รู้จักองค์กร
 
ประวัติหน่วย
 
ภารกิจหลัก
 
โครงสร้างผังองค์กร
 
บุคลากร
 
Contact
 
งานพัฒนาคุณภาพ
 
งานพัฒนาหน่วย ในด้านต่างๆ
 
โครงการที่พัฒนาไปแล้ว
 
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา
 
โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบ
 
ความรู้สู่ประชาชน
 
สิทธิประกันสุขภาพ
 
สิทธิประกันสังคม
 
สิทธิ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
 
สิทธิ กรมบัญชีกลาง
 
หลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิการรักษา
 
การจัดการความรู้
 
ดาวน์โหลดเอกสาร
 
สิทธิประโยชน์ประกันสังคม.ppt
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK  

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
 
  • กิจกรรมที่๒
  •  


    กำหนดการ-ภาพการอบรม รายงานผลกิจกรรมที่ ๒ ๓๐ ก.ค ๕๑

    การอบรมเชิงปฎิบัติการ  “เสริมพลัง เพิ่มศักยภาพ ชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ”

    วันพุธที่ ๓๐ ก.ค. ๕๑   ๐๘.๓๐ น.- ๑๕.๓๐ น. 

    ณ ห้องประชุมบุรพรัตน์ ชั้น ๓ อาคารคุ้มเกล้าฯ

    โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ

     

    วัตถุประสงค์

    ๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    ๒. เพื่อเสริมพลังแกนนำชุมชนต้นแบบ ให้มีความมั่นใจและสามารถปฎิบัติบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาให้แก่ชุมชนเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

     

    กำหนดการอบรม

    ๐๘๓๐ – ๐๘๔๕ น.          ลงทะเบียน รับเอกสาร

    ๐๘๔๕ – ๐๙๐๐ น.           พิธีเปิดโดย ผอ.รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

    ๐๙๐๐ – ๐๙๔๕ น.           บรรยายพิเศษ “ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนแข็งแรง ประเทศไทยพัฒนา” 

                                                    โดย นพ. รัฐพล  เตรียมวิชานนท์

    ๐๙๔๕ - ๑๐๐๐ น.            อาหารว่าง

    ๑๐๐๐ -  ๑๑๐๐ น.            บรรยายพิเศษ “การพัฒนาชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน “

                                                    โดย อาจารย์ ชาญณรงค์  สุภาพพร้อม

    ๑๑๐๐ – ๑๒๐๐ น.            กิจกรรมกลุ่ม “ทักษะการเป็นโค้ชในการพัฒนาชุมชน”

                                                    โดย น.ท.หญิง คะนึงนิจ  อนุโรจน์

    ๑๒๐๐ – ๑๓๐๐ น.            อาหารกลางวัน

    ๑๓๐๐ – ๑๔๐๐ น.            กิจกรรมกลุ่ม “การประเมินตนเองของชุมชน” และนำเสนอ                                                                                  โดย ผู้แทนกลุ่ม

    ๑๔๐๐ – ๑๔๑๕ น.           อาหารว่าง

    ๑๔๑๕ – ๑๕๑๕ น.          กิจกรรมกลุ่ม ”สุนทรียสนทนาเพื่อการพัฒนาชุมชน“

    โดย น.ต.หญิง ศุวัชรีย์  งูพิมาย

    ๑๕๑๕ – ๑๕๓๐ น.           สรุป/ประเมินผล

    ๑๕๓๐ น.                       ปิดการประชุม

     

     

     

    รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม

    จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ทั้งสิ้น  ๕๐ คน ประกอบด้วย

    ๑.      แกนนำชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช จากชุมชนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น

    ชุมชนต้นแบบการพัฒนา ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงอาสาพัฒนาชุมชน ได้แก่ ๑) ชุมชนธารา  ๒) ชุมชนเพิ่มสิน ๑,๒   ๓) ชุมชนพัฒนาหมู่ ๒  และ  ๔) ชุมชนวัดลุ่มเจริญศรัทธา  จำนวนแกนนำที่เข้ารับการอบรม  ๒๑ คน

    ๒.      บุคลากรของโรงพยาบาลทำหน้าที่ผู้ประสานงานในชุมชน  จำนวน ๔ คน

    ๓.      คณะกรรมการพัฒนาชุมชนต้นแบบของโรงพยาบาล และที่ปรึกษาจากหน่วยงานที่

    เกี่ยวข้องเข้าร่วมสังเกตการณ์  จำนวน ๒๑ คน

                มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้ คือ

     

     

      

    รายงานสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมพลังเพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”

               

    การดำเนินการอบรม ประกอบด้วย

    ๑.      การบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อเรื่อง

    ๑.๑ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนแข็งแรงประเทศไทยพัฒนา  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมี

    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางนโยบายของรัฐในการพัฒนาสุขภาพประชาชน และตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติ

    ๒) การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมี

    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ กระบวนการการพัฒนาชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างความมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

    ๓) ทักษะการเป็นโค้ชในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความ

    เข้าใจเกี่ยวกับทักษะการเป็นโค้ช และการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ให้สามารถเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนา เป็นแบบอย่าง และกระตุ้น ส่งเสริม ขยายผลการพัฒนาแก่ชุมชนอื่นๆได้   

    ๒.      การประชุมกลุ่มทบทวนประเมินตนเองของแต่ละชุมชน  เพื่อทบทวนผลงานและประเมินการ

    พัฒนาชุมชนของตนเอง ว่ามีจุดเด่นในเรื่องใด และมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงในการเป็นพี่เลี้ยงการพัฒนาให้แก่ชุมชนอื่นๆ ใช้เวลาในการทบทวน ๓๐ นาที จากนั้นแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอผลการทบทวนตนเองในการพัฒนาของแต่ละชุมชน ผลงานเด่น ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และปัจจัยความสำเร็จ  กลุ่มละ ๘ นาที  (ซึ่งแต่ละชุมชนจะได้นำเสนอผลงานของตนอีกครั้ง ในการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้แก่ชุมชนอีก ๑๖ ชุมชนที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาขยายผลชุมชนต้นแบบ ต่อไป )

    ๓.      การประชุมกลุ่มสุนทรียะสนทนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในประเด็น “รวมใจเพื่อการพัฒนา

    ชุมชน” โดยแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็น ๓ กลุ่มๆละ ๑๒ – ๑๓ คน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนได้

    ทบทวนบทบาทของตนเองในการพัฒนาชุมชน  และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แรงบันดาลใจของตนเอง

    ในการอาสาเข้ามาร่วมกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของชุมชน ความประทับใจและความภาคภูมิใจที่ได้รับจาก

    การทำงาน ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประมาณ ๔๐ นาที จากนั้นจึงส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่มมานำเสนอสิ่งที่ได้พูดคุยกัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น เห็นความมุ่งมั่นของแต่ละคน และความตั้งใจที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

    ๔.     การชี้แจงและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแผนงานโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ บทบาท

    รับผิดชอบของพี่เลี้ยงอาสา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นจึงระดมสมองเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน  โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันเสนอข้อความที่แสดงความตั้งใจ และเป้าหมายที่คาดหวังในการเข้าร่วมโครงการ ทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่า การพัฒนาชุมชนจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชน ต้องมีความจริงใจ เสียสละ โดยไม่หวังผลตอบแทน และมีสติในการแก้ปัญหาร่วมกัน ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกันตั้งเป้าหมาย ในการเป็นพี่เลี้ยงชุมชนต้นแบบในโครงการนี้ว่า “ มุ่งมั่น  เสียสละ อาสา  เพื่อพัฒนาชุมชน ”

     

    การประเมินผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมพลังเพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”

    ๑.      จำนวนผู้เข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น ๕๐ คน  เป็นอาสาสมัครจากชุมชนพี่เลี้ยงรวม ๒๑ คน

    ทีมผู้ประสานในชุมชน ๔ คน และคณะกรรมการพัฒนาชุมชนต้นแบบของโรงพยาบาล และที่ปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสังเกตการณ์  จำนวน ๒๑ คน

    ๒.      ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจ และใช้กระบวนการกลุ่มกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการ

    ทำงานในโครงการ ได้ดังนี้ คือ “มุ่งมั่น เสียสละ อาสา เพื่อพัฒนาชุมชน”

    ๓.      จากการสังเกต พบว่า แกนนำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนผู้เข้ารับการอบรมทั้ง ๒๑ คน ได้ให้

    ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการอบรมอย่างตั้งใจในทุกกิจกรรม

    ๔.     จากการสอบถามความคิดเห็นของแกนนำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนภายหลังรับการ

    อบรม พบว่ามั่นใจและสามารถปฏิบัติบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงได้ ในระดับมาก (๓.๓๗)  ดังตารางที่ ๑

     

    ความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ

    “เสริมพลัง เพิ่มศักยภาพแกนนำชุมชนต้นแบบ”

    ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็น

    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    . สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ

    .๒๑

    .๔๑

    . มีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงได้

    .๓๗

    .๔๙

    . ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดกิจกรรม

    .๒๑

    .๔๑

    . ความพอใจของสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

    .๒๖

    .๕๖

    . ประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมกิจกรรม

    .๔๒

    .๕๐

     รวม

    .๒๙

    .๔๗

    ตารางที่ ๑ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม “เสริมพลัง เพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน

     

     

     

    ภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมพลังเพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”

    วันพุธที่ ๓๐ ก.ค. ๕๑   ๐๘.๓๐ น.- ๑๕.๓๐ น.

    ณ ห้องประชุมบุรพรัตน์ ชั้น ๓ อาคารคุ้มเกล้าฯ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.  

    “มุ่งมั่น  เสียสละ  อาสา  เพื่อพัฒนาชุมชน”

     

     

     

    ภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เสริมพลังเพิ่มศักยภาพชุมชนต้นแบบ ๔ ชุมชน”

    วันพุธที่ ๓๐ ก.ค. ๕๑   ๐๘.๓๐ น.- ๑๕.๓๐ น.

    ณ ห้องประชุมบุรพรัตน์ ชั้น ๓ อาคารคุ้มเกล้าฯ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.  

    ภาคผนวก

     

    ๑.      เอกสารประกอบการอบรม

    ๑.๑ ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนแข็งแรง ประเทศไทยพัฒนา

                โดย น.พ. รัฐพล  เตรียมวิชานนท์

    ๑.๒ ชุมชนเข้มแข็ง

                โดย อ. กิตติภูมิ  ภิญโญ

    ๑.๓ การพัฒนาชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน

                โดย อ.ชาญณรงค์  สุภาพพร้อม

    ๒.     เอกสารประกอบการประชุมกลุ่ม

    ๒.๑ ตารางการสำรวจภาวะสุขภาพครอบครัว ๒๑ ชุมชน ในโครงการ

    ๒.๒ ใบงานที่ ๑ การวิเคราะห์ตนเองของชุมชน

    ๒.๓ ใบงานที่ ๒ แบบการเขียนแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน

    ๒.๔ ใบงานที่ ๓ แบบบันทึกการเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาของชุมชน


    <<- BACK
       รายการเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง  
        สื่อประสมที่เกี่ยวข้อง