รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
งานพัฒนาหน่วย ในด้านต่างๆ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
 
ความรู้สู่ประชาชน
 
สิทธิประกันสุขภาพ
 
สิทธิประกันสังคม
 
สิทธิ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
สิทธิ กรมบัญชีกลาง
 
หลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิการรักษา
 
การจัดการความรู้
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม.ppt
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • กิจกรรมที่๖
  •  


    ๖.๑ รายงานสรุปโครงการชุมชนต้นแบบ

           รายงานสรุปผลการดำเนินงาน
    โครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

     

         1.  ผู้รับผิดชอบโครงการ 
            สำนักงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ 

         2.  ความเป็นมา
                  สำนักงานหลักประกันสุขภาพรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ได้จัดทำโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบคือ หมู่ ๒ แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยชุมชน  ๒๐ ชุมชน มีจำนวนประชากรประมาณ ๑๕,๒๖๕ คน แบ่งเป็นเพศชาย ๗,๔๔๒ คน และเพศหญิง ๘,๑๒๑ คนขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบให้สามารถเป็นแกนนำในการ ขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆในความรับผิดชอบ โดยการมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้  เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ในการดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความสมานฉันท์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน เป็นการสร้างฐานของสังคมให้เข้มแข็งและสามารถจัดการด้านสุขภาพได้ด้วยชุมชนเองอย่างยั่งยืน  โดยมีกรอบแนวคิดในการพัฒนาดังภาพที่ ๑ 
     
                   
     
        ๓. วัตถุประสงค์ของโครงการ

               . เพื่อเสริมพลังชุมชนต้นแบบ และบุคลากรในทีมสุขภาพให้สามารถเป็นแกนนำ ขยายผล วิถีการดำเนินชีวิต

                            สู่การเป็นชุมชนเข้มแข็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              .  เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง และมีส่วนร่วม

                           ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านสุขภาพของชุมชนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพปัญหาของพื้นที่

              .๓  เพื่อพัฒนาและยกระดับชุมชนในความรับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. ให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง สามารถ

                            ดูแลตนเองและส่งเสริมสุขภาวะในชุมชนของรพ.ได้อย่างเหมาะสม

        ๔. ขั้นตอนการดำเนินงาน

       ประกอบด้วยกิจกรรม ๗ กิจกรรม ดังนี้

          กิจกรรมที่ ๑        การกำหนดนโยบายและแผนงาน

           ผลการปฏิบัติ

              ๑) มีคณะกรรมการพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตามคำสั่งโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ.บนอ. ที่ ๕๕/๕๑ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ประกอบด้วยบุคลากรของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. จำนวน ๑๗ คน สมาชิกจากชุมชน จำนวน ๑๗ คน รวมทั้งสิ้น ๓๔ คน

              ๒) จัดทำเอกสารโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ 

              ๓) จัดทำคู่มือพี่เลี้ยงอาสาพัฒนาชุมชนต้นแบบ  

              ๔)ปรับปรุงแบบประเมิน โดยใช้แบบประเมินการพึ่งพาตนเองด้านสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขมูลฐาน ๒๕๔๒

                    

            

          กิจกรรมที่ ๒ “การประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการ เสริมพลัง เพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”

    ผลการปฏิบัติ

    ๑)        จัดการอบรมขึ้นในวันที่ ๓๐ ก.ค. ๕๑

    ๒)       จำนวนผู้เข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น ๕๐ คน  ประกอบด้วย

    -           แกนนำอาสาสมัครจากชุมชนพี่เลี้ยง        จำนวน ๒๑ คน                     

    -           พยาบาลวิชาชีพเป็นทีมผู้ประสานในชุมชน            จำนวน  ๔ คน

    -           คณะกรรมการพัฒนาชุมชนต้นแบบของโรงพยาบาล และที่ปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    เข้าร่วมสังเกตการณ์  จำนวน ๒๑ คน

    ๓)       การประเมินจากผลการใช้กระบวนกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม พบว่ามีความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการ  และได้กำหนดเป้าหมายร่วมกันในการทำงานในโครงการ ดังนี้ คือ “มุ่งมั่น เสียสละ อาสา เพื่อพัฒนาชุมชน”

    ๔)       การประเมินผลจากการสังเกตการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรม พบว่า แกนนำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนผู้เข้ารับการอบรมทั้ง ๒๑ คน ได้ให้ ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการอบรมอย่างตั้งใจในทุกกิจกรรม

    ๕)       การประเมินผลจากการสอบถามความคิดเห็นของแกนนำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนภายหลังรับการอบรม พบว่ามั่นใจและสามารถปฏิบัติบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงได้ ในระดับมาก(๓.๓๗)  ดังตารางที่ ๑


                     
                       
                      
                      
                                                    “มุ่งมั่น  เสียสละ  อาสา  เพื่อพัฒนาชุมชน”
     

           กิจกรรมที่    “การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.”

           ผลการปฏิบัติ

         ๑)      จัดการประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ ส.ค. ๕๒

         ๒)     ผู้เข้าร่วมการประชุม  รวมทั้งสิ้นจำนวน  ๑๔๐  คน  ประกอบด้วย

      ๑.๑ ชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช ๒๑ ชุมชน จำนวน ๑๑๐ คน

      ๑.๒ คณะกรรมการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งและบุคลากรในทีมสุขภาพทีเกี่ยวข้องจำนวน ๒๐ คน

      ๑.๓ ที่ปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน  ๑๐  คน

          ๒)    จากการสังเกต พบว่าแกนนำอาสาสมัครพัฒนาชุมชน ผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง ๒๑ ชุมชน ได้ให้ความ ร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอย่างตั้งใจในทุกกิจกรรม

             ๓)   จากการทำกิจกรรมกลุ่มได้แผนและกิจกรรมการพัฒนาของแต่ละกลุ่มในเบื้องต้น  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในชุมชนต่อไปในทุกกลุ่ม ดังตารางที่ ๑

            ตารางที่ ๑ การแบ่งกลุ่มการพัฒนา  แผนงานและโครงการพัฒนาที่สนใจจะทำ
                      

                     
                    

             

              กิจกรรมที่ ๔    “ชุมชนสัญจร”  เยี่ยมพื้นที่ ๑๗ ชุมชน

              ผลการปฏิบัติ

             ๑)      จำนวนครั้งของการลงพื้นที่เยี่ยมนิเทศติดตามการพัฒนาและประชุมประเมินชุมชนอย่างเป็นทางการ ได้ตามเป้าหมาย คือ ชุมชนละ ๒ ครั้ง  นอกจากนี้เป็นเยี่ยมให้คำแนะนำและกระตุ้น สนับสนุนการทำกิจกรรมอีก ๘๐ ครั้ง

             ๒)     ผลการประเมินทั้ง  ๒๐  ชุมชน เมื่อสิ้นสุดโครงการมีระดับความเข้มแข็งดังนี้คือ

     
                     
                     

                  

               กิจกรรมที่ ๕    การประชุมเสนอผลงาน “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์  : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน ”

               ผลการปฏิบัติ

                    ๑.      จัดการประชุมเมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค. ๕๒

                    ๒.      จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ คน      ประกอบด้วย

                                       -     สมาชิกจากชุมชนในโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบฯ ๒๐ ชุมชน    จำนวน   ๒๘๓  คน

                                       -     คณะกรรมการโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบฯ และคณะทำงานจัดการประชุม จำนวน  ๓๔  คน

                                      -     แพทย์  พยาบาล นิสิตแพทย์ นักเรียนพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน   ๖๗  คน

                                      -      ผู้สื่อข่าวและผู้สนใจ ทั่วไป   จำนวน   ๔๙  คน

                    ๓.  กิจกรรมในงาน ประกอบด้วย

             ๓.๑ การฉายสไลด์นำเสนอผลและภาพกิจกรรมต่างๆในการพัฒนาของทั้ง ๒๐ ชุมชน

             ๓.๒ การบรรยายพิเศษ เรื่อง  “ทิศทางการพัฒนาสุขภาพชุมชนกรุงเทพมหานคร ในภาวะโลกร้อน”

                         ๓.๓ การเสวนาวิชาการแบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ

    ช่วงที่ ๑  “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : จากใจพี่เลี้ยงอาสา” เสวนาโดยตัวแทนพี่เลี้ยงอาสาทั้ง ๔

    กลุ่มและผู้ประสานงานในชุมชน

    ช่วงที่ ๒ “ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ : เรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เสวนาโดยตัวแทนจากชุมชน

    ขยายผลที่มีผลการพัฒนาสู่ระดับที่เข้มแข็ง จำนวน ๓ ชุมชน

             ๓.๔ การจัดบอร์ดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการและการพัฒนาของชุมชนในโครงการทั้ง

    ๒๐ ชุมชน

             ๓.๕ การแสดงบนเวทีโดยสมาชิกจากชุมชนในโครงการ จำนวน ๔ ชุด คือ ศิลปะการรำไทยชุดลาว

    กระแซ การรำไหว้ครูมวยไทย และการแสดงละครสะท้อนสังคมจากเยาวชนในชุมชน และ การรำไม้พลองชีวจิต โดยสมาชิกในชุมชน  

                     ๔     การประเมินความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุมเสวนาวิชาการ เรื่อง “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์

    :  เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน”     ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน  ๓๘๐ คน    ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มาก( ๓.๘)  หัวข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก(๓.๘๙) รองลงมาคือ บอร์ดนิทรรศการและการสาธิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของชุมชน(๓.๘๐)   อาหาร(๓.๗๐) และ การเสวนาเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็ง (๓.๖๓) และมีข้อเสนอแนะต้องการให้จัดการประชุมเช่นนี้อีกเพื่อเป็นเวทีเสนอผลงานของชุมชน เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกได้ทำผลงานอย่างต่อเนื่อง

                       
                       
                   
                      
                       

                     


              กิจกรรมที่ ๖  จัดทำรายงานสรุปโครงการ

              ผลการปฏิบัติ

        ๑)     จัดทำเอกสารสรุปการดำเนินโครงการ แจกจ่ายให้แก่ชุมชนจำนวน ๕๐๐ เล่ม  

     

             กิจกรรมที่ ๗ จัดทำโครงการวิจัย การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

             ผลการปฏิบัติ

                    ๑) จัดทำรายงานสรุปผลการวิเคราะห์การดำเนินการทั้งโครงการ จำนวน ๑๐ เล่ม

     

             ๕.  ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

       สรุประยะเวลาที่ดำเนินการ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    หมายเหตุ การดำเนินการจากกิจกรรมที่ ๑ – ๔ สามารถปฏิบัติได้ตามแผน แต่เนื่องจากในเดือน มีนาคม ๕๒ ทางโรงพยาบาลมีกิจกรรมฉลองครบรอบ ๖๐ ปี โดยมีกิจกรรมพิเศษทางการแพทย์ตลอดทั้งเดือน จึงได้เลื่อนการจัดกิจกรรมที่ ๕ ไปในเดือนพฤษภาคม จึงได้ขอทำหนังสือขอต่อระยะเวลาดำเนินการอีก ๒ เดือน จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๕๒  ตามหนังสือที่ กห๐๖๑๑.๘(๙)/๔๕๘ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๕๒     สรุประยะเวลาที่ดำเนินการ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒

           
                    

                      หมายเหตุ

               ชุมชนที่มีความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป เป็นชุมชนที่สามารถเป็นแกนนำและพี่เลี้ยงในการพัฒนาสุขภาพชุมชนต่อไปได้

     
             
          ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

                       ๗.๑ พื้นที่ในการดำเนินการ เนื่องจากโครงการนี้ ดำเนินการในพื้นที่ ๒๐ ชุมชนพร้อมกัน จึงทำให้การติดตามเยี่ยมนิเทศชุมชนละ ๒ ครั้งไม่เพียงพอ ในทางปฏิบัติจริง  จำเป็นต้องลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษา แก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ควรกำหนดเป้าหมายชุมชนให้เล็กลง ในแต่ละห้วงเวลา ซึ่งจะทำให้พี่เลี้ยงสามารถเข้าถึง และกระตุ้นให้มีการพัฒนาที่เข้มแข็งขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าหลายชุมชนสามารถพัฒนาต่อได้ และได้เสนอให้ทางโรงพยาบาลดำเนินโครงการเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง  ดังนั้นหากมีการดำเนินการต่อไปอีกในระยะ ๒ ปีข้างหน้า คาดว่าทั้ง ๒๐ ชุมชนน่าจะมีความเข้มแข็งในระดับที่พึ่งตนเองได้  
                      ๗.๒ ศักยภาพของผู้ประสานการพัฒนาในชุมชนซึ่งมีอยู่ ๔ คน  มีบุคลากรที่มีความรู้เชี่ยวชาญในงานชุมชน จำนวน ๑ คน นอกนั้นยังมีประสบการณ์ในงานชุมชนน้อย  ทำให้ต้องลงพื้นที่พร้อมกัน เพื่อกำกับดูแลและให้คำแนะนำ ทำให้งานล่าช้าไปบ้าง ดังนั้น จึงควรพัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาลซึ่งทำหน้าที่ผู้ประสานในชุมชนควบคู่กันไป
                     ๗.๓ งบประมาณในการดำเนินการ ควรพิจารณาประมาณการงบประมาณที่จะต้องลง

    สนับสนุนในชุมชน ในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในครั้งนี้ มุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน ภายในกรอบงบประมาณที่มีอยู่ โดยพยายามให้สมาชิกในชุมชนร่วมมือกันคิดและแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามความจำเป็น ซึ่งบางครั้งต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือดัดแปลงอุปกรณ์ที่มีในพื้นที่ หรือแสวงหาผู้มีความรู้ในการออกกำลังหรือจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในชุมชนมาช่วยโดยไม่ต้องเสียงบประมาณในการจ้างวิทยากรภายนอก  ซึ่งนับว่าเป็นข้อดี เพราะจะเกิดการถ่ายโอนความรู้ในชุมชนแต่ต้องอาศัยผู้ประสานงานที่มีความสามารถในการประสานงาน สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนในชุมชน 

                    ๗.๔ การประชาสัมพันธ์ ควรมีการประชาสัมพันธ์ ให้ครอบคลุมประชาชนในชุมชนให้มากที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลาเนื่องจากแต่ละบ้านส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้าน เวลาไม่ตรงกัน จึงควรมีทีมประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารข่าวสารต่างๆและทำความเข้าใจให้ทั่วถึง จะช่วยให้ไม่เสียเวลามาก

                    ๗.๕ ควรเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้ ปัญหาในพื้นที่และความต้องการของชุมชนด้านสุขภาพและภาวะความเจ็บป่วย ให้ทีมนำการดูแลรักษาเฉพาะโรคได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำความรู้เฉพาะสาขาลงสู่ชุมชนเพื่อพัฒนาสุขภาวะเฉพาะโรคในเชิงรุก ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในระยะยาว

     
             
    ๘. สรุปวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทั้งโครงการ

                     จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช คือหมู่ ๒ แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน ๒๐ ชุมชน  ตั้งแต่วันที่  ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต ๑๓ กรุงเทพมหานคร เป็นเงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท คณะกรรมการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ร่วมกับแกนนำชุมชนทั้ง ๒๐ ชุมชน ได้ดำเนินการกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางไว้ทั้ง ๗ กิจกรรม ตั้งแต่ กิจกรรมที่ ๑ การกำหนดนโยบายและแผนงาน กิจกรรมที่ ๒  “การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลัง เพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”  กิจกรรมที่ ๓  “การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.”  กิจกรรมที่ ๔    “ชุมชนสัญจร”  เยี่ยมพื้นที่ ๒๐ ชุมชน   กิจกรรมที่ ๕  การประชุมเสนอผลงาน “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์  : เรียนรู้สู่ชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน ”  กิจกรรมที่ ๖ จัดทำรายงานสรุปโครงการ

    และกิจกรรมที่ ๗  คือจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทั้งโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ


              การประเมินผลโครงการ
               ๑) เชิงปริมาณ  
                        

                 จากการประเมิน ชุมชนทั้ง ๒๐ ชุมชนคือ ทั้งชุมชนพี่เลี้ยง และชุมชนขยายผล จะเห็นว่า ชุมชนที่มีความเข้มแข็งในระดับ ๓ ขึ้นไป คือระดับที่สามารถพึ่งพาตนเองในการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนได้ นับว่าเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งสามารถเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างในการพัฒนา ให้แก่ชุมชนอื่นๆได้เช่นกัน  มีจำนวน ๖ ชุมชน และระดับ ๔ อยู่ ๑ ชุมชน  และมีชุมชนที่มีระดับความเข้มแข็งเพิ่มขึ้นหลังทำโครงการจำนวน ๘ ชุมชน คิดเป็นร้อยละ ๔๐ แต่เมื่อพิจารณาในรายข้อย่อยแล้วจะพบว่า หลังเข้าโครงการมีคะแนนรวมเพิ่มขึ้นในทุกชุมชน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐  คะแนนในข้อย่อยที่ชุมชนส่วนใหญ่ทำได้จากมากไปหาน้อยคือ ๑)ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน : ประชาชนมีการรวมตัวกันมากขึ้นและมีกิจกรรมร่วมกันในทุกชุมชน,   ๒) องค์กร/ กำลังคน ชุมชนส่วนใหญ่มีการรวมตัวกันเป็นคณะกรรมการชุมชน หมู่บ้าน หรือชมรมต่างๆ บางชุมชนมีการจดทะเบียนกับเขตเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือกำลังดำเนินการขอจดทะเบียนจากเขตอยู่  ซึ่งในทางปฏิบัติจริงพบว่า ชุมชนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการกลับมีการรวมตัวทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วจะพบว่า แกนนำหรือผู้นำในกลุ่มชุมชนนั้นมีภาวะผู้นำสูง สามารถรวมคนสร้างความร่วมมือได้ดี แต่การจดทะเบียนอย่างเป็นทางการอย่างน้อยจะนำไปสู่ความเข้มแข็งด้านทุนได้ในระดับหนึ่ง เพราะจะได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกรุงเทพมหานครมาบางส่วน ๓) ด้านกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน : มีกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ในชุมชน มีวิทยากรในชุมชนที่สามารถเป็นครูฝึกเรื่องการออกกำลังกายได้ แต่ในเรื่องการป้องกันการเจ็บป่วยยังต้องการให้ทางโรงพยาบาลสนับสนุนให้คำแนะนำ ๔) ด้านการบริหารจัดการ : ชุมชนมีการจัดการเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขในชุมชนได้ในบางชุมชน ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องเวลาของแกนนำและสมาชิกในชุมชน บางชุมชนมีปัญหาที่แนนำไม่สามารถดำเนินการกลุ่มได้ ผู้ประสานและพี่เลี้ยงจึงได้ให้ความช่วยเหลือและแนะนำ แต่บางชุมชนก็สามารถบริหารจัดการได้ดีและเป็นรูปธรรม  สุดท้ายที่ได้คะแนนน้อยคือ เรื่อง ๕) ทุน : มีทุนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานในชุมชน ส่วนใหญ่จะให้คะแนนในข้อนี้น้อย เพราะที่ผ่านมาชุมชนอาศัยจิตอาสาของแกนนำและความเสียสละของคนในชุมชนมาร่วมด้วยช่วยกัน แต่ทุกชุมชนมีความเห็นตรงกันว่า การพัฒนาจะดำเนินการต่อเนื่องและยั่งยืนได้ต้องมีงบประมาณมาสนับสนุนบ้าง และชุมชนส่วนใหญ่ยังมีเรื่องที่ต้องการพัฒนามากกว่ากำลังทุนที่มีอยู่ ซึ่งอาจจะไปแสวงหาจากแหล่งสนับสนุนต่างๆในการดำเนินการต่อไปข้างหน้า  ซึ่งทางชุมชนได้รวบรวมรายละเอียดข้อมูลคะแนนในรายข้อที่ยังได้คะแนนน้อยอยู่ ไปหาวิธีดำเนินการแก้ไข เพื่อให้คะแนนโดยรวมดีขึ้นจนสามารถยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนได้  

    ๒) เชิงคุณภาพ

    ผลที่ชุมชนได้รับในการเข้าร่วมโครงการ

    -    ได้ทำงานเพื่อชุมชน เป็นจิตอาสา ได้พัฒนาตนเอง  อยากให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ในการถ่ายทอดผลงานของตนเองให้แก่ชุมชนอื่นๆด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หากมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบถึงกันได้

    -     ได้เรียนรู้หลายอย่างทั้งในการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การทำงานแบบมีส่วนร่วม

    -     ได้ช่วยเป็นวิทยากรหรือหาวิทยากรการออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชน

    -     ได้ความสามัคคี สร้างเครือข่ายชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น เป็นการกระตุ้นกิจกรรมการพัฒนาในชุมชนของตนให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  

    -     ได้เยี่ยมเยียนให้กำลังใจชุมชนที่กำลังพัฒนา การช่วยให้คำแนะนำในการประชุมสมาชิกชุมชน แม้ไม่ใช่ในกลุ่มชุมชนที่ตัวเองเป็นพี่เลี้ยง หากรู้ว่ามีกิจกรรมในชุมชนใด ก็จะชักชวนแกนนำหรือสมาชิกที่ว่างไปร่วมงานด้วย ทำให้ได้รู้จักกันมากขึ้น

       -      การที่ในโครงการมีการอบรมพัฒนาพี่เลี้ยงก่อน เป็นการเสริมพลังให้พี่เลี้ยงได้ตระหนักในคุณค่าของการพัฒนาและคุณค่าของตัวเองที่มีส่วนในการพัฒนา รวมทั้งได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการพี่เลี้ยงไว้ว่า “มุ่งมั่น เสียสละ อาสา พัฒนาชุมชน” จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้พี่เลี้ยงทำงานง่ายขึ้น รู้ทิศทาง และเป้าหมายที่ต้องการ  มีการทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน   มีการแบ่งงานมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน  มีการนำข้อมูลชุมชนมาใช้กำหนดแผนการทำงาน   มีการประสานงานที่ดี  มีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ดี และมีการติดตามสรุปประเมินผลให้เห็นเป็นระยะ

       -   ได้มาสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแกนนำชุมชนที่เป็นต้นแบบ ทำให้เห็นแบบอย่างที่ดี เกิดความรู้สึกที่ดี อยากให้ชุมชนของตนเองได้มีกิจกรรมดีๆ เช่นนั้นด้วย และได้ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มด้วยกันทั้งในการเล่นเกมส์ และการวิเคราะห์ชุมชน การวางแผนกิจกรรมในชุมชน ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงตั้งแต่ต้น ทำให้มีกำลังใจ รวมทั้งในการลงพื้นที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงและทีมของโรงพยาบาลก็ยังให้คำแนะนำกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

     -   ได้งบประมาณ แม้ไม่ยึดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ก็เป็นปัจจัยที่จำเป็นในการดำเนินการให้ลุล่วงได้ดี และต้องมีการจัดการที่ดีและโปร่งใส  ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาได้

     -    ได้เห็นความตั้งใจของบุคลากรของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ว่ามีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานและทำอย่างเป็นขั้นตอน โดยเฉพาะการ  แม้ว่าในบางชุมชนมีข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ร่วมกิจกรรมได้ไม่เต็มที่ แต่จากการพูดคุยกันแล้วทางพี่เลี้ยงได้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับปัญหาของชุมชนนั้นๆ โดยไม่ได้ทอดทิ้ง ก็ทำให้ทุกชุมชนได้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อย่างน้อยชุมชนละ ๑ กิจกรรมในระยะเวลา ๑ ที่ผ่านมา และในบางชุมชนก็มีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นได้ชัด นอกจากการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอแล้ว  บางชุมชนกำลังจะพัฒนาสู่กิจกรรมการดูแลสุขภาพเฉพาะด้านหรือเฉพาะโรคที่ซับซ้อนมากขึ้นตามปัญหาที่มีในชุมชนของตน เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์ดูแลผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เป็นต้น

     

        ผลที่บุคลากรได้รับ

              - บุคลากรได้เรียนรู้การทำงานในชุมชน และการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้โครงการให้บรรลุเป้าหมาย 
              
    - สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับชุมชนในความรับผิดชอบได้ ทำให้การดำเนินการในเรื่องอื่นๆได้รับความร่วมมือดีขึ้น
             
    - ได้เห็นความตั้งใจในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนทำให้มีกำลังใจในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

        ผลที่ได้รับในภาพรวม

                -     ประชาชนในพื้นที่มีการออกกำลัง และการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนมากขึ้น

                -      ประชาชนมีสุขภาพดี มีความสามัคคีและเอื้ออาทรต่อกัน

     

        ความภาคภูมิใจ

    จากการประเมินของคณะทำงาน ทีมผู้ประสาน และชุมชนพี่เลี้ยง ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ติดตามการพัฒนาของชุมชนเป้าหมายที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลา ๑ ปี ได้เห็นชอบร่วมกันว่ามีชุมชนที่มีการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม สมควรได้รับรางวัลชุมชนที่มีการพัฒนาดีเด่น ๓ ชุมชน และรางวัลชมเชยอีก ๒ ชุมชน รวมทั้งมีบุคคลที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ในโครงการครั้งนี้ด้วยความมุ่งมั่น เสียสละ ด้วยจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน สมควรเป็นแบบอย่าง ในกลุ่มชุมชนพี่เลี้ยง ๔ ท่าน และในกลุ่มแกนนำชุมชน ๗ ท่าน (ผลงานของแต่ละท่านมีมากมายแต่ขอนำเสนอโดยสังเขป) ดังนี้คือ

            . ชุมชนที่มีการพัฒนาดีเด่น ๓ ชุมชน ได้แก่

      ๑.๑ ชุมชนอรุณนิเวศน์

    “มีแกนนำที่มีพลัง เสียสละและเข้มแข็ง มีจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้ มีผู้นำและแกนนำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถรวมคนเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในชุมชนได้ ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมีการรวมตัวหรือมีการทำกิจกรรมต่างๆ มาก่อน ระดับการมีส่วนร่วมในชุมชนสูง 

    .๒ ชุมชนคลองถนนพัฒนา

    “ผู้นำมีความทุ่มเท เสียสละ สรรหาแหล่งประโยชน์ให้กับคนในชุมชน สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ประชาชนมีความสามัคคี ให้ความร่วมมือ สามารถรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์”

    .๓ ชุมชนเพิ่มสิน – ถมยาสามัคคี

    “ผู้นำชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนได้เป็นอย่างดี มีความพยายามจัดหาแหล่งประโยชน์ให้ประชาชนในชุมชน บางครั้งสนับสนุนงบประมาณส่วนตัวในการจัดกิจกรรมต่างๆ”

     

            ๒. ชุมชนที่มีการพัฒนารางวัลชมเชย ๒ ชุมชน ได้แก่

     ๒.๑ ชุมชนดอนเมืองวิลล่า ๒

    “ผู้นำมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ สามารถรวมกลุ่มให้เกิดผลงานอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถดำเนินการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุได้ในเวลารวดเร็ว (เพียง ๑ เดือน หลังเข้ารับตำแหน่ง) มีการส่งเสริมเยาวชนชายให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยฝึกซ้อมมวยเพื่อออกกำลังกาย และใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้ที่มีในชุมชน (ค่ายมวยราชานนท์

     ๒.๒ ชุมชนซื่อตรง

    “ชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงานจากภาครัฐ”

     

             ๓. พี่เลี้ยงดีเด่น ๔ ท่าน ได้แก่

     ๓.๑ ร..ทวีศักดิ์ แตงอินทร์ ประธานชมรมผู้สูงอายุธาราทิพย์

    “เป็นบุคคลที่มีความเสียสละ และบุกเบิกงานด้านพัฒนาชุมชน เช่น การจัดหาสถานที่ออกกำลังกาย ซึ่งแต่เดิมนั้นชุมชนไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย คุณทวีศักดิ์ ได้แสวงหาแหล่งประโยชน์ที่มี และเป็นผู้ติดต่อขอใช้พื้นที่ที่รอการขาย และเป็นผู้ปรับปรุงพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้ มีจิตอาสาในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ยินดีให้ความร่วมมือ และเป็นวิทยากรให้กับทางโรงพยาบาลโดยไม่รับค่าตอบแทน”

     ๓.๒ คุณ ธาวิณี เย็นวัฒนา รองประธานเครือข่ายชุมชนเขตสายไหม เลขาสภาองค์กรชุมชนเขตสายไห

    “มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประสานงาน และบริหารจัดการเครือข่ายระหว่างชุมชนได้เป็นอย่างดี”

     ๓.๓ คุณ เที่ยง เดชสุภา แกนนำชุมชน

    “เป็นบุคคลที่มีความขยัน มุ่งมั่น อาสาทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน รวมทั้งเป็นแกนนำออกกำลังกาย ซึ่งสามารถ

    เป็นตัวอย่างของผู้สูงอายุที่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่สังคมได้อย่างดี”

      ๓.๔ คุณ ศิรินาถ เชิงหอม อสส. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑

    “เสียสละ มีจิตอาสาร่วมกิจกรรมงานสาธารณะต่างๆ เป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง”

             . แกนนำชุมชนดีเด่น ๗ ท่าน ได้แก่

       ๔.๑ คุณ เอกวาสิทธิ์ ภู่เจริญศิลป์ วิทยากรอาสา

    “เป็นต้นแบบของผู้ดูแลสุขภาพที่ดีและสามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี”

       ๔.. ...หญิง สุจินต์ ทับแก้ว

    “เป็นผู้เสียสละ ริเริ่มหาความรู้ใหม่ๆ ในการดูแลสุขภาพ ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกในชุมชนเสมอ

      ๔.๓ คุณมานิตย์ ทองลิขิต

    “เป็นจิตอาสาของชมรมผู้สูงอายุ เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ดูแลสุขภาพ”

      ๔.๔ ร..ถวิล ศุภศิริวุฒิ

    “เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการ และ เสียสละเพื่อชุมชน”

     ๔.๕ คุณกุสุมา รักพานิชมณี

    “เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี กระตือรือร้นในงานที่เป็นผลประโยชน์แก่ชุมชน”

     ๔.๖ คุณสุชาติ ศรีทวี

    “เป็นผู้นำที่มีความสามารถในการประสานงาน ใช้ความประนีประนอม สามารถรวมกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน”

     ๔.๗ คุณฉัตรวิมล ทานนท์

    “เป็นผู้ที่มีเมตตาชอบช่วยเหลือผู้อื่น และริเริ่มตั้งชมรมรักษ์สุขภาพในชุมชน รวมทั้งทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน เพื่อส่งเสริมรายได้ในชุมชน”

     

    ส่งท้าย

    โครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานประกันสุขภาพ  โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นความพยายามทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดีที่สุด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่ใช่เพียงการบรรลุเป้าหมาย แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การที่ได้พยายามทำหน้าที่ของตนในฐานะเพื่อนร่วมทาง ร่วมชุมชน และร่วมสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นด้วยกันได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน ได้เรียนรู้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้ถ้าคนในชุมชนไม่ลุกขึ้นมาทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเอง

    วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนยังคงดำเนินต่อไป บนเส้นทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ดี มีเพื่อนร่วมทางมากมาย ขอเพียงเรามีใจที่ “มุ่งมั่น เสียสละ อาสา เพื่อพัฒนาชุมชน”


    <<- BACK
       รายการเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
        สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง