ข้อมูลหน่วยงาน
 
ประวัติ
 
ผู้บริหาร | กำลังพล
 
โครงสร้างหน่วยงาน
 
หน่วยงานในกำกับดูแล
 
ติดต่อหน่วยงาน
บริการประชาชน
 
ขั้นตอนการรับการตรวจ
 
บริการคลินิกนอกเวลาทางรังสีวิทยา
ความรู้สู่ประชาชน| รู้จักงานรังสี
 
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อถูกรังสี
 
การป้องกันอันตรายจากรังสี
 
ชนิดการให้บริการตรวจรักษาทางรังสี
 
คู่มือสำหรับประชาชนทั่วไป เรื่องการฝังแร่วัสดุกัมมันตรังสีแบบถาวรเพื่อรักษามะเร็ง
 
คำแนะนำ ก่อน/หลังการเจาะชิ้นเนื้อ (pre Core Biopsy Instruction)
 
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำลองการฉายรังสี (CT Simulator)
 
สาระน่ารู้....รังสีรักษา
 
ความปลอดภัยทางรังสี (ฉบับชาวบ้าน)
 
ตารางเวลาให้บริการ
 
เวลาปฏิบัติงาน X- RAY PORTABLE
 
HOT LINE รังสีวินิจฉัย (ในเวลาราชการ) โทร. 2-7198
htmlCode

 เข้าถึงข้อมูลการรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย...
แอปพลิเคชัน
“BAH Connect“
ดาวน์โหลด
แอปพลิเคชัน
BAH Connect ทาง  • IOS
BAH Connect ทาง Android

สถิติการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน CLICK

ขอเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็น
ต่อการเข้ารับบริการ
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.

..คลิก..
พบเห็นสัตว์อันตรายโทร 27191 จาก รปภ.และนิรภัยภาคพื้น รพ.ภูมิพลอดุยเดช พอ.

3 โปรแกรม JASMINE, ROSE, ORCHID
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ห้องตรวจสุขภาพ

โทร 0-2534-7624, 2-7624

ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ 0-2534-7000, 0-2534-7312
วันหยุด ให้บริการคลินิกพิเศษ
นอกเวลาราชการ ประจำปี 2567
ดาวน์โหลด---> แอปพลิเคชั่น BAH Connect
บริการส่งยาทางไปรษณีย์
---> ขั้นตอน คลิก
html code 
viewbranch
หน่วยงานรักษาพยาบาล  กองรังสีกรรม    ความรู้สู่ประชาชน| รู้จักงานรังสี  ความปลอดภัยทางรังสี (ฉบับชาวบ้าน)  
  ความปลอดภัยทางรังสี (ฉบับชาวบ้าน)   

เอกซเรย์ปอดอันตรายไหม? ถ้าไม่อันตรายทำไมเขาว่าไม่ควรเอกซเรย์บ่อย  ทุกวันนี้เราคงไม่ปฏิเสธว่ามีโอกาสเกี่ยวข้องกับรังสีที่นอกเหนือจากรังสีตามธรรมชาติบ้างไม่มากก็น้อย ยกตัวอย่างเช่นเราเกิดพลัดตกหกล้ม ไปโรงพยาบาลก็ต้องถูกสั่งให้เอกซเรย์ดูว่ามีกระดูกหักที่ไหนบ้าง เรื่องความปลอดภัยทางรังสีจึงเป็นเรื่องที่น่าเอามาพูดคุยกันบ้าง โดยเฉพาะชาวบ้านไทย มักจะมีนิสัยดีแบบไทย ๆ คือบางทีสงสัย บางทีกลัว แต่ก็เกรงใจ ไม่กล้าซัก ไม่กล้าถาม จึงขอรวบรวมคำถามยอดฮิตที่มักได้รับเสมอเวลาไปจัดฝึกอบรมหรือสัมมนา มาจัดทำในรูปแบบถาม- ตอบ ก็ขอให้ผู้รู้ช่วยกันแสดงความเห็น หรือจะช่วยกันเพิ่มเติมก็ได้ค่ะ

ถาม  เอกซเรย์ปอดอันตรายไหม? ถ้าไม่อันตรายทำไมเขาว่าไม่ควรเอกซเรย์บ่อย
ตอบ การเอกซเรย์ปอดแต่ละครั้งได้รับรังสีประมาณ 0.0002 ซีเวิร์ต ส่วนปริมาณรังสีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดต้องมีปริมาณสูงถึง 0.5 ซีเวิร์ต หรือเป็นปริมาณ 2500 เท่าดังนั้นการเอกซเรย์ปอดได้รับรังสีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ มาตรฐานการป้องกันอันตรายจากรังสี กำหนดไว้ว่าไม่ให้มีการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะปริมาณเล็กน้อยเท่าใด จึงทำให้การเอกซเรย์ทางการแพทย์ต้องมีการควบคุมคุณภาพอย่างดี ไม่ให้ต้องมีการเอกซเรย์ซ้ำบ่อย ๆ และไม่ควรเอกซเรย์โดยไม่มีความจำเป็น เช่นการตรวจร่างกายที่มีการเอกซเรย์เพียงปีละครั้งก็พอ

ถาม เวลาเอกซเรย์ให้ญาติเราบางครั้งใช้ที่จับฟิล์มไม่ได้ ทำไมเจ้าหน้าที่ขอให้เราเป็นผู้เข้าไปจับฟิล์มให้ เจ้าหน้าที่ก็กลัวรังสีใช่ไหมเลยใช้ให้เราทำ
ตอบ เป็นหลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะเจ้าหน้าที่ประจำห้องเอกซเรย์อาจต้องได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานบ้าง และมีข้อกำหนดตามกฎหมายอยู่ว่าปริมาณรังสีที่กำหนดเป็นขีดจำกัดสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีคือ 0.02 ซีเวิร์ตต่อปี ส่วนการให้ญาติผู้ป่วยเป็นผู้จับฟิล์มไว้ให้นั้น ญาติผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับรังสีจากการสะท้อนรังสีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะลำรังสีจะถูกบีบไว้ให้โดนเฉพาะส่วนที่ต้องการถ่ายภาพเท่านั้น และญาติผู้ป่วยแต่ละคนก็ไม่ต้องได้รับเป็นประจำเหมือนเช่นเจ้าหน้าที่