โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
หน่วยงานสนับสนุนและบริการ  ศูนย์คอมพิวเตอร์    ข้อมูลหน่วย

ประวัติ ... ความเป็นมาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 
           รงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ให้บริการตรวจรักษาพยาบาล แก่ทหาร  ข้าราชการ ครอบครัว และประชาชนทั่วไป แต่เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยมารับการรักษาเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตลอด ดังนั้นปริมาณข้อมูลการรักษาพยาบาลจึงมีเป็นจำนวนมากมาย
ซึ่งยากแก่การบริหาร จัดการ รวมทั้งแพทย์ตามกองต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมีความตื่นตัวในการเสนอผลงานด้านวิชาการในการประชุมวิชาการประจำปีของโรงพยาบาลอย่างมาก ทำให้แพทย์ของโรงพยาบาลมีความคิดและข้อเสนอถึงฝ่ายบริหารให้ทำการปรับปรุงแผนกทะเบียนสถิติ ในด้านการจัดเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่มารับการรักษาพยาบาล
     
    
          
ลายปี พ.ศ. ๒๕๒๓  ทางโรงพยาบาลได้มอบหมายให้   น.ท.อวยชัย   เปลื้องประสิทธิ์ ทำการปรับปรุงแผนกทะเบียนสถิติ ทำให้สามารถจัดเก็บแฟ้มประวัติผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบ และรายงานสถิติผู้ป่วยได้เกือบสมบูรณ์ แต่ปัญหาในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ก็ยังมีอุปสรรคมากมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวฝ่ายบริหารของโรงพยาบาลในสมัยนั้น และ น.ท.อวยชัย เปลื้องประสิทธิ์  หัวหน้าแผนกทะเบียนสถิติ จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับการพัฒนาระบบงาน   และบริหารข้อมูลในโรงพยาบาลให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

      

        นปี พ.ศ. ๒๕๒๔  หัวหน้าแผนกทะเบียนและสถิติได้ขอความร่วมมือจาก รศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วางแผนวิเคราะห์ระบบงานทะเบียนผู้ป่วยใน ซี่งแผนกทะเบียนและสถิติก็สามารถรายงานสถิติผู้ป่วยในประจำเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม ๒๕๒๔  โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ ได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๕  จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ฝ่ายบริหารของโรงพยาบาล และหัวหน้าแผนกทะเบียนสถิติ  มีความมั่นใจที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบงานอื่น ๆ ของโรงพยาบาลต่อไปจึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการใช้คอมพิวเตอร์ขึ้น โดยมีหน้าที่ดำเนินการวิเคราะห์เพื่อวางระบบงานของโรงพยาบาลใหม่ และวางแผนจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในอนาคต คณะกรรมการได้พิจารณาถึงโครงการและทำการวิเคราะห์ระบบ โดยจ้างผู้ชำนาญการจากสถาบันการศึกษา ๒ แห่ง คือ สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตคุณทหารลาดกระบัง และจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมดำเนินการ

           

       ปี พ.ศ. ๒๕๒๕  คณะกรรมการโครงการคอมพิวเตอร์ของกองทัพอากาศ มีคำสั่งให้ทุกหน่วยใช้งานร่วมกับเครื่อง BURROUGH 6700 ของสำนักวิจัยระบบคำนวณ ศวอ.ทอ. แต่คณะกรรมการของโรงพยาบาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ปริมาณข้อมูลและงานต่าง ๆ  ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และต้องดำเนินการให้ทันต่อการศึกษาวิจัย และการบริการรักษาผู้ป่วย อีกทั้งงานบางส่วนของโรงพยาบาลเป็นงานที่จำเป็นต้องดำเนินการตลอด ๒๔ ชั่วโมง หากใช้ระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกับสำนักวิจัยระบบคำนวณ ศวอ.ทอ. จะมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลของกองทัพอากาศ ดังนั้น เพื่อปรับปรุงด้านการบริการผู้ป่วยให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น คณะกรรมการองโรงพยาบาลจึงได้เสนอความต้องการกับคณะกรรมการโครงการคอมพิวเตอร์กองทัพอากาศ ขอมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินการเอง

           

        ปี พ.ศ. ๒๕๒๗  พล.อ.ต. ประกอบ  บุรพรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ในสมัยนั้น ได้แต่งตั้ง น.อ.อวยชัย  เปลื้องประสิทธิ์  เป็นประธานคณะกรรมการศูนย์คอมพิวเตอร์ ทำการจัดวางแผนระบบงานคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาลโดยได้แนวคิดจากแพทย์และเจ้าหน้าที่กองต่าง ๆ ในที่สุดคณะกรรมการได้พิจารณาเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม  คือเครื่อง PERKIN ELMER 3230 จากบริษัทล็อกซเลย์ฯ        ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทโปรเฟสชั่นแนลคอมพิวเตอร์ จำกัดโดยวิธีการเช่า และในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๘  ได้มีการลงนามเซ็นสัญญาเช่าโดยสัญญามีกำหนด ๓ ปี คือ ตั้งแต่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๘  ถึง ๒๙ กันยายน ๒๕๓๑  ในวงเงินประมาณ ๑๔ ล้านบาท และได้จัดจ้างบริษัทล็อกซเลย์ฯ เป็นผู้พัฒนาโปรแกรม โดยได้เริ่มมีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ และเริ่มพัฒนาระบบ ซึ่งได้พัฒนาระบบเวชระเบียนเป็นระบบแรก มีการบันทึกข้อมูลย้อนหลัง ๕ ปี และในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๙  ได้มีพิธีเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์อย่างเป็นทางการ โดยได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด

 
       รงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จึงนับเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและนอกประเทศ ได้มาศึกษาและนำไปพัฒนาระบบของตัวเองต่อไป ต่อมาในปี ๒๕๓๒  เครื่อง PERKIN ELMER 3230  ที่ใช้อยู่เดิมไม่สามารถรองรับปริมาณและข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่จนกระทั้งปี พ.ศ. ๒๕๓๔  ศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้จัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่เข้ามาใช้งาน โดยได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณ ๓๐ ล้านบาทจากมูลนิธิคุ้มเกล้าฯ ในการจัดหาเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
CONCURRENT รุ่น MICRO 5 ES และเครื่องลูกข่าย จำนวน ๑๒๐ ชุด  เพื่อติดตั้งให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้งานรวมทั้งสิ้น ๓๒ ระบบ

 
                                                 เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ CONCURRENT รุ่น MICRO 5 ES
                 
 
 
 
    
 
         

  Hits: 851 Rating( ) ( 1 vote) [Rate it.]  

    เนื้อหาในหมวดนี้  
 
 พิธีการเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์ (7/2/2552)
  ผลการปฏิบัติงาน ในอดีต (7/2/2552)
จำนวน 2 เนื้อหาทั้งหมด หน้าที่   [ ]