รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
งานพัฒนาหน่วย ในด้านต่างๆ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
 
ความรู้สู่ประชาชน
 
สิทธิประกันสุขภาพ
 
สิทธิประกันสังคม
 
สิทธิ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
สิทธิ กรมบัญชีกลาง
 
หลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิการรักษา
 
การจัดการความรู้
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม.ppt
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • กิจกรรมที่๔
  •  


    ๔.๒ รายงานสรุปผลการเยี่ยมติดตามการพัฒนาของแต่ละชุมชน

    รายงานสรุปผลการเยี่ยมติดตามการพัฒนาของแต่ละชุมชน
    “ชุมชนสัญจร........บนเส้นทางการพัฒนา”

             หลังสิ้นสุดการอบรม แต่ละชุมชนแยกย้ายกันไปดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ตั้งใจไว้ โดยมีทีมคณะกรรมการร่วมกับพี่เลี้ยงไปเยี่ยมสัญจรให้คำปรึกษา ให้กำลังใจในการทำงาน และร่วมกันประเมินชุมชนก่อนสิ้นสุดโครงการ  จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะเวลา ๑ ปี สมาชิกชุมชนที่ร่วมโครงการ ได้ร่วมแรงร่วมใจให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี มีการร่วมกันคิดปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมต่อยอดกิจกรรมพัฒนาชุมชนแต่ละแห่งอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และการบริหารจัดการด้านการพัฒนาชุมชน มองเห็นภาพความก้าวหน้าและทิศทางในการพัฒนาต่อไป และหลายชุมชนมีความมุ่งมั่นและได้ดำเนินการพัฒนาจนเป็นที่น่ายกย่องชื่นชม รวมทั้งชุมชนพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ชุมชน ซึ่งไม่ได้อยู่นิ่งเฉย นอกจากจะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ชุมชนเป้าหมายขยายผลการพัฒนาต่างๆ ตามคำสัญญาที่ว่ามุ่งมั่น เสียสละ อาสา เพื่อพัฒนาชุมชนแล้ว ยังดำเนินกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขอนำเสนอเป็นเรื่องเล่าของแต่ละกลุ่มดังนี้

                 
             

      กลุ่มที่ ๑

      ชุมชนพี่เลี้ยง คือ

      ชุมชนเพิ่มสิน ๑-

      ชุมชนเป้าหมายขยายผลคือ  

      ชุมชนสนามมวยเก่า ชุมชนดวงมณี ๑-๒ ชุมชนรัชธานี ๕-๑ และชุมชนรัชธานี ๕- 

      
      
    . ชุมชนพี่เลี้ยง : ชุมชนเพิ่มสิน ๑-

     เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยหมู่บ้านเพิ่มสินโครงการ ๑ หมู่บ้านเพิ่มสินโครงการ ๒ และผู้อยู่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ ๔ แขวงคลองถนน เขตสายไหม อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ สน.บางเขน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๘๐ ไร่ มีประชาชนอาศัยอยู่ ๔๑๕ หลังคาเรือน ได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมชนขึ้นกับ กทม. เมื่อปี พ.. ๒๕๓๔ ปัจจุบันมีคณะกรรมการชุมชน จำนวน ๑๖ คนชุมชนเพิ่มสิน ๑ – ๒ เป็นชุมชนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างในการศึกษาดูงานของชุมชนต่างๆ ทั้งจากในประเทศ เช่น ส่วนราชการ หน่วยงาน ชุมชนต่างๆ และต่างประเทศ เช่น ผู้แทนจากประเทศภูฏานมาเยี่ยมชม เมื่อ ๑๐ ก.. ๕๐ ผลงานที่ภาคภูมิใจ ตัวอย่างเช่น โครงการอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน มีอาสาสมัครซึ่งเป็นตำรวจบ้าน ตรวจตราและเฝ้าระวังชุมชน และขยายเป็นเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด (ภาคประชาชน) เขตสายไหม

     ชุมชนเพิ่มสิน ๑ – ๒ ได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนนำร่อง ๑ ใน ๒๐ ชุมชน ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ กทม.เมื่อปี ๒๕๕๐ โครงการธรรมมะชุมชน ภายใต้แผนแม่บทชุมชนได้รับการคัดเลือกให้เป็นกิจกรรมต้นแบบนำไปแสดงที่งานมหกรรมสมัชชาแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การประชุมไบเทคบางนา เมื่อ ๑๕–๑๗ ต.. ๕๐ และยังมีกิจกรรมตามโครงการต่างๆ เช่น โครงการสวัสดิการเงินออมวันละบาท โครงการครอบครัวอบอุ่น การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งทำให้ ชุมชนและแกนนำได้รับรางวัลต่างๆ อาทิเช่น รางวัลชุมชนปลอดภัย จากการประชุมนานาชาติภูมิภาคเอเชียครั้งที่๔ รางวัลอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นสาขาป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดระดับกรุงเทพมหานคร รางวัลอาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ ในชุมชนเพิ่มสิน๑-๒ ยังมีกลุ่มองค์กรต่างๆ คือ กองทุนแม่ของแผ่นดินชุมชนเพิ่มสิน ศูนย์สุขภาพชุมชน สาขาศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สำนักอนามัย กทม. กองทุนหมู่บ้าน ชุมชน ชมรมผู้สูงอายุชุมชน สาขาสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำกลุ่มเขตที่ ๓ สภาชุมชนเพิ่มสิน ๑ - (พื้นที่การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบของ พ...) ชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มเยาวชนต้นกล้าชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชน และกลุ่มสวัสดิการชุมชน/กลุ่มฌาปนกิจชุมชน แกนนำชุมชนบอกเล่าถึงความสำเร็จต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาว่า เกิดจากชุมชนมีการรวมตัวกันทำงานเป็นทีม และมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการร่วมมือเป็นอย่างดี ของประชาชนทั้งในชุมชนและภายนอกชุมชน ส่งผลให้ชุมชนประสบความสำเร็จ เป็นที่รู้จักและเป็นชุมชนตัวอย่างของเขตสายไหม ในด้านการเป็นพี่เลี้ยง ชุมชนมีผู้นำและแกนนำที่เสียสละ มุ่งมั่นและพร้อมให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือชุมชนต่างๆ เช่น เป็นแกนนำในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน และริเริ่มจัดตั้งสภาเยาวชนชุมชนเขตสายไหม เป็นผู้นำในระดับเครือข่ายทั้งในด้านชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยวิถีชุมชน และสภาองค์กรชุมชนเขตสายไหม นับเป็นชุมชนที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน ประชาชนเข้าใจและให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม ทำให้เห็นการพัฒนาในชุมชนอย่างเด่นชัดและต่อเนื่อง จึงเป็นสถานที่เรียนรู้และที่ดูงานของชุมชนและองค์กรต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

    ชุมชนเพิ่มสิน ๑-๒ ได้ปฏิบัติบทบาทเป็นพี่เลี้ยงในโครงการครั้งนี้อย่างเข้มแข็ง โดยได้สนับสนุนให้คำปรึกษา ชี้แนะ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้แก่ ชุมชนในความรับผิดชอบได้มีผลงานการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม  ดังนี้

      

    .๑ ชุมชนสนามมวยเก่า

    ตั้งอยู่บริเวณเลียบคลอง ๒ ตั้งแต่สะพานเพิ่มสิน (ขึ้นไปด้านสะพานใหม่) จนถึงท่าทรายบริเวณปั๊ม ปตท. พื้นที่ของชุมชนด้านหนึ่งจะติดริมคลอง อีกด้านจะติดถนน ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกบ้านในพื้นที่เลียบคลองซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมชลประทาน และอีกส่วนปลูกบ้านอยู่บนพื้นที่ด้านติดถนน ซึ่งเป็นพื้นที่ของกองทัพอากาศ ลักษณะชุมชนจึงมีบ้านเรือนอยู่สองฝั่งโดยมีถนนผ่านกลางชุมชน บ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ปลูกเองไม่ถาวรและชิดติดกันเป็นแถวตลอดแนวคลองและถนน ไม่มีพื้นที่ส่วน กลาง สำหรับทำกิจกรรม สิ่งแวดล้อมมีความเสี่ยงเรื่องมลพิษมาก เพราะด้านที่ติดถนนริมคลองช่วงฤดูแล้งน้ำจะแห้ง คลองจะส่งกลิ่นเหม็น ส่วนด้านที่ติดถนน รถวิ่งตลอดเวลามีฝุ่นควันจำนวนมาก ไม่ปลอดภัยสำหรับการเดินเท้า ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและค้าขาย ชุมชนนี้ไม่สามารถจัดตั้งเป็นชุมชนกับสำนักงานเขตได้ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของกรมชลประทานและรอการเวนคืน แต่มีแกนนำที่เสียสละเห็นประโยชน์ของชุมชนเป็นสำคัญ โดยมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำโครงการบ้านมั่นคง เพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบชุมชนสนามมวยเก่าให้ความสนใจกิจกรรมสำหรับเยาวชน เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เนื่องจากในชุมชนยังมีปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดมาก และเป็นพื้นที่แออัด เยาวชนในชุมชนมีความเสี่ยงต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ง่าย ชุมชนมีความพยายามที่จะพัฒนาชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยส่งเยาวชนไปเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ผลงานที่ดำเนินการคือส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนในชุมชน ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเยาวชนเขตสายไหม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้มีความสามารถ ริเริ่มพัฒนาการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนในชุมชนต่อไป แม้ชุมชนจะไม่มีความพร้อมเรื่องสถานที่ในการรวมตัวสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ แต่ก็เข้าร่วมกับเครือข่ายชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่เขตสายไหม เช่นกิจกรรมเยาวชนป้องกันและแก้ไขยาเสพติด, ตำรวจบ้าน, ตำรวจจิ๋ว, และอาสาสมัครศูนย์สิรินทร

     

    .๒ ชุมชนดวงมณี ๑-

    ชื่อชุมชนดวงมณี ๑-๒ เพราะทั้งชุมชนมี ๒ ซอย ทะลุถึงกัน ชาวชุมชนเกือบทั้งหมดปลูกบ้านบนที่เช่าของวัดเกาะสุวรรณราม เป็นชุมชนขนาดเล็กที่จัดตั้งกับเขตสายไหมเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากสมาชิกที่อยู่ในชุมชนเป็นผู้สูงอายุและเด็ก ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นคนวัยทำงานมีภารกิจส่วนตัวไม่อาจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ได้ เมื่อโรงพยาบาลจัดทำโครงการนี้ขึ้น ตัวแทนจากชุมชนดวงมณี ๑-๒ ที่มาเข้าร่วมการประชุม ได้เสนอโครงการเกี่ยวกับเยาวชนในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งทางชุมชนเป็นสมาชิกเครือข่ายยาเสพติดอยู่เดิม  ต่อมาเมื่อ ๒๔ ม.. ๕๒ ได้มีการจัดตั้งสภาเยาวชนเขตสายไหมโดยใช้สถานที่ ที่ชุมชนเพิ่มสิน๑-๒ เยาวชนของชุมชนดวงมณี ๑-๒ ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นกรรมการของสภาเยาวชน ซึ่งมีการวางแผนจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนปีละ ๒ ครั้ง และจะทำอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปในระยะแรกยังไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ ดังนั้นทางพี่เลี้ยงและผู้ประสาน งานร่วมกับประชาชนบางส่วน ลงความเห็นว่าน่าจะมีกิจกรรมการออกกำลังกาย โดยเลือกการออกกำลังกายแบบไม้พลองชีวจิต นำร่องสอนโดยเจ้าหน้าที่หน่วยปฐมภูมิ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช เป็นเวลา ๑ สัปดาห์ พบว่าระยะแรกมีผู้มาร่วมกิจกรรมน้อย เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง หลังจากการเลือกตั้งคณะกรรมการและประธานชุดใหม่แทนชุดเดิมที่หมดวาระลง ได้มีการนัดประชุมชาวบ้านเพื่อสอบถามความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งชุมชน ร่วมกันประเมินปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า ชุมชนจะออกกำลังกายด้วยไม้พลองชีวจิตทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และเต้นแอโรบิค วันอังคาร พฤหัส เสาร์ โดยมีคุณฉัตรวิมลเป็นแกนนำในการออกกำลังกาย และจัดตั้งเป็นชมรมรักษ์สุขภาพประจำชุมชนโดยใช้บ้านประธานเป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีสมาชิกในชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และยังมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    .๓ ชุมชนรัชธานี ๕/

    ชุมชนรัชธานี ๕/๑ เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน ๑๐๕ หลังคาเรือน ลักษณะบ้านเป็นทาวเฮาส์ เข้าออกทางเดียว มีถนนเข้ากลางหมู่บ้าน ด้านหน้าติดถนน ด้านหลังติดชุมชนรัชธานี ๕/๒ ด้านทิศตะวันออกติดแฟลตสวัสดิการตำรวจ (อาคารบุญสิน) ทิศตะวันตกติดที่ดินเปล่า มีประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน ดูแลจัดเก็บค่าบริการส่วนกลาง ยังไม่ได้จัดตั้งเป็นชุมชนกับสำนักงานเขตเนื่องจากเป็นหมู่บ้านชุมชนใหม่ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานประกอบอาชีพรับราชการ พนักงานบริษัท และอาชีพธุรกิจส่วนตัว ผู้สูงอายุในหมู่บ้านมีน้อย ช่วงกลางวันประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้าน ในชุมชนมีผู้อาวุโสท่านหนึ่ง เป็นข้าราชการบำนาญท่านได้ให้ความสนใจ และอาสาเป็นผู้ประสานงานให้กับชุมชนเวลามีกิจกรรมต่างๆ ระยะแรกหลังการเข้าร่วมโครงการกับทางโรงพยาบาล ชุมชนยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมต่อ ทางทีมผู้ประสานและพี่เลี้ยงได้เข้าไปช่วยกระตุ้น และพยายามให้เกิดการรวมตัวกันในชุมชนหลายครั้ง เช่น ส่งเสริมให้แม่บ้านบางท่านออกกำลังกาย โดยสนับสนุนเรื่องไม้พลองและเป็นวิทยากรนำออกกำลังกายให้ระยะหนึ่ง แต่ผู้ร่วมกิจกรรมยังมีน้อย เนื่องจากข้อจำกัดดังที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้นทางทีมผู้ประสานจึงได้เปลี่ยนกลยุทธ์โดยจัดกิจกรรมที่พยายามตอบสนองข้อจำกัดและปัญหาในบริบทของชุมชน โดยสอบถามความคิดเห็นตัวแทนประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับกิจกรรมที่ชุมชนอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับทางโรงพยาบาล ได้ข้อสรุปว่าจะทำกิจกรรม “ประกวด ๕ ส. บ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย” โดยมีเหตุผลว่าเป็นกิจกรรมที่แต่ละบ้านสามารถทำได้ในเวลาใดก็ได้ที่สะดวก จึงเหมาะสมกับบริบทปัจจุบันของสมาชิกในชุมชน อย่างไรก็ตามแม้ชุมชนจะยังไม่มีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม แต่ชุมชนก็เต็มใจให้ความร่วมมือกับทีมผู้ประสานและคณะทำงานที่มีความตั้งใจเต็มที่ ที่จะพัฒนาศักยภาพชุมชนให้ก้าวไปสู่ชุมชนที่มีความเข้มแข็งร่วมกันต่อไปในอนาคต

     

    .๔ ชุมชนรัชธานี ๕/

    ชุมชนรัชธานี ๕/๒ เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก จำนวน ๑๒๕ หลังคาเรือน ใช้ทางเข้าออกหมู่บ้านทางเดียวกับรัชธานี ๕/๑ ลักษณะบ้านเป็นทาวเฮาส์หันหน้าชนกันสองฝั่ง มีประธานชุมชน คณะกรรมการชุมชน แต่ยังไม่ได้จัดตั้งกับเขต มีพื้นที่ส่วนกลางเป็นสนามขนาดเล็กอยู่ท้ายหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวอยู่ในวัยทำงาน ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง ข้าราชการ และค้าขาย ตามลำดับ บรรยากาศในชุมชนมีความสงบ เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด หลังจากเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ช่วงแรกชุมชนเสนอกิจกรรมเกี่ยวกับเด็ก เนื่องจากในชุมชนมีเด็กจำนวนมาก ในวันที่ ๒๑ ธ.. ๒๕๕๑ ทางคณะกรรมการโครงการจึงได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กร่วมกับชุมชนจิตภาวรรณ ๑ และ ชุมชนรัชธานี ๕/๒ โดยจัดอบรมเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการดูแลเด็กเล็ก รวมทั้งปัญหาเยาวชนในวัยรุ่น เช่น ปัญหาการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ปัญหาการคบเพื่อน และยาเสพติด ซึ่งผู้ปกครองผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตรหลาน และการระวังป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมถึงมีการทำกิจกรรมสันทนาการสำหรับเด็ก ใช้สถานที่ในบริเวณวัดเกาะสุวรรณาราม แต่ด้วยข้อจำกัดของสมาชิกในชุมชนเช่นเดียวกับชุมชนรัชธานี ๕/๑ จึงทำให้กิจกรรมที่ชุมชนตั้งใจไว้ที่จะดำเนินการตั้งแต่แรก ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ทางชุมชนร่วมกับผู้ประสานงานจึงขอปรับเปลี่ยนเป้าหมายการดำเนินการเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนได้มีกิจกรรมพัฒนาด้านสุขภาพด้วยเช่นเดียวกัน จึงได้ข้อสรุปว่า ชุมชนจะทำกิจกรรม “ประกวด ๕ ส บ้านสะอาด ปราศจากยุงลาย” เช่นเดียวกับชุมชนรัชธานี ๕/๑ และชุมชนแฟลตตำรวจ นับว่าชุมชนมีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนางานเป็นอย่างดี แม้จะติดขัดในเรื่องข้อจำกัดหลายๆ อย่างก็ตาม


      กลุ่มที่ ๒

      ชุมชนพี่เลี้ยง คือ                                    ชุมชนธารา

      ชุมชนเป้าหมายขยายผล คือ       ชุมชนจิตภาวรรณ ๑ ชุมชนตลาดเพิ่มสิน ชุมชนซื่อตรง และชุมชนเกร็ดฟ้า

     

      ๒. ชุมชนพี่เลี้ยง : ชุมชนธารา

    เป็นชุมชนขนาด ๒๐๗ หลังคาเรือน ประชากรประมาณ ๘๕๐ คน มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างพื้นที่มาพักอาศัย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการและค้าขาย การอยู่อาศัยจะมีลักษณะเอื้อเฟื้อกัน มีสัมพันธภาพที่ดีและเมื่อชุมชนมีการจัดกิจกรรมหรือประเพณีต่างๆ จะได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี แม้จะเป็นชุมชนที่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งจากสำนักงานเขตสายไหม แต่ในชุมชนมีชมรมผู้สูงอายุธาราทิพย์ และมีประธานชมรมซึ่งเป็นผู้นำที่มีความเสียสละ และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชน โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การทำบุญตักบาตรในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเด็ก และประชาชนร่วมกันจุดเทียนถวายพระพร ๕ ธันวาคม และ ๑๒ สิงหาคม ทุกปี นอกจากนี้ชุมชนยังเป็นสมาชิกในเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเขตสายไหม และประธานชมรมผู้สูงอายุก็เป็นอาสาสมัครตำรวจบ้านเขตสายไหมและเขตบางเขน  ส่วนงานพัฒนาด้านสุขภาพของชุมชน เนื่องจากมีชมรมผู้สูงอายุอยู่แล้วทำให้ง่ายในการรวมตัวกัน ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมพัฒนาด้านสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาปริญญาโท ของมหา วิทยาลัยหัวเฉียว สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพในชุมชนเป็นระยะ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ชุมชนยังมีการรวมตัวกันออกกำลังกายไม้พลองชีวจิต แม้จะไม่มีพื้นที่แต่ก็ยังสามารถบริหารจัดการโดยติดต่อขอใช้พื้นที่ว่างของชาวบ้าน ที่รอการขาย และร่วมกันปรับพื้นที่ให้เหมาะสมและพร้อมสำหรับการออกกำลังกาย เริ่มแรกได้รับการสนับสนุนการสอนจากแกนนำของชุมชนอรุณนิเวศน์ จนกระทั่งสามารถดำเนินการได้เอง ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่า ถ้าขับรถผ่านชุมชนช่วงเย็นๆ จะเห็นประชาชนมารวมตัวกันออกกำลังกายกันอย่างพร้อมเพรียง นอกจากนี้ในชมรมธาราทิพย์ยังมีการพัฒนาด้านอาชีพเสริม เช่น การปลูกพืชสมุนไพร การทำน้ำจุลินทรีย์

    ด้านการเป็นพี่เลี้ยง ชุมชนมีผู้นำและแกนนำที่มีความเสียสละ พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือชุมชนข้างเคียงตลอดเวลา เช่น ไปเป็นวิทยากรสอนไม้พลองชีวจิตที่หมู่บ้านเกร็ดฟ้า ไปร่วมงานและช่วยเหลือกิจกรรมที่ชุมชนอรุณนิเวศน์ ชุมชนจิตภาวรรณ ๑ และชุมชนเพิ่มสิน ๑-๒ ด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน นับเป็นต้นแบบที่มีคุณภาพและเป็นแบบอย่างของงานพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป


     .๑ ชุมชนจิตภาวรรณ ๑

    เป็นชุมชนขนาดเล็ก ลักษณะเป็นทาวเฮาส์หันหน้าชนกัน ๒ แถว ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเย็บผ้า มีประธานและคณะกรรมการหมู่บ้านมาจากการเลือกตั้งกันเองในชุมชน ยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งจากเขต กิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมตามเทศกาลเช่น ทำบุญปีใหม่ วันสงกรานต์ หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ประธานและสมาชิกได้เสนอแผนงานสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก เนื่องจากในชุมชนมีเด็กจำนวนมากและชุมชนติดถนนที่เป็นทางผ่านไปวัดเกาะ ทำให้เด็กๆ ไม่มีที่เล่น เด็กส่วนใหญ่จึงไปเล่นที่ร้านเกมส์ ชุมชนต้องการให้มีการปรับสนามเด็กเล่นและมีอุปกรณ์ของเล่นเด็ก ในการติดตามและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมในชุมชน เมื่อวันที่ ๗ พ.. ๕๑ ผู้ประสานงานและคุณทวีศักดิ์(ชุมชนพี่เลี้ยง) ได้มีส่วนร่วมเข้าไปประชุมกับชุมชน ซึ่งมีประธานและคณะกรรมการจำนวน ๖ คน ในการแก้ปัญหาสนามเด็กเล่นที่มีอยู่ถูกยึดครองเป็นที่ทำกิจกรรมส่วนตัว แต่เนื่องจากพื้นที่ถูกบุกรุกมานานและไม่ได้ใช้ทำกิจกรรมของหมู่บ้าน การแก้ปัญหาจึงต้องใช้ระยะเวลาและการประนีประนอมเพื่อลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น โดยแนะนำให้ใช้กระบวนกลุ่มและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ที่ประชุมลงความเห็นร่วมกันว่าควรมีการแก้ปัญหานี้โดยติดป้าย ”สนามเด็กเล่นของหมู่บ้าน” ให้เห็นชัดเจน และให้ประธานชี้แจงขอความร่วมมือกับสมาชิกในหมู่บ้าน ในระยะแรกทีมผู้ประสานงานร่วมกับพี่เลี้ยงและชุมชนแนะนำว่าควรใช้พื้นที่ว่าง ซึ่งยังมีอยู่ในบริเวณเดียวกันนั้นทำกิจกรรมไปก่อน และควรมีกิจกรรมเพื่อสุขภาพของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องแล้วจึงค่อยขยายพื้นที่ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงพื้นที่เป็นจำนวนมากเพราะมีต้นไม้ รากไม้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้               

     
               ในวันที่ ๒๑ ธ.. ๕๑ (ชุมชนสัญจรครั้งที่ ๑) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสันทนาการเด็กและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างทีมวิทยากรและผู้ดูแลเด็ก เพื่อเพิ่มทักษะผู้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการเด็กและการเรียนรู้เด็กวัยก่อนเรียน จัดกิจกรรมที่วัดเกาะสุวรรณาราม มีผู้ปกครองและเด็กมาร่วมกิจกรรมประมาณ ๒๕ คน หลังกิจกรรมเด็กๆ เสนอว่าอยากได้ของเล่นไว้ในชุมชน อยากมีสถานที่เล่นในชุมชน และลงมือช่วยกันเก็บกวาดสนามเด็กเล่น ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการได้เห็นความตั้งใจของเด็กๆ จึงได้สนับสนุนอุปกรณ์ที่ช่วยในการพัฒนาการเด็ก เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียน สมุดวาดภาพ หนังสืออ่านเล่น เกมส์ฝึกสมอง โดยมอบหมายให้เด็กๆ ช่วยกันรับผิดชอบดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับ ในส่วนของผู้ใหญ่ก็เริ่มมีความตระหนักและต้องการมีกิจกรรมออกกำลังกายสำหรับผู้ใหญ่บ้าง เนื่องจากได้ไปเห็นการออกกำลังกายที่ชุมชนธารา (ชุมชนพี่เลี้ยง) ทีมผู้ประสานจึงติดต่อแกนนำจากชุมชนอรุณนิเวศน์และธาราให้มาเป็นวิทยากรสอนไม้พลองชีวจิตให้เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ ๒๘ ธ.. ๕๑ จากนั้นชุมชนก็สามารถนำออกกำลังกายกันเอง โดยมีแกนนำคือ คุณฉวี และสมาชิกที่ร่วมออกกำลังกายสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นผู้นำ ซึ่งจะมีการออกกำลังกายช่วงเย็นที่สนามเด็กเล่นทุกวัน  วันที่ ๒๕ ก.. ๕๒ ทางคณะกรรมการเข้าไปเยี่ยมสัญจรครั้งที่ ๒ เพื่อประเมินการพัฒนาพบว่าชุมชนมีความร่วมมือกันในการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น วันที่ไปสัญจรชุมชนชุมชนมีการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตโดยแกนนำของชุมชนเอง หลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้วมีการประชุมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากชุมชน ประชาชนบางส่วนและคณะกรรมการโครงการร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ซึ่งทางชุมชนยอมรับว่าปัญหาและอุปสรรคของชุมชน กิจกรรมที่ไม่สำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากมีเวลาไม่ตรงกัน ขาดการรวมตัวและความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม ขาดงบประมาณสนับสนุนและมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ ซึ่งทางชุมชนมีความเห็นร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไขว่าควรมีการจัดประชุมหมู่บ้านเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อให้ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้น เป็นโอกาสที่จะร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป และสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐได้อย่างต่อเนื่องชุมชนจิตภาวรรณ ๑ นับเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้โดยการสนับสนุนจากชุมชนพี่เลี้ยงและผู้ประสาน และด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันแก้ปัญหาของผู้นำและสมาชิกในชุมชน

     

     

    .๒ ชุมชนเกร็ดฟ้า

    เป็นชุมชนขนาดเล็ก ลักษณะเป็นบ้านแฝด หันหน้าชนกัน ประมาณ ๔๐ หลังคาเรือน มีทางเข้าออกทางเดียวเป็นซอยตัน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการช่วงกลางวันจะเหลือแต่ผู้สูงอายุอยู่บ้าน มีคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ยังไม่ได้รับการจัดตั้งจากเขต กิจกรรมต่างๆ ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมตามเทศกาล เช่น ทำบุญตักบาตร วันปีใหม่ วันเด็ก วันสงกรานต์ และมีการรวมตัวช่วยเหลือกันเมื่อมีคนในหมู่บ้านเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต เนื่องจากเป็นชุมชนขนาดเล็กจึงมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันอย่างดี หลังจากเข้าร่วมโครงการกับโรงพยาบาล ทางชุมชนมีแผนที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แต่เนื่องด้วยประธานชุมชนติดภารกิจงานในช่วงเย็น ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลาในระยะแรกได้ หลังจากทีมประสานงานเข้าไปกระตุ้นให้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ชุมชนตั้งใจไว้ ทางชุมชนจึงสรุปว่าจะทำกิจกรรมออกกำลังไม้พลองชีวจิตสำหรับผู้สูงอายุ โดยเริ่มทำกิจกรรมครั้งแรกวันที่ ๒๑ ม.. ๕๒ ซึ่งทีมผู้ประสานเป็นวิทยากรเองประมาณ ๑ สัปดาห์ และประสานกับคุณทวีศักดิ์ (พี่เลี้ยงชุมชนธารา) เข้าไปเป็นวิทยากรต่ออีก ๒ สัปดาห์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งประมาณ ๑๐ คน หลังจากนั้นแกนนำชุมชนเริ่มมีความมั่นใจ และรวมตัวกันออกกำลังกายเองอย่างต่อเนื่องทุกวัน โดยใช้ถนนกลางหมู่บ้านเป็นสถานที่ออกกำลังกาย วันที่ ๖ มี.. ๕๒ ทางคณะกรรมการเข้าไปเยี่ยมสัญจรครั้งที่ ๒ พบว่าชุมชนมีความสนิทสนม คุ้นเคยกันเหมือนเป็นเครือญาติ มีการช่วยเหลือกันเมื่อเจ็บป่วย เช่น ช่วยพาส่งโรงพยาบาล มีการแบ่งปันกัน สังเกตได้จากในชุมชนมีต้นมะม่วงส่วนกลางอยู่บริเวณสนามเด็กเล่น ๑ ต้น สามารถแบ่งกันรับประทานทั้งชุมชน แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นอกจากนี้ชุมชนยังบอกเล่าความรู้สึกว่าตั้งแต่มีการรวมตัวกันทำกิจกรรมทำให้ชุมชนมีแหล่งรวมตัว เกิดการพบปะพูดคุยกันมากขึ้น แต่ยังมีกลุ่มเล็กๆ ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันทำให้มีการขัดแย้งกันบางครั้ง ถึงอย่างไรชุมชนก็ยังมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะใช้พื้นที่ถนนกลางหมู่บ้าน ซึ่งต้องมีการหลบรถเข้าออกเป็นบางครั้ง ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อชาวชุมชน นอกจากนี้ชุมชนยังมีความต้องการที่จะให้โรงพยาบาลสนับสนุนจัดทำโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรังต่างๆ เพื่อชุมชนจะได้ช่วยเหลือดูแลกันเองได้

     
    .๓ ชุมชนตลาดเพิ่มสิน

    ตลาดเพิ่มสิน เป็นชุมชนเก่าแก่อยู่หลัง รพ.ภูมิพลอดุลยเดช แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งเป็นชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับเขตสายไหม ลักษณะบ้านเรือนเป็นบ้านไม้สองชั้นแบบโบราณอยู่สองฝากถนน ซึ่งเป็นตลาดเก่า ปัจจุบันเหลือเป็นร้านขายของบางส่วน ถัดเข้าไปด้านในเป็นทาวเฮาส์สลับกับบ้านเดี่ยว มีถนนผ่านกลางชุมชน และแยกเป็นซอยๆอีก ๑๐ ซอย ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการ หรือรับจ้าง ยังไม่มีการรวมตัวกัน เป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ แต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะรู้จักว่าใครเป็นเป็นลูกใคร เป็นหลานใคร เพราะอยู่กันมาหลายชั่วอายุคน ยังไม่มีประธานชุมชน ไม่มีคณะกรรมการชุมชนและไม่มีใครเสนอตัวเป็น มีแต่คณะกรรมการบริหารลานกีฬาซึ่งคุณพัชราและสามีเป็นผู้บริจาคพื้นที่ให้ ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสอยู่ในบรรยากาศการเลือกประธานและคณะกรรมการบริหารลานกีฬาของชุมชนนี้ เป็นบรรยากาศที่อะลุ่มอล่วยกันมาก ไม่มีใครต้องการเป็นประธานหรือคณะกรรมการเลย แต่ในที่สุดก็ได้ประธานและคณะกรรมการ คือกลุ่มบุคคลเดิมที่เป็นอยู่กิจกรรมที่ชาวตลาดเพิ่มสินเลือกคือ การออกกำลังกายไม้พลองชีวจิต ช่วงแรกมีกลุ่มกรรมการลานกีฬามาร่วมออกกำลังกายประมาณ ๑๐ กว่าคน ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ตอนเย็น เมื่อดำเนินกิจกรรมไปเรื่อยๆ สมาชิกก็ลดลง เหตุผลที่ได้จากคำสารภาพของชาวตลาดเพิ่มสิน ก็คือ คนที่ชอบการออกกำลังกายมีจำนวนน้อย เวลาเย็นเป็นเวลาทำกับข้าว เหนื่อยจากการทำงานแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ทีมงานสังเกตเห็นก็คือ ตลาดเพิ่มสินใกล้กับสวนสุขภาพทอ. และมีชาวตลาดเพิ่มสินจำนวนไม่น้อยที่มาออกกำลังกายที่สวนสุขภาพทั้งตอนเช้าและตอนเย็น

     
    .๔ ชุมชนซื่อตรง

    ชุมชนซื่อตรง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กประกอบด้วยบ้านทาวเฮาส์ซึ่งอยู่ด้านหน้าหมู่บ้านและบ้านเดี่ยวอยู่ด้านใน เป็นหมู่บ้านปิดมีทางเข้าออกทางเดียว มีรปภ.รักษาการณ์ตลอดเวลา ห้ามรถขายของ รถซาเล็งเข้าไปในหมู่บ้าน บรรยากาศในหมู่บ้านเงียบสงบในช่วงกลางวัน เพราะผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รัฐ วิสาหกิจ และพนักงานบริษัท ช่วงเย็นจะมีผู้คนมาออกกำลังกายที่สนามเด็กเล่นของหมู่บ้านบ้างปะปราย ภายในชุมชนมีการจัดเก็บค่าสาธารณูปโภค โดยมีคณะกรรมการชุมชนบริหารจัดการ ชุมชนยังไม่ได้รับการจัดตั้งจากเขต คณะกรรมการมาจากการเลือกตั้งของชุมชนเอง มีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญๆ เช่นวันปีใหม่  วันเด็ก ชาวหมู่บ้านรู้สึกว่ามีความเป็นอยู่ที่ดีอยู่แล้ว ลักษณะความสัมพันธ์บางบ้านก็รู้จักกัน บางบ้านก็ไม่รู้จักกันเลย เป็นลักษณะสังคมเมือง  หลังชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบกับโรงพยาบาล ชุมชนสนใจจะจัดทำกิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีการรวมตัวกัน และ จัดหาวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายไม้พลองจากชุมชนอรุณนิเวศน์ โดยทางโรงพยาบาลช่วยสนับสนุนไม้พลอง ซึ่งทางชุมชนสามารถบริหารจัดการการทำกิจกรรมได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีการติดป้ายเชิญชวนการออกกำลังของชุมชนทุกวันอังคาร พฤหัส เสาร์ ติดหน้าหมู่บ้าน หลังจากดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายไประยะหนึ่งประชาชนบางส่วนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณสนับสนุนในการทำกิจกรรมออกกำลังกาย ทางผู้ประสานงานจึงเข้าไปชี้แจง และรับฟังข้อเสนอแนะของชุมชน พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการสื่อสารและขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นผู้ที่มีศักยภาพ สามารถบริหารจัดการชุมชนให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของประชาชนในชุมชน ที่จะดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อมีความพร้อม วันที่ ๒๘ ก.. ๒๕๕๒ ชุมชนมีการรวมตัวกันจัดกิจกรรมสันทนาการ และมอบประกาศแต่งตั้งครูนำออกกำลังกาย ในวันงาน ประชาชนร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ และร่วมกันจัดอาหารมารับประทานด้วยกัน มองเห็นภาพความสามัคคี และการร่วมแรงร่วมใจกันอย่างน่าชื่นชม ภาพที่เห็นในปัจจุบัน สนามเด็กเล่นจะมีผู้คนมาออกกำลังกายเกือบทุกวันและจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชาวชุมชนรู้จักพูดคุยกันมากขึ้น ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อยขึ้น รู้สึกถึงความอบอุ่นในชุมชนและเป็นชุมชนที่น่าอยู่น่าอาศัยมาก

     

    กลุ่มที่ ๓

    ชุมชนพี่เลี้ยงคือ

    ชุมชนพัฒนาหมู่ ๒

    ชุมชนเป้าหมายขยายผลคือ

    ชุมชนอรุณนิเวศน์ ชุมชนคลองถนนพัฒนา ชุมชนบุญสิน (แฟลตตร.) ชุมชนจิตภาวรรณ ๒-

     

    . ชุมชนพี่เลี้ยง : ชุมชนพัฒนาหมู่ ๒

             เป็นชุมชนเก่าแก่ในเขต หมู่ ๒ แขวงคลองถนน เขตสายไหม เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่าของเอกชน บางส่วนเป็นของตนเอง ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น ปลูกเองมีจำนวน ๔๐๔ หลังคาเรือน ประชาชน ๑,๖๐๓ คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเด็ก ส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ ค้าขายและรับจ้าง เป็นชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งจากสำนักงานเขตสายไหม มีประธานและคณะกรรมการชุมชน มีศูนย์สุขภาพชุมชนซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านประธานชุมชน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ มีอสส. ๘ คน และ เป็นศูนย์บริการผู้สูงอายุของชุมชน โดยให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้สูงอายุ อาทิ การดำเนินการขอเบี้ยยังชีพ การจัดให้มีสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเช่น การซื้อของไปเยี่ยมและมีเงินเยี่ยมครั้งละ ๕๐๐ บาทในระหว่างที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จะเห็นได้ว่าชุมชนมีผู้นำและแกนนำที่มีความเสียสละ และมีความพร้อมด้านสถานที่ ที่สามารถเป็นแหล่งรวมของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี นับเป็นชุมชนรุ่นบุกเบิกก็ว่าได้ เนื่องจากสามารถรวมตัวกัน และเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  ด้านการเป็นพี่เลี้ยง ชุมชนมีแกนนำที่สามารถถ่ายทอด และเป็นแบบอย่างเรื่องการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี ให้แก่ชุมชนที่มีความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้มีแกนนำจากชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคีมาฝึกซ้อม จนมีความมั่นใจสามารถกลับไปเป็นแกนนำ ในการออกกำลังกายของชุมชนตนเองได้ และชุมชนก็ยังเต็มใจหากมีชุมชนอื่นๆ ที่มีความต้องการการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี สามารถมาฝึกได้ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนทุกวันราชการ

     
     
     
     
    .๑ ชุมชนคลองถนนพัฒนา

    เมื่อครั้งที่เข้าสำรวจประชากร เราตั้งชื่อให้ชุมชนนี้ว่า ชุมชนเก็บตกดวงมณี เพื่อเป็นที่เข้าใจกันในการทำงานของเรา เนื่องจากเป็นพื้นที่เหลือจากการรวมตัวของชุมชนอื่นๆ และชุมชนเริ่มรวมตัวกันได้ประมาณ    – ๒ ปี มานี่เอง แต่ชาวบ้านนั้นตั้งรกรากอยู่กันมานานแล้ว และเป็นคนเก่าแก่ในย่านหมู่ ๒ นี้ เพราะฉะนั้นบ้านเรือนจะมีหลากหลาย บางส่วนตั้งอยู่เป็นกลุ่มก้อน บางส่วนกระจัดกระจาย ลักษณะบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้เก่า บางบ้านปลูกอยู่บนที่ตนเอง บางบ้านปลูกบนที่เช่า ด้านหนึ่งของชุมชนติดกับชุมชนพัฒนาหมู่ ๒ อีกด้านอยู่เลียบชายคลองสองตั้งแต่สะพานวัดเกาะไปจนถึงสะพานดวงมณี ผู้คนประกอบอาชีพหลากหลาย ส่วนมากมีอาชีพรับจ้าง รองลงมาเป็นค้าขาย และรับราชการ การรวมตัวของชุมชนนี้เกิดจากความเสียสละของครอบครัวข้าราชการบำนาญครอบครัวหนึ่ง คือ ครอบครัวคุณป้าสุจินต์ ที่มองเห็นความสำคัญของการเกิดชุมชนและต้องการช่วยเหลือคนในชุมชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และขาดโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม  ชาวชุมชนเล่าว่า ชื่อ “ชุมชนคลองถนนพัฒนา” เนื่องจากในชุมชนมีทั้งคลอง และถนนประกอบกับอยู่ในแขวงคลองถนน และยังไม่มีชุมชนในบริเวณใกล้เคียงใช้ชื่อนี้ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดตั้งชุมชนกับสำนักงานเขตสายไหม ก่อนที่จะคิดจัดตั้งชุมชน ชาวคลองถนนพัฒนามีการรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์เครดิตยูเนียนอยู่ก่อนแล้ว หลังจากได้ร่วมกิจกรรมตามโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ชาวคลองถนนพัฒนาสามารถคิดเอง ทำเอง โดยเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายแกว่งแขนบำบัดโรค ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่สิ้นเปลือง โดยป้าสุจินต์ผู้ใจดีเป็นผู้นำออกกำลังกายเอง รวมถึงสนับสนุนสถานที่ในการออกกำลังกาย และแต่ละครั้งที่มาออกกำลังกายป้าสุจินต์ก็จะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร และการดูแลสุขภาพ มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกับชาวบ้าน เรียกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกแรงกระตุ้นใดๆ เลย เพียงแต่ไปเยี่ยมดูการทำกิจกรรมในช่วงเย็นให้ชาวชุมชนเห็นหน้าก็ชื่นใจแล้ว หลังจากแกว่งแขนไปได้สักระยะหนึ่ง ชาวคลองถนนพัฒนารู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้น จึงอยากออกกำลังกายรำไม้พลองป้าบุญมีบ้าง ทีมผู้ประสานงานจึงจัดวิทยากรและสนับสนุนไม้พลองเพียงบางส่วน บางส่วนชาวชุมชนจัดหากันเอง รวมทั้งให้มาสอนเพียงวันเดียวพอ ที่เหลือชุมชนดำเนินการต่อเองได้ เจ้าหน้าที่รู้สึกชื่นใจจริงๆ อยากให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างนี้ในทุกๆ พื้นที่

     

     

    .๒ ชุมชนอรุณนิเวศน์

    เป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ประกอบด้วยอาคารพานิชย์และบ้านทาวเฮาส์ จำนวน ๗๐๐ หลังคาเรือน ประชาชนประมาณ ๒,๐๐๐ คนเศษ อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง และค้าขายยังไม่ได้จัดตั้งเป็นชุมชนไม่มีประธาน และไม่มีคณะกรรมการชุมชน เริ่มแรกเคยมีผู้นำชุมชนที่สามารถรวมกลุ่มชาวบ้านได้แต่ภายหลังย้ายออกไปจากชุมชน จึงยังไม่มีการทำกิจกรรมใดๆในชุมชนมีพื้นที่ว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งเจ้าของหมู่บ้านเคยวางแผน (ไม่มีหลักฐาน) ว่าจะยกให้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับทำประโยชน์ในชุมชน เวลาผ่านมานานไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์ทำให้กลายเป็นพื้นที่รกร้างช่วงแรกของการเริ่มโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ เจ้าหน้าที่ต้องเข้าชุมชนเพื่อหาแกนนำเข้ามาร่วมประชุมแต่ยังไม่สามารถหาได้ บังเอิญพบคุณสุชาติ ศรีทวี ได้พูดคุยนำเสนอโครงการ คุณสุชาติตอบรับและหาแกนนำมาเข้าร่วมประชุมได้ ๑๒ คน ซึ่งชุมชนสนใจกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หลังจากการประชุม ชุมชนเริ่มมีการรวมตัวกัน แต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนชั่วคราวเพื่อวางแผนจัดตั้งเป็นชุมชน และเริ่มดำเนินกิจกรรมช่วงแรก มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร และข้อสงสัยเรื่องงบประมาณที่ทางโรงพยาบาลจะสนับสนุนให้ ทางผู้ประสานงานจึงได้เข้าไปชี้แจงรายละเอียดโครงการให้ประชาชนและคณะกรรมการชุมชนทราบอีกครั้ง ซึ่งชุมชนก็เข้าใจ และร่วมมือที่จะร่วมดำเนินกิจกรรมต่อไป โดยเสนอว่าในชุมชนมีบุคคลที่มีความชำนาญด้านการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิต และพร้อมจะให้ความร่วมมือในการฝึกสอนแกนนำในชุมชนได้ ซึ่งชุมชนได้ส่งอาสาสมัครเข้ารับการฝึกจนมีความมั่นใจ หลังจากนั้นประชาชนจึงรวมตัวกันออกกำลังกายทุกวันเวลา ๑๗.๐๐ น. โดยทางโรงพยาบาลเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ไม้พลองและเครื่องขยายเสียง (แบบคาดเอว) ให้ มีประชาชนมาร่วมออกกำลังกายประมาณ ๕๐ คน โดยมีแกนนำในชุมชน ๕ คนหมุนเวียนกัน เป็นผู้นำในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง จากกิจกรรมนี้เป็นจุดเริ่มของการรวมตัวกันในชุมชน ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและผูกพันสามัคคีกันมากขึ้น นำไปสู่การทำกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยมีการรวมตัวทำกันมาก่อน เช่น กิจกรรมทำบุญรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒ บรรยากาศในงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ชาวบ้านนำอาหารมาคนละ ๑ – ๒ อย่าง บางบ้านช่วยจัดเตรียมสถานที่ ล้างจาน หลังจากเลี้ยงเพลเสร็จมี การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชน และรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมนี้ประธานชมรมผู้สูงอายุและประชาชนบางส่วนของชุมชนธาราก็มาร่วมกิจกรรมด้วย นอกจากนี้ยังมีแกนนำบางท่าน เช่น คุณสุมา ที่มีความเสียสละและมีจิตอาสาในการไปถ่ายทอดความรู้เรื่องการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตแก่ชุมชนข้างเคียง เช่น ชุมชนธารา จิตภาวรรณ ๑ รัชธานี ๕/๑ ทำให้เกิดเครือข่ายระหว่างชุมชน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเวลามีงาน หรือ กิจกรรมต่าง ๆ นับเป็นชุมชนที่มองเห็นภาพการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุเป้าหมายเพื่อเข้าสู่ชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนต่อไป

     

    .๓ ชุมชนจิตภาวรรณ ๒-

    ชุมชนจิตภาวรรณ ๒-๓ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ตรงข้ามกับวัดเกาะสุวรรณาราม ด้านข้างและด้านหลังหมู่บ้านติดคูน้ำ อีกด้านหนึ่งติดกับหมู่บ้านอรุณนิเวศน์ มีทางเข้าออกชุมชนทางเดียว ด้านหน้าเป็นอาคารพานิชย์ ถัดเข้ามาเป็นทาวเฮาส์ทั้งหมด แยกเป็นซอยๆ ด้านหลังหมู่บ้านมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน แบ่งเป็นสนามฟุตบอลสนามเด็กเล่นพร้อมเครื่องเล่น ชุมชนมีการรวมตัวกันดีพอควร มีระบบบริหารจัดการชุมชน มี ประธานและคณะกรรมการชุมชน มาจากการเลือกตั้งภายในชุมชน สำหรับดูแลเรื่องระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชนกับสำนักเขต มีการทำกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณี เช่น ทำบุญปีใหม่ สงกรานต์ วันลอยกระทง การปลูกต้นไม้ถวายในหลวง แข่งขันฟุตบอล ฟุตซอลประจำปี มีชมรมปั่นจักรยาน ลักษณะความสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนมีความคุ้นเคยกัน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมตามประเพณีของหมู่บ้าน ชุมชนยังมีลักษณะเป็นสังคมเมืองที่ต่างคนต่างต้องออกไปทำงานนอกบ้านตั้งแต่เช้าถึงเย็น ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมแบบต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างบางส่วนมีอาชีพค้าขาย ที่ขึ้นชื่อและทำกันเป็นจำนวนมากคือ การขายผลไม้รถเข็น ประชาชนมีความรู้ปานกลางถึงดี หลังจากที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ทางชุมชนมีความสนใจและอยากทำกิจกรรมธรรมะชุมชน โดยวางแผนว่าจะนิมนต์พระมาเทศน์ในชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับสถานที่ท้ายหมู่บ้านให้มีความสะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังสนใจเรื่องการออกกำลังกายแบบแอโรบิค แต่ก็ยังติดขัดเรื่องเครื่องเสียง และวิทยากรที่จะมานำออกกำลังกาย ซึ่งต้องใช้งบประมาณที่มากพอควร และชาวชุมชนยังตกลงกันไม่ลงตัว ดังนั้นทางทีมผู้ประสานงานจึงเสนอให้สมาชิกในชุมชนเริ่มกิจกรรมออกกำลังกายไม้พลองชีวจิตไปก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มาก โดยทางโรงพยาบาลสนับสนุนไม้พลองให้ และให้คุณสุมา แกนนำชุมชนอรุณนิเวศน์มานำร่องออกกำลังกายให้ระยะหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วชุมชนก็มีผู้ที่สามารถนำออกกำลังกายไม้พลองได้ และในปัจจุบันก็ช่วยนำออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีผู้มาร่วมกิจกรรมไม่มากนักก็ตาม อย่างไรก็ตามชุมชนก็ยังมีระบบการบริหารจัดการที่ดี

     

    .๔ ชุมชนบุญสิน (แฟลตตำรวจ)

    ชุมชนแฟลตสวัสดิการตำรวจอาคารบุญสิน ตั้งอยู่หลังวัดเกาะสุวรรณาราม ด้านข้างติดชุมชนรัชธานี ๕/๑ และใช้ถนนทางเข้าชุมชนร่วมกับชุมชนรัชธานี ๕/๑ ๕/๒ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแฟลตตำรวจเป็นครอบครัวข้าราชการตำรวจที่ทำงานอยู่ตามสถานีตำรวจต่าง ๆในกรุงเทพฯ โดยมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นผู้ดูแลแฟลต แต่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในแฟลตไม่มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรม ผู้ที่อาศัยอยู่ในแฟลตอยู่ต่างหน่วยงาน และที่อาศัยอยู่ประจำเป็นแม่บ้านตำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังทำงานอยู่ ทำให้ประชาชนในแฟลตไม่มีการรวมตัวกันทำกิจกรรม เมื่อโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชจัดโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ทางชุมชนแฟลตตำรวจได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม และเสนอโครงการตรวจร่างกายให้กับผู้อยู่อาศัยในแฟลต ซึ่งทางหน่วยปฐมภูมิได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว ประกอบกับเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ ทำให้ตำรวจมีภารกิจมาก จึงไม่มีเวลาร่วมวางแผน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งตัวแทนที่มาร่วมประชุมครั้งนั้นไม่ได้พักอาศัยอยู่ในแฟลตนี้ ตลอดจนการแจ้งข่าวสารต่างๆ หรือการทำกิจกรรมในแต่ละครั้งต้องทำตามระบบราชการคือต้องทำเรื่องขออนุญาต ทำให้การประสานงานไม่สะดวก ดังนั้นทางผู้ประสานงานจึงสอบถามความคิดเห็นผู้แทนที่รับผิดชอบดูแลแฟลต ได้ข้อสรุปว่าชุมชนแฟลตตำรวจจะทำกิจกรรม“ประกวด ๕ ส. บ้านสะอาดปราศจากยุงลาย” เช่นเดียวกับชุมชนรัชธานี ๕/๑ และรัชธานี ๕/๒ ถึงอย่างไร ทางคณะทำงานก็ขอขอบคุณชุมชนแฟลตตำรวจเป็นอย่างมาก ที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี แม้จะมีภารกิจและติดขัดในข้อจำกัดหลายๆอย่างก็ตาม

     

      

    กลุ่มที่ ๔

    ชุมชนพี่เลี้ยง คือ

    ชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา

    ชุมชนเป้าหมายขยายผล คือ

    ชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี ชุมชนดอนเมืองวิลลา ชุมชนพูนทรัพย์ และชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ

     

    . ชุมชนพี่เลี้ยง : ชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา

    เป็นชุมชนชานเมืองค่อนข้างแออัด มีประชากรประมาณ ๓๘๐ หลังคาเรือน ๔๘๑ ครอบครัว และ มีประชากรประมาณ ๑,๔๑๙ คน ตั้งอยู่บนพื้นที่เช่าของวัดลุ่มเจริญศรัทธา มีถนนผ่านกลางชุมชนโดยสองฝั่งถนน จะแบ่งแยกเป็นซอยทั้งหมด ๒๒ ซอย ในแต่ละซอยจะมีคลองขุดอยู่ด้านหลังซอยตลอดแนวถนน บางบ้านปลูกยื่นลงไปในคลอง ประชาชนส่วนใหญ่ มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างพื้นที่มาพักอาศัย อาชีพส่วนใหญ่คือรับจ้าง และรับราชการ  ได้รับการจัดตั้งเป็นชุมชนโดยสำนักงานเขตสายไหม ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ มีประธานและคณะกรรมการชุมชนมาจากการเลือกตั้งของคนในชุมชนเอง ภายในชุมชนมีศูนย์เด็กเล็กวัดลุ่มฯ ซึ่งได้รับการจัดตั้งและสนับสนุนโดยสำนักงานเขตสายไหม นอกจากนี้ยังมีหน่วยบริการสุขภาพชุมชน ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของศูนย์เด็กเล็กวัดลุ่มฯ เป็นที่ตั้ง และมีการดำเนินกิจกรรม โดยแกนนำของชุมชนที่เป็นอาสาสมัครจำนวน ๔ ท่านหมุนเวียนมาปฏิบัติงานทุกวันพฤหัส เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น เป็นระยะเวลานานกว่า ๑ ปีแล้ว ซึ่งแกนนำทุกท่านเป็นผู้เสียสละ และมาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน

    เนื่องจากชุมชนมีคูคลองทุกซอย ประชาชนบางส่วนทิ้งขยะลงคลองและมีผักตบชวาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นปัญหาที่พบมากในช่วงหน้าฝนคือ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงเป็นที่มาของการเกิดโครงการ บ้านสะอาดปราศจากยุงลาย ห่างไกลไข้เลือดออก ในปี ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันระดมสมองและหาแนวทางแก้ปัญหา จนประสบผลสำเร็จ ทำให้อัตราการติดเชื้อไข้เลือดออกของชุมชนลดลงและใน ปัจจุบันชาวชุมชนวัดลุ่มฯ ก็ยังดูแลคูคลองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยยังมีการเทจุลินทรีย์ลงในคูคลองเป็นระยะๆ นอกจากนี้ชุมชนยังมีการดำเนินกิจกรรมการออกกำลังกาย คือ การเต้นแอโรบิค สลับกับการออกกำลังกายด้วยไม้พลองในช่วงเย็น ซึ่งใช้พื้นที่ของศูนย์เด็กเล็กวัดลุ่มฯ โดยแกนนำของชุมชนเอง ด้านการเป็นพี่เลี้ยง แกนนำชุมชนให้ความร่วมมือและมีความเต็มใจอย่างยิ่ง ที่จะให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ชุมชนข้างเคียง เช่น เป็นวิทยากร แนะนำสาธิต วิธีการผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพี่อรักษาสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุบางส่วน ให้แก่ชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี ศาลเจ้าพ่อสมบุญ และดอนเมืองวิลล่า ๒ นอกจากนี้แกนนำชุมชนยังเข้าร่วมกิจกรรมและงานของเครือข่ายเป็นระยะ เช่น เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการจัดตั้งสภาเยาวชนเขตสายไหมที่ชุมชนเพิ่มสิน ๑-๒ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า แกนนำและประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเมื่อมีกิจกรรมหรือโครงการใดๆ ในชุมชน จะเห็นภาพของความร่วมมือและความสามัคคี แม้จะอยู่ในพื้นที่เช่าของวัด แต่ชาวชุมชนวัดลุ่มฯ ก็ปฏิบัติดูแลชุมชน และพื้นที่ด้วยความรักและอยากให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     
    .๑ ชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี

    ชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี เป็นชุมชนเก่าแก่ที่จัดตั้งโดยสำนักงานเขตแล้ว ลักษณะชุมชนเดิมเป็นที่ทำนา ต่อมามีการแบ่งขาย ประชาชนปลูกบ้านชิดติดกัน มีถนนเข้าออกชุมชนค่อนข้างแคบ มีเพียงมอเตอร์ไซด์ที่สามารถผ่านเข้าออกได้สะดวก แต่ถนนส่วนใหญ่รถยนต์เข้าไม่ได้ ด้านหนึ่งของชุมชนติดริมคลอง ๒ อีกด้านหนึ่งติดชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญและชุมชนตลาดเพิ่มสิน ตามถนนมีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ มีขยะจำนวนมาก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รับจ้าง ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน คือบางส่วนรู้จักคุ้นเคยกันดีแต่บางส่วนก็ไม่รู้จักกัน การทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนจะใช้สถานที่บ้านประธานชุมชน โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายเสียง ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ชุมชนเพิ่มสินถมยาฯ มีความตั้งใจที่จะดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยวางแผนว่าจะทำโครงการกำจัดยุงลายเพื่อป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน หลังจากนั้นชุมชนก็เริ่มเตรียมการทำกิจกรรม และมีการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เพื่อวางแผนจัดเตรียมงาน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ชุมชนจะทำการอบรมประชาชน ในหัวข้อ “การรักษาสภาพแวดล้อมโดยการใช้สารจุลินทรีย์” ในวันที่ ๑๑ ต.. ๕๑ โดยทางโรงพยาบาลประสานวิทยากรจากศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ มาให้ความรู้ เรื่องการป้องกันไข้เลือดออกและ ประสานทีมพี่เลี้ยงจากชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา มาสาธิตวิธีการผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์  

                

    มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ ๑๒๐ คน ในจำนวนนี้ มีตัวแทนจากชุมชนดอนเมืองวิลล่า ๒ ชุมชนพัฒนาหมู่ ๒ และชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ทำเอาบ้านประธานแคบไปถนัดใจ แต่ก็อบอุ่นในความรู้สึกของคณะกรรมการที่เข้าไปร่วมกิจกรรมในการสัญจรครั้งแรกนับว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และมอง เห็นภาพการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนว่าไม่จำเป็นต้องทำเพียงชุมชนเดียว สามารถร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ในการทำกิจกรรมร่วมกันจากงานวันนั้น ชุมชนโดยการนำของท่านประธาน (..ถวิล) ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อ เช่น การแจกจ่ายจุลินทรีย์ให้แก่ประชาชนที่สนใจนำไปใช้ฟรี นอกจากนี้ชุมชนยังสนใจเรื่องการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี หลังจากส่งแกนนำไปฝึกออกกำลังกายที่ชุมชนพัฒนาหมู่ ๒ ซึ่งเป็นชุมชนพี่เลี้ยง จนมีความมั่นใจว่าสามารถกลับมานำออกกำลังกายในชุมชนได้ ชุมชนก็เริ่มมีการรวมตัวกันออกกำลังเป็นประจำทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ช่วงเย็นที่บริเวณบ้านประธานชุมชน จะเห็นได้ว่าการที่ชุมชนสามารถรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆได้ นอกจากความร่วมมือ และความสามัคคีของคนในชุมชนแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจากประธานชุมชน ซึ่งเป็นผู้มีอัธยาศัยและมีจิตใจเสียสละ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและพยายามหาสิ่งจูงใจให้แก่ชาวชุมชน เช่น เสื้อใส่ออกกำลังกาย (ด้วยทุนส่วนตัว) นับว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในเรื่องการดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆตลอดจนความร่วมมือของชาวบ้านแม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม

     

    .๒ ชุมชนดอนเมืองวิลล่า ๒

    เป็นหมู่บ้านจัดสรรอายุชุมชนประมาณ ๑๕ ปี ประกอบด้วยอาคารพานิชย์ ทาวเฮาส์บ้านแฝด บ้านเดี่ยว ภายในหมู่บ้านสะอาด เป็นระเบียบ มีสนามเอนกประสงค์ และ ค่ายมวยราชานนท์อยู่ท้ายหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจและ บริษัทเอกชน ช่วงกลางวันจะไม่ค่อยมีคนอยู่บ้าน จะมีก็แต่ผู้สูงอายุกับเด็กๆ ที่อยู่เฝ้าบ้าน เป็นชุมชนที่ได้รับการจัดตั้งจากเขตแล้ว ช่วงแรกที่โรงพยาบาลจัดทำโครงการ ทางคณะกรรมการได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม และเสนอโครงการรักษาสภาพแวดล้อม โดยวันที่ ๑๑ ต.. ๕๑ ชุมชนเพิ่มสิน – ถมยาสามัคคีจัดการอบรมเรื่อง “การรักษาสภาพแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์ และ การป้องกันไข้เลือดออก” ชุมชนดอนเมืองวิลล่า ๒ ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม ระยะแรกที่ยังไม่ได้เริ่มโครงการ ทางผู้ประสานงานโครงการ ได้เข้าไปกระตุ้นและชักชวนให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการรวมตัวกัน โดยการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิต เพื่อจะนำไปสู่การทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่เป็นผู้นำออกกำลังกายประมาณ ๒ สัปดาห์ในช่วงห้าโมงเย็น มีประชาชนมาร่วมกิจกรรมไม่มากนักเพียง ๖ – ๑๐ คน เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ต่อมาหลังการเลือกตั้งประธานชุมชนคนใหม่แทนคนเดิมที่หมดวาระ จึงได้เริ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เช่น จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ ๗๐ คน วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒ ทางชุมชนร่วมกันจัดกิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระ รดน้ำผู้สูงอายุ มอบรางวัลผู้สูงอายุดีเด่น การแสดงศิลปะมวยไทยของค่ายมวยราชานนท์ สาธิตการประดิษฐ์งานหัตถกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของชุมชน ชาวบ้านร่วมกันนำอาหารมาถวายเพลและรับประทานร่วมกัน ทำให้มองเห็นภาพความร่วมแรงร่วมใจ เสียสละ สามัคคีในชุมชน   นอกจากนี้ประธานชุมชนยังวางแผนหาแนวทางพัฒนาและแก้ปัญหาการทำกิจกรรมเดิมที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ คือ เรื่องการออกกำลังกาย โดยใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ และรับลงทะเบียนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมออกกำลังกาย ซึ่งปัจจุบันมีแกนนำของชุมชนที่สามารถนำออกกำลังกายได้ เนื่องจากได้รับการฝึกจากผู้ประสานงานของโครงการ  ดังนั้นจะเห็นว่าชุมชนมีแนวโน้มที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองได้ และสามารถพัฒนาเป็นชุมชนที่มีระดับความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นต่อไป

     
    .๓ ชุมชนพูนทรัพย์

    ชุมชนพูนทรัพย์อยู่บนพื้นที่ประมาณ ๑๙ ไร่ เป็นชุมชนที่มีที่มาจากการเคหะแห่งชาติ และกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ร่วมกันจัดสรรพื้นที่ให้สำหรับประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด และชุมชนใต้สะพานต่างๆ โดยได้จัดสรรพื้นที่ที่จัดผังชุมชนอย่างดีให้เช่าในราคาย่อมเยาเมื่อครบสัญญาชาวชุมชนสามารถเช่าซื้อที่เป็นของตนเองได้ และประชาชนสามารถปลูกบ้านเองตามสภาพฐานะทางเศรษฐกิจ เมื่อย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชน แต่ละกลุ่มที่มาด้วยกันก็ยังจับกลุ่มอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มปลาทู ทำปลาทูนึ่งขาย กลุ่มร้อยพวงมาลัย กลุ่มเก็บของเก่าซึ่งมาจากชุมชนบางบัวอาชีพเดิมคือเก็บของเก่าขาย กลุ่มลิเกประกอบอาชีพลิเกและมีอาชีพอื่นปะปนบ้าง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่ต่างๆ ในชุมชน เช่น ลานกีฬา สนามเด็กเล่น พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่อยู่อาศัยจัดเป็นสัดส่วนตามผังที่วางไว้ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

     
               สมาชิกในชุมชนหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรอิสระต่างๆ เช่น เป็นคณะกรรมการเครือข่ายสลัม ๔ ภาค เป็นทั้งประธานองค์กรบ้าง เป็นกรรมการบ้าง บ้างก็เป็นแกนนำขององค์กร สิ่งที่ประทับใจก็คือ การประชุมต่างๆ ชาวชุมชนมักจะออกมาร่วมประชุมมาแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจน โดยมีความคิด ความอ่านที่น่าทึ่งมาก กิจกรรมภายในชุมชนที่ดำเนินการอยู่แล้วก็มี โครงการออมวันละบาท โครงการธนาคารเศษแก้ว ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กๆ ในชุมชนนำเศษแก้วและวัสดุเหลือใช้มาขาย เพื่อออมเงินเข้าโครงการออมวันละบาท นอกจากนี้ยังมีสหกรณ์ร้านค้าชุมชน บ้านหนังสือ ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์การเรียนรู้เด็กก่อนวัยเรียน (ได้รับทุนจากมูลนิธิคุณพ่อไบเออร์) ศูนย์คอมพิวเตอร์ (ได้รับทุนจากYMCA) ชมรมผู้สูงอายุ และโครงการแปลงผักสวนครัวในชุมชน จะเห็นได้ว่าชุมชนมีศักยภาพในการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง มีการแสวงหาแหล่งประโยชน์จากที่ต่างๆ เพื่อจะนำมาช่วยเหลือและพัฒนาชุมชน หลังจากชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กิจกรรมที่ชุมชนสนใจเลือกดำเนินการคือ กิจกรรมสำหรับเยาวชน เช่น ฟุตซอล รำไทย ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๓ พ.. ๕๑ บริษัทโค้กเป็นผู้สนับสนุนจัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอลในชุมชน มีเด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่หลายๆ ท่านเข้าร่วมกิจกรรม และร่วมการแข่งขัน สร้างความสนุกสนานและความสามัคคีให้แก่เยาวชน ตลอดจนชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างดี ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพที่สำคัญ คือประชาชนส่วนใหญ่มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ ทำให้ไม่พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นลักษณะต้องทำอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามชาวชุมชนก็ยังมีความตั้งใจที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงหาวิธีการพัฒนาชุมชน โดยพยายามหาแหล่งสนับสนุนทางการเงินสวัสดิการ จากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับกลุ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ โดยไม่ย่อท้อแม้ว่าจะพบอุปสรรคมากมาย

     

    .๔ ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ

    เป็นชุมชนเก่าแก่ในย่านหมู่ ๓ แขวงคลองถนน เขตสายไหม ชาวชุมชนปลูกบ้านเรือนเอง ส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ ๓ ชั้นบ้าง เป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้บ้าง บ้านเช่าบ้าง บ้านของตัวเองบ้าง ทางเข้าชุมชนค่อนข้างแคบ มีถนนปูนซีเมนต์รถยนต์วิ่งผ่านได้ทางเดียว ไม่สามารถสวนกันได้ อาชีพส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและลูกจ้างในกองทัพอากาศ รองลงมาประกอบอาชีพค้าขาย มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชุมชน เป็นพื้นที่กว้างประมาณ ๕๐ ตารางวา ที่ประธานชุมชนเช่าไว้สำหรับเป็นสนามเด็กเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ซึ่งหมดสัญญาเช่าแล้ว ปัจจุบันชุมชนได้รับการจัดตั้งจากเขตสายไหม มีหอกระจายเสียงสำหรับประชาสัมพันธ์อยู่ที่บ้านประธานชุมชน ประธานและคณะกรรมการชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เกษียณราชการแล้ว ลักษณะความสัมพันธ์ในชุมชนสนิทกันเป็นกลุ่มๆ บางกลุ่มเป็นเครือญาติกันและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชนมานาน  ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ศาลเจ้าพ่อสมบุญส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมและเสนอกิจกรรมที่ต้องการดำเนินการ คือ เรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมและการป้องกันไข้เลือดออก โดยส่งตัวแทนชุมชนเข้าไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี ในวันที่ ๑๑ ต.. ๕๑ จำนวน ๕ คน ซึ่งในกิจกรรมมีการอบรม เรื่องการป้องกันไข้เลือดออก และการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงการรักษาสภาพแวดล้อม โดยได้รับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ มาเป็นวิทยากรให้ และได้พี่เลี้ยงจากชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา มาสาธิตวิธีการผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หลังจากการอบรมแล้วชุมชนยังไม่มีการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ต่อ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าไปกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนมีการรวมตัวกันทำกิจกรรม โดยเริ่มจากกิจกรรมการออกกำลังกายไม้พลองชีวจิต ซึ่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นวิทยากรให้ประมาณ ๑ สัปดาห์ มีผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ ๕ คน ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนได้แก่ สถานที่ในการจัดกิจกรรมร่วมกัน และการประสานความร่วมมือในการร่วมทำกิจกรรม สำหรับกลุ่มที่มาออกกำลังกายก็ยังไม่สามารถเป็นแกนนำในการออกกำลังกายได้ ซึ่งผลสรุปสุดท้าย สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าสามารถออกกำลังที่บ้านของตนเองได้จะสะดวกกว่า อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่มีกิจกรรมของทางโรงพยาบาล เมื่อขอความร่วมมือในชุมชน ก็ยังได้รับการตอบรับและเข้าร่วมกิจกรรมด้วยดีตลอดมา

     


    <<- BACK
       รายการเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
        สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง