างในสังคม ด้านรายได้ อำนาจ และฐานะทางเศรษฐกิจ

2. ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย
3. ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแจกแจงทรัพยากร

 

จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน สรุปได้ดังนี้

1. ปัญหาด้านนโยบายและองค์กรภาครัฐ มี 2 ระดับ คือ

1.1 ระดับนโยบาย โครงสร้างทางการบริหาร โครงสร้างทางสังคม พบว่า นโยบายของรัฐไม่เอื้อต่อการพัฒนา อำนาจการตัดสินใจรวมศูนย์ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การบริหารและระบบเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มนายทุน  

1.2 ระดับปฏิบัติพบว่า เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ขาดการประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  ขาดการประสานงาน และการติดตาม/ประเมินผลที่เป็นระบบ

2. ปัญหาเกี่ยวกับประชาชน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

2.1 กลุ่มผู้นำ พบว่า มีการครอบงำความคิดประชาชน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ขาดความศรัทธาจากประชาชน

2.2 กลุ่มประชาชนทั่วไป พบว่า ประชาชนมีภาระด้านการประกอบอาชีพด้านครอบครัว ด้านสุขภาพร่างกายประชาชนขาดทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดเห็น/ผลประโยชน์การแบ่งพรรคแบ่งพวก การขาดความสามัคคี การขาดการศึกษา ขาดความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ  ขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม ไม่ศรัทธาในตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขาดการยอมรับในสิทธิและบทบาทสตรี

3. ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง

3.1 ด้านการเมือง  ขาดการกระจายอำนาจ ระบบการเมืองถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อย

3.2 ด้านเศรษฐกิจ  กระบวนการผลิต/ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม  กลไกของรัฐควบคุมระบบเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด ขาดกลไกทีมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร
3.3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม การแบ่งแยกเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ การขาดการศึกษา การครอบงำของผู้นำ และการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ความยากจนตกอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์

ที่มา http://www.cdd.go.th/kmcd

 

 
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2551   เวลา 08.30 – 15.30 น.
ณ ห้องประชุมบุรพรัตน์ ชั้น 3 อาคารคุ้มเกล้าฯ  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ

คำนำ

โครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช คือประชาชนในพื้นที่หมู่ ๒ แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยชุมชน  ๒๑ ชุมชน มีจำนวนประชากรประมาณ ๑๕,๒๖๕ คน ให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้การสร้างเครือข่ายให้ชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองด้านสุขภาพแล้ว สามารถเป็นแกนนำในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆ และมีส่วนร่วมในการเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนใกล้เคียงได้นำไปประยุกต์ใช้ เป็นวิธีการให้ประชาชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการได้มีส่วนร่วมโดยใช้วิธีเสวนาหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องหรือปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมานฉันท์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน อันเป็นการสร้างฐานของสังคมให้เข้มแข็งและสามารถจัดการด้านสุขภาพได้ด้วยชุมชนเองอย่างยั่งยืน และเพื่อให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายที่วางไว้จำเป็น ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนพี่เลี้ยงอาสาการพัฒนา โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงหน้าที่รับผิดชอบ กรอบแนวคิด วิธีการพัฒนา และผลลัพธ์ที่คาดหวังของการพัฒนา คณะกรรมการโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นคู่มือแก่ชุมชนพี่เลี้ยงได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป

                                                                                                กรกฎาคม ๒๕๕๑

 
สารบัญ

 

หน้า

  โครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

 

-           วัตถุประสงค์

 

-           เป้าหมายและเครื่องชี้วัด

 

-           ระยะเวลาดำเนินการ

-           กรอบแนวคิดการพัฒนา

-           นิยามศัพท์ที่ใช้ในโครงการ

 

-           ขั้นตอนและแผนการดำเนินโครงการ

 

-           เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน

 

การพัฒนาพี่เลี้ยงอาสาพัฒนาชุมชน

-           บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของพี่เลี้ยงอาสาพัฒนาชุมชน

-           ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม

 

ภาคผนวก

 

-           ผนวก ก รายชื่อคณะกรรมการโครงการฯ

 

-           ผนวก ข รายชื่อชุมชนในโครงการ

-           ผนวก ค ความรู้เกี่ยวกับชุมชนเข้มแข็ง

-           ผนวก ง แบบประเมินระดับความเข้มแข็งของชุมชน

 

 
แบบประเมินศักยภาพ การพึ่งตนเองด้านสาธารณสุขของชุมชน

 

1. ส่วนประกอบของแบบประเมิน

            แบบประเมินการพึ่งตนเองด้านสาธารณสุขของชุมชนนี้ ประกอบด้วยข้อคำถาม ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของตัวชี้วัด จำนวน 22 ข้อ แต่ละข้อมีคะแนนเท่ากับ 0 ถึง 2 คะแนน  คะแนนเต็มรวมทั้งสิ้น 44 คะแนน   โดยมีรายละเอียดดังนี้

            ตัวชี้วัด   1          : มีกลุ่มคน องค์กร บุคคล ของชุมชน ที่รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม การพัฒนาชุมชน                                                  ประกอบด้วย คำถาม 6 ข้อ คิดเป็น 12 คะแนน

            ตัวชี้วัด   2          : มีทุนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานในหมู่บ้าน

                                    ประกอบด้วย คำถาม 4 ข้อ คิดเป็น 8 คะแนน

            ตัวชี้วัด   3          : มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานในชุมชน

                                    ประกอบด้วย คำถาม 6 ข้อ  คิดเป็น 12 คะแนน

            ตัวชี้วัด   4          : มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกในชุมชน

                                    ประกอบด้วย คำถาม 3 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

            ตัวชี้วัด 5            : ประชาชนมีส่วนร่วมในกรกะบวนการพัฒนาต่างๆ

                                    ประกอบด้วย คำถาม 3 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

 

2. การใช้แบบประเมิน

            2.1        แบบประเมิน 1 ชุด ใช้สำหรับ  1  หมู่บ้าน

            2.2        ผู้ทำหน้าที่ในการประเมิน คือ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชน

            2.3        ความถี่ในการประเมินอย่างน้อยปีละ  1  ครั้ง (เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม)

            2.4        วิธีการประเมินให้ใช้กระบวนการกลุ่ม เช่น การสนทนากลุ่ม การประชุมกลุ่มแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประเมินร่วมตัดสินใจ  เลือกคำตอบโดยการทำเครื่องหมาย √  ลง ในช่องสี่เหลี่ยม ที่ตรงกับความเป็นจริง

            2.5        ลักษณะคำตอบในแต่ละข้อคำถาม ประกอบด้วย  3  ระดับ  คือ ระดับ  0  ระดับ  1  และระดับ  2

            2.6        เกณฑ์การให้คะแนน

                        ระดับ     0          เท่ากับ   0  คะแนน

                        ระดับ     1          เท่ากับ   1  คะแนน

                        ระดับ     2          เท่ากับ   2  คะแนน

             2.7        การวิเคราะห์และสรุปผล

                        คะแนนที่ได้จากการประเมินมาสรุปลง ในแบบสรุปผลการประเมิน   แล้ววิเคราะห์

                        1.) การวิเคราะห์การพึ่งตนเองในแต่ละตัวชี้วัด

                                    ตัวชี้วัด   1          : องค์กร/กำลังคน

                                                            ต่ำกว่า 6 คะแนน  ควรปรับปรุง

                                                            ตั้งแต่  6  คะแนนขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์  ควรพัฒนาและรักษาสภาพ

                                    ตัวชี้วัด   2          : ทุน

                                                            ต่ำกว่า 4 คะแนน  ควรปรับปรุง

                                                            ตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์  ควรพัฒนาและรักษาสภาพ

                                    ตัวชี้วัด   3          : การบริหารจัดการ

                                                            ต่ำกว่า 6  คะแนน  ควรปรับปรุง

                                                            ตั้งแต่ 6  คะแนนขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์  ควรพัฒนาและรักษาสภาพ

                                    ตัวชี้วัด   4          : กระบวนการเรียนรู้

                                                            ต่ำกว่า 3  คะแนน  ควรปรับปรุง

                                                            ตั้งแต่ 3  คะแนนขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์  ควรพัฒนาและรักษาสภาพ

                                    ตัวชี้วัด   5          : การมีส่วนร่วมของชุมชน

                                                            ต่ำกว่า 3  คะแนน  ควรปรับปรุง

                                                            ตั้งแต่ 3  คะแนนขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์  ควรพัฒนาและรักษาสภาพ

                        2.) การวิเคราะห์การพึ่งตนเองในภาพรวม

                                    ต่ำกว่า  22  คะแนน           หมายถึง  พึ่งตนเองได้ระดับต้น  (ควรปรับปรุง)

                                    ตั้งแต่ 22 – 24 คะแนน      หมายถึง  พึ่งตนเองได้ระดับที่ดี  (ควรพัฒนาและรักษาสภาพ)

 

                        อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ภาพรวมของการพึ่งตนเองต้องให้ความสำคัญกับคะแนนในแต่ละตัวชี้วัดย่อยด้วย  โดยในการคิดคะแนนรวมว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่นั้น  จะต้องดูจากคะแนนของตัวชี้วัดย่อยทุกตัวว่าผ่านเกณฑ์ ด้วย  มิใช่มีคะแนนสูงเพียงตัวใดตัวหนึ่ง  ในขณะที่ตัวอื่นตกเกณฑ์

 

3. การกำหนดแผนการแก้ปัญหาของหมู่บ้าน

                        หลังจากวิเคราะห์ระดับการพึ่งตนเองของหมู่บ้านจากคะแนนที่ได้แล้ว  ผู้ร่วมประเมินหารือพิจารณาตัวชี้วัดในแต่ละข้อที่ได้คะแนนต่ำกว่า 2   แล้วร่วมกันกำหนดแผนการแก้ปัญหาของหมู่บ้านเขียนลงในช่อง  แผนการแก้ปัญหาของหมู่บ้าน  แล้วใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

 

 

 

แบประเมินการพึ่งตนเองด้านสาธารณสุขของชุมชน

 

คำอธิบาย

1.       ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรวมกลุ่มประชุม พูดคุย ปรึกษาหารือกับ อสม.  ผู้นำชุมชน  ตัวแทนของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน  โดยใช้ประเด็นคำถามที่กำหนดแล้วสรุปร่วมกัน

2.       ทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง c ของข้อคำถาม  แล้วให้คะแนนรายข้อ (เลือกข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น)

3.       รวมคะแนนรายตัวชี้วัด  และคะแนนรวมทุกตัวชี้วัด

4.       สรุปภาพรวมของหมู่บ้านแล้ววางแผนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาร่วมกัน

 

ที่มา    สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน.  2542

 

 

แบบประเมินการพึ่งตนเองด้านสาธารณสุข

 

แนวคำถามในการประเมินคุณภาพตัวชี้วัด

หมายเหตุ

ตัวชี้วัดที่ 1  องค์กร / กำลังคน   : มีกลุ่มคน  องค์กร บุคคลของชุมชนที่รับผิดชอบดำเนินกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน

1) ในหมู่บ้านมีผู้นำที่หลากหลายในการพัฒนา

     c  0 มีเฉพาะอสม.

     c  1 มี อสม.และผู้นำที่จัดตั้งโดยราชการ (ผญบ.อบต.กม.     

             กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ฯลฯ)

     c  2  มีอสม. ผู้นำที่จัดตั้งโดยราชการ และกลุ่มที่ประชาชนจัดตั้งเอง (กลุ่มอาชีพ หมอพื้นบ้าน กลุ่มหนุ่มสาว ฯลฯ)

2) นอกจากผู้นำในข้อ 1 แล้ว  ในหมู่บ้านมีบุคคลอื่นๆ ที่มีความรู้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ) ในด้านต่างๆ เข้าร่วม  กิจกรรมการพัฒนา

     c  0  ไม่มี

     c  1  มีแต่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

     c  2  มีและเข้าร่วมกิจกรรม

3) ลักษณะกลุ่มคน/องค์กรส่วนใหญ่ในชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนา

     c  0  เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยราชการหรือหน่วยงาน 

                ภายนอก

     c  1  เป็นองค์กรที่ราชการหรือหน่วยงานภายนอกและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง

     c  2  เป็นองค์กรที่ ราชการหรือหน่วยงานภายนอก ผู้นำ 

                ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งหรือเป็น 

                องค์กร ที่ประกอบด้วยผู้แทนของทุก ๆ กลุ่ม

4) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มคนองค์กรส่วนใหญ่ในชุมชน

     c  0  ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

     c  1  เพื่อแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของชุมชน

     c  2  เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนและพัฒนาต่อเนื่องให้มีชีวิต

                 ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  สามารถเป็นแบบอย่างแก่

                ชุมชนอื่นได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 3 – 6 ให้พิจารณาจากองค์กรส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน

แนวคำถามในการประเมินคุณภาพตัวชี้วัด

หมายเหตุ

5) ลักษณะการประสานงานระหว่างกลุ่มคน / องค์กรในหมู่บ้าน

     c  0  ไม่มีการประสานงาน

     c  1  มีการประสานงานเป็นครั้งคราว

     c  2  มีการประสานงานสม่ำเสมอและดำเนินงานร่วมกัน

                อย่างต่อเนื่อง

6) เครือข่ายการพัฒนาของกลุ่มคน  องค์กรในหมู่บ้านกับหน่วยงานอื่นภายนอกหมู่บ้าน

     c  0  ไม่มีเครือข่ายกับหมู่บ้านอื่น

     c  1  มีเครือข่ายเฉพาะกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข

     c  2  มีเครือข่ายกับหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงาน

                ด้านอื่นๆ ด้วย

 

สรุป  ตัวชี้วัดเรื่ององค์กร

(รวม..................................... คะแนน)

 

ตัวชี้วัดที่ 2  ทุน : มีทุนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานในหมู่บ้าน

1) การระดมทุนที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข

     c  0  ไม่มีการระดมทุน

     c  1  เป็นการระดมเฉพาะกิจ / ครั้งคราว

     c  2  จัดตั้งเป็นกองทุนในหมู่บ้าน

2) แหล่งที่มาของทุนที่ใช้ในการพัฒนา

     c  0  ได้ตามระบบการจัดสรรปกติของราชการ

     c  1  นอกเหนือจากการจัดสรรของราชการ มีแสวงหาการ

                สนับสนุนจากองค์กรอื่นๆ ภายนอก

     c  2  นอกเหนือจากการจัดสรรของราชการ มีการแสวงหา

                การสนับสนุนจากองค์กรอื่น ภายนอกร่วมกับการ     

                ระดมทุน ภายในชุมชน

3) การจัดการที่จะให้เกิดการหมุนเวียนของทุน

     c  0  ไม่มีการจัดการ

     c  1  มีการจัดการเพื่อให้เกิดการหมุนเวียน

     c  2  มีการจัดการให้มีทุนหมุนเวียนและมีการงอกเงยของ

                ทุน

 

 

 

ทุน  หมายถึง เงิน หรือ วัสดุ สิ่งของศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ

(ไม่รวมบุคคล)

 

 

 

 

 

 

 

 

ให้ดูภาพรวมของการจัดการกองทุนในหมู่บ้าน เช่น วิธีเพิ่มรายได้ให้กองทุน ระบบบริหารกองทุน

 

แนวคำถามในการประเมินคุณภาพตัวชี้วัด

หมายเหตุ

4) การนำผลประโยชน์จากกองทุนไปใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุข

      c  0  ไม่มีการแบ่งปันหรือนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา

      c  1  มีการแบ่งปันและใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ (ไม่รวม

                 สาธารณสุข)

      c  2 นำผลประโยชน์ไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านในด้าน

                ต่างๆ รวมถึงสาธารณสุข

นำผลประโยชน์ไปใช้ในการปัญหาอย่างไรบ้าง ด้านสาธารณสุขหรือด้านอื่นๆ

สรุป  ตัวชี้วัดเรื่อง ทุน

(รวม..................................... คะแนน)

 

ตัวชี้วัดที่ 3  การบริหารจัดการ : ชุมชนมีการจัดการเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชน

1) ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชน

      c  0  มีเฉพาะข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของหมู่บ้าน

      c  1  มีข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและข้อมูลที่บอกถึงปัญหา

                 สาธารณสุขของหมู่บ้าน

      c  2  มีข้อมูลพื้นฐานทั่วไป  ข้อมูลที่บอกถึงปัญหา

                 สาธารณสุขของหมู่บ้านและของพื้นที่ใกล้เคียง

2) การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนา

     c  0  ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์

     c  1  มีการเผยแพร่ที่ศูนย์ข้อมูลหรือเผยแพร่ผ่าน

                 ระบบสื่อสารในหมู่บ้านให้ประชาชนรับรู้

     c  2  มีการเผยแพร่และนำไปใช้ในการวางแผนแก้ไข

                ปัญหาของหมู่บ้าน

3) แผนงาน/โครงการ กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาของหมู่บ้าน

     c  0  เป็นแผนงานที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดทำให้

     c  1  เป็นแผนงานที่ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำ

     c  2  เป็นแผนงานที่ได้จากการระดมความคิดจาก

                ประชาชนในหมู่บ้าน

 

 

 

 

ที่เป็นปัจจุบัน  หมายถึง ไม่เกิน 1 ปี ย้อนหลัง

 

 

 

 

 

ระบบสื่อสารในหมู่บ้าน  หมายถึง สื่อบุคคล  หอกระจายข่าว  สิ่งพิมพ์ ฯลฯ

 

 

 

 

ให้พิจารณาแผนงานเพื่อแก้ปัญหาธารณสุขเป็นหลัก

แผนงานอาจจัดทำในลักษณะของเอกสารหรือข้อตกลงจากการประชุม

 

 

 

แนวคำถามในการประเมินคุณภาพตัวชี้วัด

หมายเหตุ

4) การดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้

     c  0  ไม่มีการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด

     c  1  มีการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้

     c  2  มีการจัดกิจกรรมตามแผนงานและติดตาม

                ประเมินผลของกิจกรรม

5) การนำทรัพยากรของชุมชน อันได้แก่ วัตถุดิบ  ภูมิปัญญา และธรรมชาติของท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวม

     c  0  ไม่มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์

     c  1  มีการนำทรัพยากรมาใช้ในการแก้ปัญหาของหมู่บ้าน

     c  2  มีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างรู้คุณค่าเพิ่มคุณค่าและ

                จัดการให้เกิดการทดแทนทรัพยากรที่ใช้ไป

6) การจัดสรรผลประโยชน์ของชุมชน

     c  0  ได้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มผู้ดำเนินการ

     c  1  ได้ประโยชน์เฉพาะประชาชนบางกลุ่ม

     c  2  ได้ประโยชน์ทั่วถึง  รวมถึงกลุ่มด้อยโอกาส

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลประโยชน์  หมายถึง  ผลผลิตที่ได้จากทรัพยากรในชุมชน  สิ่งสนับสนุน  สิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น

สรุป  ตัวชี้วัดเรื่อง การบริหารจัดการ

(รวม..................................... คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 4 กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ในชุมชน

1) มีแหล่งความรู้ในชุมชน

     c  0 ไม่มีแหล่งความรู้

     c  1  มีแต่ใช้ประโยชน์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน

                ในโรงเรียน

     c  2  มีและใช้ประโยชน์การถ่ายทอดความรู้แก่

                กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ในชุมชน

2) วิธีการถ่ายทอดความรู้ในชุมชน

     c  0  เอกสาร  สิ่งพิมพ์  หอกระจายข่าว

     c  1  การประชุม  อบรม

     c  2  มีการจัดกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือ

                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน

 

 

แหล่งความรู้  อาจเป็นบุคคลที่มีความรู้หรือสถานที่รวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ

 

 

 

แนวคำถามในการประเมินคุณภาพตัวชี้วัด

หมายเหตุ

3) กลุ่มเป้าหมายที่รับการถ่ายทอดความรู้

     c  0  มีการถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลานในครอบครัว

     c  1  มีการถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นภายในชุมชน

     c  2  มีการถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นทั้งภายในและ  

                ภายนอกชุมชน

 

 

 

 

 

 

สรุป  ตัวชี้วัดเรื่อง  กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

(รวม..................................... คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 5 การมีส่วนร่วมในชุมชน : ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนกี่พัฒนาต่างๆ

1) กลุ่มบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ มีความหลากหลาย

     c  0 มีเฉพาะกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้อง

     c  1  มีกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ  ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้อง  และผู้นำ 

                ชุมชนกลุ่มอื่นๆ

     c  2  มีกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ  ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องผู้นำชุมชน

                กลุ่มอื่นๆ  และ ประชาชนในหมู่บ้าน

2) สัดส่วนของประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา

     c  0  น้อยกว่าครึ่งของกลุ่มเป้าหมาย (<50%)

     c  1  3 ใน 4  ของกลุ่มเป้าหมาย (50 - 75%)

     c  2  เกือบทั้งหมดของกลุ่มเป้าหมาย (>75%)

3) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน  ในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนา

     c  0  ร่วมทำกิจกรรม

     c  1  ร่วมคิด และร่วมทำกิจกรรม

     c  2  ร่วมคิด  ร่วมและร่วมประเมินตรวจสอบ

 

 

 

เน้นความหลากหลายของกลุ่มผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาด้านต่างๆ ของหมู่บ้าน เช่น กลุ่มแม่บ้าน  ผู้สูงอายุ  เยาวชน  อาสาสมัคร ฯลฯ

 

 

 

ให้กลุ่มเลือกแผนงาน  โครงการที่คนทั้งชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม  ถ้าไม่มีให้เลือกกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะแล้วพิจารณาจากจำนวนกลุ่มเป้าหมาย

 

พิจารณาว่ากิจกรรมการพัฒนาที่เกิดขึ้น ในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร

สรุป  ตัวชี้วัดเรื่อง การมีส่วนร่วมในชุมชน

(รวม..................................... คะแนน)

 

 

 

การวิเคราะห์ผลการประเมิน

 

การวิเคราะห์ผลรายตัวชี้วัด

 

ตัวชี้วัดที่ 1 องค์กร / กำลังคน

            การวิเคราะห์ผล

            ในหมวดนี่มีคะแนนรวม 12 คะแนน การแปลผลในระดับการพึ่งตนเองของชุมชน ในด้านองค์กร / กำลังคน  มีดังนี้

            ได้ต่ำกว่า 6 คะแนน  หมายความว่า องค์กร / กำลังคน  ในชุมชนที่มีอยู่ยังมีความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับของการเข้าร่วมในการรับทราบ ให้การยอมรับ ให้ความร่วมมือและร่วมดำเนินกิจกรรม เมื่อมีการข้อร้องหรือประสานงานจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ระดับการพึ่งตนเองจึงควรได้รับการปรับปรุงและยกระดับมากขึ้น

            ได้ตั้งแต่ 6 – 12 คะแนน หมายความว่า องค์กร / กำลังคน ในชุมชนที่มีอยู่ มีความสามารถและมีศักยภาพในการพึ่งตนเองในระดับที่คิดริเริ่ม เช่น สามารถบริหารงาน  ขยายเครือข่ายการพัฒนาไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งสามารถที่จะตัดสินใจหาทางเลือกต่างๆ ที่นำมาใช้พัฒนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นระดับการพึ่งตนเองที่เป็นเป้าประสงค์สูงสุดของการพัฒนา

           

ตัวชี้วัดที่ 2  ทุน

            ในหมวดนี้มีคะแนนรวม 8 คะแนน  การแปลผลระดับการพึ่งตนเองของชุมชน ในหมวดนี้มีดังนี้

            ได้ต่ำกว่า 4 คะแนน หมายความว่า ทุและแหล่งทุนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน  ส่วนมากจะเป็นทุนที่ได้รับจากการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ   มากกว่าที่จะเป็นการแสวงหาหรือการเข้ามาร่วมของประชาชน องค์กรอื่นๆ ระดับการพึ่งตนเองในเรื่องทุน / แหล่งทุน  จึงควรต้องหาวิธีการพัฒนายกระดับให้สูงขึ้น

 

            ได้ตั้งแต่ 4 – 8 คะแนน หมายความว่า ทุนและแหล่งทุนที่หมู่บ้านใช้ในการพัฒนามีการกระจายและมีความครอบคลุมทั้งจำนวนทุนและแหล่งทุน  แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของหมู่บ้านที่จะนำทุน  ทรัพยากรต่างๆ มาพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง

 

ตัวชี้วัดที่ 3  การบริหารจัดการ

            ในหมวดนี้มีคะแนนรวม 12 คะแนน  การแปลผลระดับการพึ่งตนเองของชุมชน ในหมวดนี้มีดังนี้

            ได้ต่ำกว่า 6 คะแนน หมายความว่า ระดับการพึ่งตนเองของชุมชน ในด้านการบริหารจัดการยังอยู่ในกลุ่มคน / องค์กร เพียงบางกลุ่ม  อีกทั้งในการวางแผนแก้ปัญหาและการพัฒนายังเป็นการดำเนินการตามการชี้นำของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งยังไม่สามารถที่จะสะท้อนภาพของปัญหาและการพัฒนาของหมู่บ้านได้อย่างแท้จริง

            ได้ตั้งแต่ 6 – 12 คะแนน หมายความว่า ระดับการพึ่งตนเองของชุมชน ในด้านการบริหารจัดการมีระดับที่สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการวางแผนการแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม ทำให้ทิศทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น  ซึ่งทำให้มีแนวโน้มนางบวกที่จะทำให้ผลการพัฒนามีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

ตัวชี้วัดที่ 4 กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

            ในหมวดนี้มีคะแนน 6 คะแนน การแปลผลระดับการพึ่งตนเอง  ของชุมชนในหมวดนี้มีดังนี้

            ได้ต่ำกว่า 3 คะแนน  หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน  ยังเป็นการเรียนรู้ตามนโยบายที่กำหนดโดยภาครัฐ การเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางที่บอกให้ทราบ  ชี้แจงให้ฟังมากกว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  โดยความต้องการของขุมชน

            ได้ตั้งแต่ 3 – 6 คะแนน หมายความว่า ระดับการพึ่งตนเองในด้าน การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งด้านการชี้แจงให้ฟัง  การเรียนรู้จากปัญหาที่ชุมชนต้องการให้หาวิธีการแก้ไขกระบวนการเรียนรู้ได้นำทั้งเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ผสมผสานกัน รวมทั้งมีกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการสอนกันเองระหว่างหมู่บ้าน  เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ตัวชี้วัดที่ 5  การมีส่วนร่วมของชุมชน

            ในหมวดนี้มีคะแนน 6 คะแนน  การแปลผลระดับการพึ่งตนเองของชุมชนในหมวดนี้มีดังนี้

            ได้ต่ำกว่า 3 คะแนน หมายความว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาของชุมชน มีระดับการพึ่งตนเองในระดับที่เข้ามามีส่วนร่วมเพียง กลุ่มคน / องค์กร ผู้นำชุมชน  ประชาชนเข้ามามีส่วนเพียงแค่ร่วมคิดในกระบวนการวางแผน  และมีจำนวนที่เข้าร่วมกิจกรรมในระดับที่น้อย

            ได้ต่ำกว่า 3 – 6 คะแนน หมายความว่า การมีส่วนร่วมของชุมชน มีระดับการพึ่งตนเอง ในระดับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่าย  ในชุมชนสามารถรวมตัวกันเข้ามาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำกิจกรรมและร่วมควบคุม  ประเมินและตรวจสอบการดำเนินงานของชุมชนได้ด้วยตนเอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมมา ซึ่งส่งผลทำให้การพัฒนามีความสำเร็จและยั่งยืน

การวิเคราะห์ผลภาพรวมของการพึ่งตนเอง / ความเข้มแข็งของชุมชน ด้านสาธารณสุข

            การประเมินภาพรวมของการพึ่งตนเอง ได้แบ่งระดับการพึ่งตนองเป็น 4  ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีการแปล ดังนี้

            ผลรวมคะแนน ต่ำกว่า 11 คะแนน   ชุมชนมีความเข้มแข็งน้อยต้องให้การช่วยเหลือ และสนับสนุนอย่างมาก

ผลรวมของคะแนน อยู่ระหว่าง 12-22 คะแนน   ชุมชนมีความเข้มแข็งพอใช้  แต่ยังต้องการการสนับสนุนในบางเรื่อง

ผลรวมของคะแนน อยู่ระหว่าง 23-33 คะแนน   ชุมชนเข้มแข็งดี สามารถสร้างสรรค์งานสู่ความสำเร็จได้เป็นส่วนใหญ่

ผลรวมของคะแนน อยู่ระหว่าง 34-44 คะแนน   ชุมชนเข้มแข็งดีมาก สามารถสร้างสรรค์งานสู่ความสำเร็จได้  สามารถเป็นแบบอย่างและถ่ายทอดสู่แก่ชุมชนอื่นได้

 

 

แบบสรุปผลการประเมิน

 

หมู่บ้าน................................ หมู่.......... ตำบล................... อำเภอ.......................... จังหวัด....................

 

ตัวชี้วัด

คะแนน

แผนการแก้ปัญหาของหมู่บ้าน

เต็ม

ได้

1. องค์กร / กำลังคน

12

 

 

2. ทุน

8

 

 

3. การบริหารจัดการ

12

 

 

4. กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

6

 

 

5. การมีส่วนร่วมของชุมชน

6

 

 

รวม

44

 

 

 

ระดับความเข้มแข็งของชุมชน =

แบบประเมินความเข้มแข็งของชุมชนด้านสุขภาพ ชุมชน.........................................................

ตัวชี้วัด

คะแนน

0

1

2

1. ด้านองค์กร / กำลังคน

 

 

 

    1.1 ในชุมชนมีผู้นำที่หลากหลายในการพัฒนา

 

 

 

    1.2 ในชุมชนมีบุคคลอื่นๆที่มีความรู้ในด้านต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา

 

 

 

    1.3 ลักษณะกลุ่มคน/องค์กรส่วนใหญ่ในชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมการพัฒนา

 

 

 

    1.4 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มคนองค์กรส่วนใหญ่ในชุมชน

 

 

 

    1.5 ลักษณะการปะสานงานระหว่างกลุ่มคน/องค์กรในชุมชน

 

 

 

    1.6 เครือข่ายการพัฒนาของกลุ่มคน องค์กรในหมู่บ้านกับหน่วยงานอื่นภายนอกหมู่บ้าน

 

 

 

รวมคะแนน

 

2.ทุน : มีทุนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานในชุมชน

 

 

 

    2.1 การระดมที่ใช้ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข

 

 

 

    2.2 แหล่งที่มาของทุนที่ใช้ในการพัฒนา

 

 

 

    2.3 การจัดการที่จะให้เกิดการหมุนเวียนของทุน

 

 

 

    2.4 การนำผลประโยชน์จากกองทุนไปใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุข

 

 

 

รวมคะแนน

 

3.การบริหารจัดการ : ชุมชนมีการจัดการเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชน

 

 

 

    3.1 มีข้อมูลชุมชนที่เป็นปัจจุบัน เพื่อในการพัฒนาชุมชน

 

 

 

    3.2 การนำข้อมูลชมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนา

 

 

 

    3.3 แผนงาน/โครงการ กิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาชุมชน

 

 

 

    3.4 การดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้

 

 

 

    3.5 การนำทรัพยากรของชุมชน อันได้แก่ วัตถุดิบ ภูมิปัญญาและธรรมชาติของท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวม

 

 

 

    3.6 การจัดสรรประโยชน์ของชุมชน

 

 

 

รวมคะแนน

 

4. กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน : มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ในชุมน

 

 

 

    4.1 มีแหล่งความรู้ในชุมชน

 

 

 

    4.2 วิธีการถ่ายทอดความรู้ในชุมชน

 

 

 

    4.3  กลุ่มเป้าหมายที่รับการถ่ายทอดความรู้

 

 

 

รวมคะแนน

 

5.การมีส่วนร่วมของชุมชน : ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาต่างๆ

 

 

 

    5.1 กลุ่มบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มีความหลากหลาย

 

 

 

    5.2 สัดส่วนของประชาชนที่เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา

 

 

 

    5.3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนา

 

 

 

รวมคะแนน

 

 

รวมคะแนนตัวชี้วัดที่ 1 - 5

 

 

สรุประดับความเข้มแข็ง

 

 


  Hits: 776 [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 ๑.๑ คำสั่งตั้งคณะกรรมการ (22/2/2553)
 ๑.๓ ตัวอย่างเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ (22/2/2553)
 ๑.๔ รายงานประชุม (22/2/2553)
 ภาพประชุมคณะกรรมการ (22/2/2553)
จำนวน 4 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ ]  
  เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง