รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
งานพัฒนาหน่วย ในด้านต่างๆ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
 
ความรู้สู่ประชาชน
 
สิทธิประกันสุขภาพ
 
สิทธิประกันสังคม
 
สิทธิ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
สิทธิ กรมบัญชีกลาง
 
หลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิการรักษา
 
การจัดการความรู้
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม.ppt
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • กิจกรรมที่๕
  •  


    ๕.๒ รายงานการประชุม ๒๗ พ.ค.๕๒

    สรุปผลการประชุมเสวนาวิชาการ “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”

    ในวันพุธที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒   เวลา ๐๙๐๐ – ๑๕๐๐ น.

     ณ ห้องประชุม พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์    ชั้น ๓ อาคารคุ้มเกล้าฯ  รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

     

    ๑.      จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ คน      ประกอบด้วย

    ๑.๑ สมาชิกจากชุมชนในโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของ

    รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.  ๒๐ ชุมชน   จำนวน   ๒๘๓  คน

    ๑.๒ คณะกรรมการโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของ

    รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. และคณะทำงานจัดการประชุม  จำนวน  ๓๔  คน

    ๑.๓ แพทย์  พยาบาล นิสิตแพทย์ นักเรียนพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน   ๖๗  คน

    ๑.๔ ผู้สื่อข่าวและผู้สนใจ ทั่วไป   จำนวน   ๔๙  คน

    ๒. กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย

    ๒.๑ การฉายสไลด์นำเสนอผลและภาพกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาของทั้ง ๒๐ ชุมชน

    ๒.๒ การบรรยายพิเศษ เรื่อง  “ทิศทางการพัฒนาสุขภาพชุมชนกรุงเทพมหานคร ในภาวะโลกร้อน”โดย น.พ. รัฐพล  เตรียมวิชานนท์     รอง ผอ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๓ กรุงเทพมหานคร เนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึง  ทิศทางนโยบายในการพัฒนาสุขภาพชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ความเข้มแข็งของชุมชนในการที่จะช่วยกันดูแลและป้องกัน  ปัญหาด้านสุขภาพในปัจจุบันของกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ ปัญหาผู้สูงอายุ การเจ็บป่วยเรื้อรัง โรคติดต่อติดเชื้อ ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่างๆ  รวมทั้งนโยบายของ สปสชเขตกรุงเทพมหานครที่จะสนับสนุนงบประมาณในโครงการที่เกิดประโยชน์ในระยะยาวเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน และผู้บรรยายได้ชื่นชมการพัฒนาของชุมชนในโครงการที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และหวังว่าจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

                ๒.๓ การเสวนาวิชาการแบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ

    ช่วงที่ ๑  “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : จากใจพี่เลี้ยงอาสา” เสวนาโดยตัวแทนพี่เลี้ยงอาสาทั้ง ๔

    กลุ่มและผู้ประสานงานในชุมชน

    ช่วงที่ ๒ “ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : เรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เสวนาโดยตัวแทนจากชุมชน

    ขยายผลที่มีผลการพัฒนาสู่ระดับที่เข้มแข็ง จำนวน ๓ ชุมชน

    ๒.๔ การจัดบอร์ดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการและการพัฒนาของแต่ละชุมชน

    ๒.๕ การแสดงชุมชน จำนวน ๔ ชุด คือ ศิลปะการรำไทยชุดลาวกระแซ การรำไหว้ครูมวยไทย และ

    การแสดงละครสะท้อนสังคมจากเยาวชนในชุมชน และ การรำไม้พลองชีวจิต โดยสมาชิกในชุมชน  

    หมายเหตุ    มีอาหารว่างและอาหารกลางวัน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน 

    สรุปการเสวนาวิชาการ  “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”

     

    ๒.      ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุมเสวนาวิชาการ เรื่อง “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ :  เรียนรู้สู่ ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”     ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน  ๓๘๐ คน   

    ตารางแสดงผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดประชุมของผู้เข้าร่วมประชุม

     ลำดับ

    หัวข้อประเมิน

    ค่าเฉลี่ย

    ความพึงพอใจ(ร้อยละ)

    มาก

    ปานกลาง

    น้อย

    ควรปรับปรุง

    การประชาสัมพันธ์

    .

    ๔๖.

    ๔๗.

    .

    .

    การต้อนรับ/ลงทะเบียน

    .๖๕

    ๖๖.

    ๓๓.

    .

    .

    โสต/ ทัศนูปกรณ์

    .๓๑

    ๔๗.

    ๔๒.

    .

    .

    อาหาร

    .

    ๗๑.

    ๒๗.

    .

    .

    สถานที่จัดประชุม

    .๘๙

    ๘๙.

    ๑๐.

    .

    นิทรรศการและการสาธิตผลิตภัณฑ์ของชุมชน

    ๓.๘๐

    ๘๑.๕

    ๑๗.๕

    ๐.๕๐

    ๐.๕๐

    การเสวนา “จากใจพี่เลี้ยงชุมชนต้นแบบ”

    -           ความน่าสนใจของเนื้อหา

    -           ความสามารถของวิทยากร

    -           ระยะเวลาเหมาะสม

    -           การนำไปใช้ประโยชน์

     

    .๖๕

    .๖๓

    .๖๑

    .๖๕

     

    ๖๖.

    ๖๔.

    ๖๔.

    ๖๖.

     

    ๓๑.

    ๓๓.

    ๓๒.

    ๓๒

     

    .

    .

    .

    .

     

    .

    ทิศทางนโยบายการพัฒนาสุขภาพชุมชนกรุงเทพมหานคร

    -      ความน่าสนใจของเนื้อหา

    -           ความสามารถของวิทยากร

    -           ระยะเวลาเหมาะสม

         -      การนำไปใช้ประโยชน์

     

     

    .๖๒

    .๖๕

    .๕๙

    .๖๓

     

     

    ๖๕.

    ๖๖.

    ๖๑.

    ๖๔.

     

     

    ๓๒

    ๓๑.

    ๓๕.

    ๓๓.

     

     

    .

    .

    .

     

     

    .

    .

    .

    การเสวนา “เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”

    -           ความน่าสนใจของเนื้อหา

    -           ความสามารถของวิทยากร

    -           ระยะเวลาเหมาะสม

         -      การนำไปใช้ประโยชน์

     

    .๖๖

    .๖๙

    .๕๘

    .๖๘

     

    ๖๘.

    ๗๐.

    ๖๑.

    ๖๙.

     

    ๒๙.

    ๒๘.

    ๓๔.

    ๒๙.

     

    .

    .

    .

    .

     

    .

    ความพึงพอใจโดยรวม

    ๓.๘๐

    ๘๑.๕

    ๑๗.๕

    ๐.๕๐

    ๐.๕๐

     

    ๓.            สรุปบทเรียนจากการเสวนา เรื่อง   

    “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”

     

    ๓.๑ การเสวนากลุ่ม “ จากใจพี่เลี้ยงชุมชนต้นแบบ”   ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

    ๑.      ร.ต. ทวีศักดิ์  แตงอินทร์           ชุมชนธารา  

    ๒.      นาย จำนงค์  สุขมี                   ชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา  

    ๓.      น.ส. ธาวินี  เย็นวัฒนา  ชุมชนเพิ่มสิน๑-๒   

    ๔.     น.ส. จงดี  นุชนนท์                  ชุมชนพัฒนาหมู่๒             และ

    ๕.     น.ต.หญิง นิชาภา โพธาเจริญ     ผู้ประสานงานสำนักงานประกันสุขภาพ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

    ดำเนินรายการ โดย   น.อ.หญิง อุษา  โพนทอง     กรมกิจการพลเรือน กองทัพอากาศ

     

    สรุปเนื้อหาการเสวนา “ จากใจพี่เลี้ยงชุมชนต้นแบบ”

    ๑.      ความเป็นมาในการเข้าร่วมโครงการ

    ผู้ร่วมเสวนาได้แสดงความเป็นมาในการเข้าร่วมโครงการ ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน คือ

    เคยได้รับคำแนะนำจากทีมชุมชนของโรงพยาบาล ในการพัฒนาด้านสุขภาพชุมชนของตัวเอง จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง  เมื่อได้รับการชักชวน และให้ความสำคัญของชุมชนจากทางโรงพยาบาล จึงอยากให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ในการถ่ายทอดผลงานของตนเองให้แก่ชุมชนอื่นๆด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หากมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบถึงกันได้  และการได้ให้ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างเครือข่ายชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้หลายอย่างทั้งในการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การทำงานแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งเป็นการกระตุ้นกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนของตนให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถือว่านอกจากพัฒนา      ”เขา”แล้วยังเป็นการพัฒนา”เราเอง” อีกด้วย    

    ๒.        กิจกรรมและผลงานที่ได้ทำ

    ผู้ร่วมเสวนา ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ได้ทำหลังจากเริ่มโครงการ เช่น การจัดสอนสาธิตการทำ

    สารอินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำยาล้างจาน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ  การช่วยเป็นวิทยากรหรือหาวิทยากรการออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชน การเยี่ยมเยียนให้กำลังใจชุมชนที่กำลังพัฒนา การช่วยให้คำแนะนำในการประชุมสมาชิกชุมชน แม้ไม่ใช่ในกลุ่มชุมชนที่ตัวเองเป็นพี่เลี้ยง หากรู้ว่ามีกิจกรรมในชุมชนใด ก็จะชักชวนแกนนำหรือสมาชิกที่ว่างไปร่วมงานด้วย ทำให้ได้รู้จักกันมากขึ้น

    (รายละเอียดอยู่ในเอกสารประกอบการประชุม)   

    ๓.      ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และข้อเสนอแนะ      

    ผู้ร่วมเสวนา ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ และข้อเสนอแนะ   

    โดยสรุปได้ดังนี้

    ปัญหาและอุปสรรคในการเป็นพี่เลี้ยงอาสา  ได้แก่

    -           ภาระหน้าที่และเวลา เป็นปัญหาสำคัญเพราะแกนนำแต่ละคนมักจะเป็นผู้ที่มีภารกิจมาก ทำหน้าที่

    หลายอย่าง ทั้งในครอบครัวและชุมชนของตนเองแล้วยังต้องไปในชุมชนที่อยู่ในความดูแล คอยเป็นพี่เลี้ยง

    ให้คำแนะนำ หากมีเวลาว่างพอจะทำให้ได้ผลงานมากกว่านี้ 

    -           การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ขาดการสื่อสารที่ดี  บางครั้งด้วยเวลาที่ไม่ตรงกัน จึงติดต่อกันยากบางครั้ง             

    ต้องอาศัยร้านค้า ร้านอาหารเป็นที่พบปะ ฝากแจ้งข่าวสาร

    -           การประสานงาน บางครั้งเกิดความไม่เข้าใจกัน ผู้ประสานงานชุมชนของโรงพยาบาลได้ช่วยให้เกิด

    การร่วมมือ พูดคุย ทำความเข้าใจในการทำงานให้มากขึ้น

    -           งบประมาณ ในการทำกิจกรรม จำเป็นต้องมีงบประมาณช่วยบ้างจึงจะทำให้งานสำเร็จเร็วขึ้น

    -           ความร่วมมือของคนในชุมชน หลายชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อ

    สุขภาพต้องกระตุ้นมาก

    -           สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เช่นบางชุมชนไม่มีสถานที่ให้รวมตัวกันทำกิจกรรมได้ วิถีชีวิตและ

    อาชีพที่ต่างกัน ทำให้เวลาว่างไม่ตรงกัน 

     

    ปัจจัยความสำเร็จของการเป็นพี่เลี้ยง

    -           การมีจิตอาสา เป็นประเด็นที่พี่เลี้ยงทุกคนเห็นร่วมกัน ว่าต้องมีเป็นอันดับแรก เพราะจะทำให้มี

    กำลังใจในการทำงาน ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ แล้วจะมีความสุข เสียสละ มีจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้

    ไปสู่ชุมชนอื่น  แม้มีปัญหาก็จะช่วยให้ทำใจได้มากขึ้น และแสวงหาสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นได้ 

    -           ภาวะผู้นำของพี่เลี้ยงหรือแกนนำชุมชน มีผลสำคัญต่อความร่วมมือในชุมชน หากผู้นำเข้มแข็ง

    สามารถประสานหรือชักชวนสมาชิกในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้การพัฒนาในชุมชนนั้นทำได้ดี สามารถคิดเอง ทำเองได้ จะเกิดความยั่งยืน

    -           ความสามัคคี และความร่วมมือของคนในชุมชน ชุมชนที่มีพื้นฐานในการเอื้ออาทรต่อกัน

    เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันมาก่อน จะทำให้มีการรวมกลุ่มกันได้ง่ายขึ้น 

    -           การที่ในโครงการมีการอบรมพัฒนาพี่เลี้ยงก่อน เป็นการเสริมพลังให้พี่เลี้ยงได้ตระหนักในคุณค่าของ

    การพัฒนาและคุณค่าของตัวเองที่มีส่วนในการพัฒนา รวมทั้งได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการพี่เลี้ยงไว้ว่า “ มุ่งมั่น เสียสละ อาสา พัฒนาชุมชน” จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้พี่เลี้ยงทำงานง่ายขึ้น รู้ทิศทาง และเป้าหมายที่ต้องการ  มีการทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน   มีการแบ่งงานมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน  มีการนำข้อมูลชุมชนมาใช้กำหนดแผนการทำงาน   มีการประสานงานที่ดี  มีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ดี และมีการติดตามสรุปประเมินผลให้เห็นเป็นระยะ

    -            งบประมาณ แม้ไม่ยึดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำเนินการให้ลุล่วงได้ดี

    และต้องมีการจัดการที่ดีและโปร่งใส  ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาได้

    ข้อเสนอแนะจากพี่เลี้ยง

    -           ควรจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็ง ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น

    -           ควรมีการพัฒนาแกนนำรุ่นใหม่และผู้นำเยาวชนในชุมชน

    -           ควรขยายผลประสานกับองค์กรอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อหาแหล่งสนับสนุนเพิ่มขึ้น

     

    ๓.๒ การเสวนากลุ่ม “เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”   ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

    ๑. นาง กุสุมา  รักพานิชมณี ชุมชนอรุณนิเวศน์ 

    ๒. พ.อ.อ.หญิง สุจินต์  ทับแก้ว        ชุมชนคลองถนนพัฒนา  และ

    ๓. น.ท. วิพัฒน์  สุระเทวี                ชุมชนเพิ่มสินถมยาสามัคคี 

    ดำเนินการเสวนาโดย         นาย ชาญณรงค์  สุภาพพร้อม   

    นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมชลประทาน

     

    สรุปเนื้อหาการเสวนา “เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”

    ๑.      ความเป็นมาในการเข้าร่วมโครงการ

    ผู้ร่วมเสวนาได้แสดงความเป็นมาในการเข้าร่วมโครงการ ด้วยเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน คือ ได้รับ

    การชักชวนจากผู้ประสานงานชุมชนของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. และเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อคนในชุมชน แม้บางท่านไม่ได้เป็นแกนนำในชุมชนอย่างเป็นทางการ แต่มีความสนใจ และมีจิตอาสาที่อยากช่วยงานที่เป็นประโยชน์เช่นนี้

    ๒.     ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ

    ผู้ร่วมเสวนาเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานและทำอย่าง

    เป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการได้มาสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแกนนำชุมชนที่เป็นต้นแบบ ทำให้เห็นแบบอย่างที่ดี เกิดความรู้สึกที่ดี อยากให้ชุมชนของตนเองได้มีกิจกรรมดีๆ เช่นนั้นด้วย และได้ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มด้วยกันทั้งในการเล่นเกมส์ และการวิเคราะห์ชุมชน การวางแผนกิจกรรมในชุมชน ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงตั้งแต่ต้น ทำให้มีกำลังใจ รวมทั้งในการลงพื้นที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงและทีมของโรงพยาบาลก็ยังให้คำแนะนำกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าในบางชุมชนมีข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ร่วมกิจกรรมได้ไม่เต็มที่ แต่จากการพูดคุยกันแล้วทางพี่เลี้ยงได้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับปัญหาของชุมชนนั้นๆ โดยไม่ได้ทอดทิ้ง ก็ทำให้ทุกชุมชนได้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อย่างน้อยชุมชนละ ๑ กิจกรรมในระยะเวลา ๑ ที่ผ่านมา และในบางชุมชนก็มีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นได้ชัด นอกจากการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอแล้ว  บางชุมชนกำลังจะพัฒนาสู่กิจกรรมการดูแลสุขภาพเฉพาะด้านหรือเฉพาะโรคที่ซับซ้อนมากขึ้นตามปัญหาที่มีในชุมชนของตน เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เป็นต้น

    ๓.      ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา และการแก้ไข

    ส่วนใหญ่เกิดจากการรวมตัวกันในการดูแลสุขภาพของชุมชนยังมีน้อย ได้อาศัยการกระตุ้นจาก

    ทีมโรงพยาบาล และการช่วยเหลือสนับสนุนจากพี่เลี้ยง ทั้งในการร่วมประชุมชุมชน การให้ความรู้ การจัดกิจกรรมและสนับสนุนอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่จำเป็น และการพยายามสื่อสารเป้าหมายร่วมกันในด้านความร่วมมือในชุมชนจากที่เคยต่างคนต่างอยู่ ทำให้มีการพูดคุยกันมากขึ้น ห่วงใยกันมากขึ้น นอกจากนี้บางชุมชนที่ยังไม่มีแกนนำหรือแกนนำไม่เข้มแข็ง ภารกิจเยอะ ก็จะทำให้การพัฒนาล่าช้าไป ไม่ได้ผลดี บางครั้งเกิดความขัดแย้ง ต้องชี้แจงสื่อสารกันให้ดี

    ๔.     ปัจจัยความสำเร็จ

    ผู้ร่วมเสวนาเห็นตรงกันว่า ความสำเร็จที่ได้มา เกิดจากความมีจิตอาสาของสมาชิกในทีม แกนนำ

    เข้มแข็ง เสียสละ จริงใจ ไม่หวังผลตอบแทน มีศักยภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ดี  พยายามสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง  รวมทั้งผู้ประสานชุมชนผู้รับผิดชอบโครงการมีทักษะในการบริหารจัดการสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับปัญหาและข้อจำกัดของชุมชน ได้ช่วยชี้แนะให้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ชุมชน

    ๕.     ข้อเสนอแนะจากชุมชน

    -           ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ให้ประชาชนในชุมชนทราบถึงความสำคัญ ความจำเป็น

    และประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับอย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

    -           ควรมีการสำรวจความต้องการของชุมชน/ปัญหาของชุมชนที่แท้จริง/ค้นหาแกนนำและคณะทำงานใน

    แต่ละชุมชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจให้สามารถถ่ายทอดไปยังประชาชนในชุมชนของตนเองได้

    -           นำข้อดีและปัญหาจากการถอดบทเรียนในกิจกรรมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์และนำไปปรับปรุง

    แก้ไขกิจกรรมครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์

    -           ควรมีการจัดโครงการด้านการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้มีการริเริ่มโครงการใหม่ๆ

    เช่นนี้ต่อไป


    <<- BACK
       รายการเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
        สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง